Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81378
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชยันติ ไกรกาญจน์-
dc.contributor.authorวาสิตา วราสิทธิชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-12-09T06:48:07Z-
dc.date.available2022-12-09T06:48:07Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81378-
dc.descriptionเอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563en_US
dc.description.abstractภายหลังการบังคับใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2494 หลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเงินได้จากกิจการขนส่งระหว่างประเทศ จะเป็นไปตามประเภทของผู้ประกอบการ กล่าวคือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศจะอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 67 โดยต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะรายได้จากการขนส่งระหว่างประเทศก่อนหักรายจ่ายใด ในอัตราร้อยละ 3 ส่วนรายได้อื่นของกิจการเสียภาษีจากกำไรสุทธิ แต่สำหรับนิติบุคคลไทยจะเสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิซึ่งเป็นรายได้ทั้งหมดของกิจการในอัตราร้อยละ 20 เห็นได้ว่าแม้จะประกอบกิจการประเภทเดียวกันแต่หลักเกณฑ์ที่ใช้จัดเก็บภาษีแตกต่างกัน อย่างไรก็ดีการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวในการจัดเก็บภาษีส่งผลให้ผู้ประกอบการสองประเภทมีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ไม่เท่ากันซึ่งขัดกับหลักความเป็นธรรมทางภาษี ทั้งยังเกิดปัญหาการแบ่งแยกรายได้จากการเสียภาษีในฐานภาษีที่แตกต่างกันและเมื่อไม่มีการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนของรายได้จากการขนส่งระหว่างประเทศที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 67 ส่งผลให้มีการถ่ายโอนรายได้กันภายในกิจการเพื่อให้ได้เสียภาษีในจำนวนที่น้อยที่สุดอันเป็นการเปิดช่องและนำไปสู่การหลบหลีกภาษีอากร ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงทำการศึกษาหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีจากกิจการขนส่งระหว่างประเทศของต่างประเทศเพื่อหาแนวทางการจัดเก็บภาษีที่เหมาะสมกับกิจการดังกล่าว โดยผู้เขียนเห็นว่าควรเปลี่ยนหลักเกณฑ์ให้จัดเก็บภาษีจากกำไรสุทธิของกิจการซึ่งเป็นหลักเกณฑ์เดียวกันกับการจัดเก็บภาษีจากนิติบุคคลไทยที่ประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศ นอกจากจะสอดคล้องกับหลักการบริหารภาษีที่ดีแล้ว การเปลี่ยนหลักเกณฑ์เช่นนี้ยังขจัดปัญหาการแบ่งแยกรายได้ภายในกิจการเดียวกันได้อีกด้วยen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.177-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการขนส่ง -- ภาษีen_US
dc.subjectการจัดเก็บภาษีen_US
dc.titleปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร ศึกษากรณีกิจการขนส่งระหว่างประเทศen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายการเงินและภาษีอากรen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subject.keywordการขนส่งระหว่างประเทศen_US
dc.subject.keywordภาษีเงินได้en_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.177-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280074434.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.