Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81367
Title: การประเมินความต้องการเทคโนโลยีพลังงานในภาคอาคารของประเทศไทยเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
Other Titles: Energy technology needs assessments in Thailand's building sector for greenhouse gases mitigation
Authors: เทพพนม นพรัตน์ไชยพร
Advisors: วีรินทร์ หวังจิรนิรันดร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาความต้องการเทคโนโลยีพลังงานในภาคอาคารของประเทศไทยเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยจัดลำดับความสำคัญของเทคโนโลยีพลังงานที่เหมาะสม เพื่อนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริม สนับสนุนเทคโนโลยีพลังงานที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอาคารของประเทศไทย ซึ่งงานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิเคราะห์ทางเลือกจากหลายเกณฑ์ (Multi-Criteria Analysis) โดยกำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินเป็นสองด้าน ประกอบด้วย ด้านความพร้อม และด้านผลกระทบ และอ้างอิงรายการเทคโนโลยีพลังงานของภาคอาคารที่ใช้ในการประเมิน จากเอกสารของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme) และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change) ซึ่งได้นำมาทำการคัดเลือกใช้เฉพาะเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอาคารในประเทศไทย และให้ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคอาคาร ทำการประเมินให้คะแนน จากผลการประเมินพบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญกับเกณฑ์ด้านความพร้อมในประเด็นนโยบาย โครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (R1) ต้นทุนและผลประโยชน์ (R3) การสนับสนุนด้านการเงิน (R2) การยอมรับจากสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (R4) ทรัพยากรบุคคล ผู้เชี่ยวชาญ หรือสถาบันเฉพาะทาง (R5) และความเป็นไปได้ของการผลิตภายในประเทศ (R9) และเกณฑ์ด้านผลกระทบในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม: มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ การปนเปื้อน ฯลฯ (I3) โดยผลการจัดลำดับความสำคัญของเทคโนโลยีพลังงานที่มีความพร้อมและผลกระทบสูงที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1) อาคารอัตโนมัติ 2) อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ 3) เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะและบ้านอัตโนมัติ 4) การควบคุมอัจฉริยะ และ 5) หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ หลอด LED ตามลำดับ
Other Abstract: The purpose of this study is to prioritize the energy technology for climate change mitigation in Thailand's building sector for making policy recommendation about guidelines to support the energy technology which can reduce greenhouse gases emission in Thailand building sector. The Multi-Criteria Analysis (MCA) was applied in this study by defining the criteria to use for evaluating two factors, consisting of “Readiness” and four “Impact.” The list of energy technologies in the building sector refers to the UNDP and UNFCCC handbook and requiring the experts emphasize the readiness criteria on the existing policy infrastructure including regulation issues, benefit and cost issues, financial support issues, stakeholder and social acceptance issues, human resource/experts or specialized institutions issues and the possibility of domestically based production issues. For the impact criteria on environmental issues. The top five prioritized energy technology that high readiness and impact are 1) Building automation 2) Electronic power supplies 3) “Smart” appliances and home automation 4) Smart controls and 5) Compact Fluorescent Lighting, LED
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81367
URI: https://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.503
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.503
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5987141420.pdf6.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.