Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81275
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ-
dc.contributor.authorสุวคนธ์ ภมรสุวรรณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-11-07T08:49:22Z-
dc.date.available2022-11-07T08:49:22Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81275-
dc.descriptionเอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562en_US
dc.description.abstractเอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาและผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่อาจจะเกิดขึ้นกับธุรกิจประกันในประเทศไทย ทั้งนี้ เนื่องจากธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป เช่น ชื่อ นามสกุลอายุ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) เช่น ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลทางการแพทย์ ข้อมูลการนับถือศาสนา ข้อมูลพฤติกรรมทางเพศ โดยเมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูล พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้แล้วจะส่งผลให้ โดยหลักแล้ว การที่บริษัทประกันภัยจะดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลกล่าวคือ การเก็บรวบรวม การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) ของลูกค้านั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าผู้เป็นเจ้าของข้อมูลก่อนทุกครั้งซึ่งในทางปฏิบัติของการดำเนินธุรกิจประกันในทุกขั้นตอนนั้นจะต้องมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือผู้เอาประกันตั้งแต่ขั้นตอนแรกไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ก่อนการทำสัญญาประกันภัย ระหว่างอายุของสัญญาประกันภัย หรือแม้กระทั่งภายหลังจากสัญญา ประกันภัยสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้นภายหลังจากการให้ความยินยอมแล้ว เจ้าของข้อมูลยังมีสิทธิที่จะถอน การให้ความยินยอมได้ โดยเมื่อเจ้าของข้อมูลได้ถอนความยินยอมแล้วบริษัทประกันจะไม่สามารถประมวลผล ข้อมูลส่วนบุคคลต่อไปได้ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้บริษัทประกันอาจจะได้รับผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของ ธุรกิจประกันภัยตามสัญญาประกันภัยได้ ดังนั้น เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีอาจจะมีต่อธุรกิจประกัน เพื่อที่จะวิเคราะห์และเสนอฐานทางกฎหมาย (lawful basis) ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) รวมถึงเสนอแนวทางในการขอความยินยอม เพื่อเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบคคลที่มีความอ่อนไหวจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอีกด้วยen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.176-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectประกันภัยen_US
dc.subjectสิทธิส่วนบุคคลen_US
dc.titleปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 : ศึกษากรณีธุรกิจประกันen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายการเงินและภาษีอากรen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpiti.e@chula.ac.th-
dc.subject.keywordธุรกิจประกันภัยen_US
dc.subject.keywordข้อมูลส่วนบุคคลen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2019.176-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5986267734.pdf720.49 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.