Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81361
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกำธร พฤกษานานนท์-
dc.contributor.authorรัฐจักร รังสิวิวัฒน์-
dc.contributor.authorปราณี นำชัยศรีค้า-
dc.contributor.authorนิพัญจน์ อิศรเสนา ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorประมวล วีรุตมเสน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-12-06T06:38:22Z-
dc.date.available2022-12-06T06:38:22Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81361-
dc.description.abstractเซลล์ต้นกำเนิดจากการเหนี่ยวนำ (induced pluripotent stem cells; iPSCs) สามารถสร้างได้ จากการเหนี่ยวนำเซลล์ชนิดต่าง ๆ ของร่างกาย เซลล์ต้นกำเนิดจากการเหนี่ยวนำ มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ สามารถแบ่งตัวได้อย่างไม่จำกัด เมื่อเลี้ยงอยู่ในสภาวะ ที่เหมาะสมในห้องปฏิบัติการและยังสามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆ ในร่างกายได้ทุกชนิด ดังนั้นเซลล์ต้นกำเนิดจากการเหนี่ยวนำจึงเป็นเซลล์ที่มีลักษณะทางกายภาพและชีววิทยาโมเลกุลใกล้เคียง กับเซลล์ต้นกำเนิดที่แยกจากตัวอ่อน (embryonic stem cells; ESCs) ด้วยความสามารถดังกล่าว จึงมีความพยายามในการศึกษา เพื่อจุดประสงค์ในการนำเซลล์ต้นกำเนิดทั้งจากตัวอ่อน และจากการเหนี่ยวนำเซลล์ร่างกายมาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ เช่น การรักษาด้วยเซลล์ การทดสอบยา หรือสารออกฤทธิ์ทางยา ได้มีการรายงาน ถึงชนิดเซลล์ร่างกายที่นำมาใช้ในการเหนี่ยวนำ พบว่า สามารถใช้เซลล์ร่างกายหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น เซลล์ไฟโบรบลาสเซลล์จากเลือด หรือแม้แต่เซลล์ที่คัดแยกจากปัสสาวะ วีในการเหนี่ยวนำ ทำได้โดยใช้วิธีนำ ยีนจากภายนอก เช่น OCT-3/4, SOX2, Klf4 และ c-Myc เข้าสู่เซลล์ร่างกายโดยการใช้ไวรัสโปรตีน หรือ microRNA อย่างไรก็ดีในการวิจัยนี้ คณะผู้วิจัยได้เลือกใช้เซลล์ไฟโบรบลาส ที่แยกได้จากเนื้อเยื่อของแผลเป็น ที่เกิดจาก การผ่าตัดคลอด เนื่องจากง่ายต่อการจัดการ และยังไม่เคยมีการรายงานมาก่อน นอกจากนั้นคณะผู้วิจัยได้เลือกใช้ Sendai virus สายพันธุ์ TS7 ซึ่งเป็น RNA virus สายพันธุ์ที่มีความไวต่ออุณหภูมิที่สูง เป็นพาหะในการนำยีนจากภายนอกเข้าสู่เซลล์ คณะผู้วิจัยสามารถแยกเซลล์ไฟโบรบลาส จากเนื้อเยื่อแผลเป็น ที่เกิดจากการผ่าตัดคลอด จากชิ้นเนื้อ 4 ตัวอย่าง เมื่อทำการทดสอบ พบว่าเซลล์ที่แยกได้มีลักษณะทางกายภาพเป็นเซลล์ไฟโบรบลาส แสดงคุณสมบัติคล้ายกับเซลล์ ต้นกำเนิดชนิด mesenchyme เมื่อทำการเหนี่ยวนำเซลล์ไฟโบรบลาสให้กลายเป็นเซลล์ต้นกำเนิดพบว่า สามารถสร้างสายพันธุ์เซลล์ต้นกำเนิดจากการเหนี่ยวนำได้มากกว่า 20 สายพันธุ์ เมื่อเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิด จากการเหนี่ยวนำที่อุณหภูมิ 38.5 องศาเซลเซียสต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วัน และทำการพิสูจน์การคงอยู่ของ Sendai virus พบว่าตรวจไม่พบการคงอยู่ของ Sendai virus ในระดับโปรตีน เมื่อทำการพิสูจน์คุณสมบัติของเซลล์ต้นกำเนิด ที่สร้างได้พบว่า เซลล์มีการแสดงออกของ pluripotent markers คือ OCT-3/4 และเมื่อทดสอบในระดับยีน พบว่ามีการแสดงออกของยีน OCT-4, SOX2, NANOG, REX1, UTF เมื่อทำการเหนี่ยวนำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่จำเพาะ พบว่าเซลล์สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในร่างกาย จากการวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่า คณะผู้วิจัยสามารถสร้างเซลล์ต้นกำเนิดด้วยการเหนี่ยวนำเซลล์ไฟโบรบลาส ที่แยกจากเนื้อเยื่อแผลเป็น ที่เกิดจากการผ่าตัดคลอดโดยใช้ Sendai virusen_US
dc.description.abstractalternativeThe two major characteristics of induced pluripotent stem cells (iPSCs) are self-renewal and differentiation ability. The iPSCs share the similarity of phenotypes and molecular biology to the embryonic stem cells (ESCs). The application of iPSCs for medical and pharmaceutical purposes is progressively studied. It has been previously reported that several types of the somatic cells including fibroblasts, blood cells or cells that isolated from the urine can be used for generating the iPSCs. The introduction of exogenous genes, OCT-4, SOX2, Klf4 and c-Myc into the somatic cells can be managed through viruses, protein or microRNA. In the present study, we used cesarean scar-derived fibroblasts and Sendai virus temperature sensitive strain (TS7) carrying OCT-3/4, SOX2, Klf4 and c-Myc for generation of human iPSCs. We isolated four fibroblast cell lines from four samples of cesarean tissues. Fibroblast cells exhibited the characteristic of mesenchymal stem cells. We enable to generate more than 20 hiPSC lines under feeder dependent conditions. After incubation of newly generated hiPSCs at 38.5 C for 5 days, it was unable to detect Sendai virus at the protein level. The results of characterization demonstrated that hiPSCs expressed protein markers, OCT-3/4, and pluripotent genes including, OCT-3/4, SOX2, NANOG, REX1, UTF. The in vitro differentiation test showed that hiPSCs enable to differentiate into three embryonic germ layers. We demonstrated that fibroblasts derived from cesarean scar can be used for reprogramming. Temperature sensitive Sendai virus can be efficiently used for introducing the exogenous genes into the somatic cells.en_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2556en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสเต็มเซลล์en_US
dc.subjectสเต็มเซลล์ตัวอ่อนen_US
dc.subjectStem cellsen_US
dc.subjectEmbryonic stem cellsen_US
dc.titleการศึกษาเขิงเปรียบเทียบลักษณะกายภาพและชีววิทยาโมเลกุลของเซลล์ต้นกำเนิดที่สร้างจากตัวอ่อนและเซลล์ร่างกายเพื่อนำไปใช้คลิกนิก : รายงานวิจัยen_US
dc.title.alternativeComparative studies of anatomical and biomolecular levels of human stem cell derived from embryo and somatic cells for clinical applicationen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kamthorn P_Res_2556.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)3.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.