Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81382
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปิยะสาร ประเสริฐธรรม-
dc.contributor.authorวิภาค อนุตรศักดา-
dc.contributor.authorจัญจุดา อุ่นเรืองศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-12-09T08:04:46Z-
dc.date.available2022-12-09T08:04:46Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81382-
dc.description.abstractรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการผลิต ไบโอดีเซล จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ทั้งนี้ เพื่อลดการนำเข้า ปิโตรเลียม ซึ่งมีราคาขึ้นลงไม่แน่นอนและเป็นการสูญเสียเงินตราให้กับต่างประเทศเป็นจำนวนมหาศาล ขณะนี้ มีโรงงานผลิตไบโอดีเซล ในประเทศ มีจำนวน 12 โรง ไม่นับรวมโรงงานขนาดเล็กโดยมีกำลังผลิตไบโอดีเซล ประมาณ 132 ล้านตัน/ปี ปัญหาที่สำคัญในการผลิตไบโอดีเซล คือการเกิดกลีเซอรีน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ จำนวนมาก แม้ว่ากลีเซอรีน จะมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมต่างๆเช่น อุตสาหกรรมเวชสำอาง เป็นต้น แต่ ปริมาณที่ผลิตได้มากกว่าตลาดต้องการ แม้จะมีความพยายามส่งออกก็ตาม ในปี 2559 ประเทศไทยสามารถส่ง กลีเซอรีนออกในปริมาณ 11.88 ล้านตัน /ปี แต่มีการคาดการณ์ว่าจะมีการส่งเสริมให้ผลิตไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นใน อนาคตอันใกล้ ดังนั้น ปัญหาจึงอยู่ที่ทำอย่างไรจึงใช้ กลีเซอรีน ในรูปแบบอื่นที่มีคุณค่าเพิ่ม แนวทางหนึ่งคือ เปลี่ยนกลีเซอรีน ให้เป็นสารเคมีที่มีมูลค่าเพิ่มสูงคือ โพรเพนไดอัล ปัจจุบันราคากลีเซอรีนที่ผ่านกระบวนการ ทำให้บริสุทธิ์แล้ว ตกประมาณ 28,000 บาท/ตัน แต่ราคาโพรเพนไดอัล สูงถึง 69,000 บาท/ตัน ซึ่งมากกว่า 2 เท่าของราคากลีเซอรีน ดังนั้นจึงเป็นที่สนใจที่จะผลิต โพรเพนไดอัลจากกลีเซอรีนแต่การเปลี่ยนกลีเซอรีนให้ เป็นโพรเพนไดอัลจำเป็นต้องอาศัยตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสมและมีราคาที่ไม่แพงนักและให้ผลิตภัณฑ์พลอยได้ ต่ำ ปัญหาตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีการพัฒนาอยู่ในปัจจุบัน คือยังมีผลพลอยได้สูง ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องพัฒนาตัวเร่ง ปฏิกิริยา ที่ให้ผลผลิตสูงขึ้น จึงจะเหมาะสมกับการใช้งานจริงในอุตสาหกรรม โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาและทำ การสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยา Pt/WOx/boehmite ด้วยวิธี wet impregnation เปลี่ยนกลีเซอรีนเป็นโพร-เพน ไดอัลผ่านกระบวนการไฮโดรจีโนไลซิสพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาที่ไม่ผ่านกระบวนการรีดักชั่นที่อุณหภูมิสูงก่อนทำ ปฏิกิริยาให้ค่าร้อยละการเปลี่ยนแปลงและค่าการเลือกเกิดจำเพาะของ 1,3-โพรเพนไดอัลดีกว่าตัวเร่งปฏิกิริยา ที่ผ่านกระบวนการรีดักชั่นที่อุณหภูมิสูงen_US
dc.description.abstractalternativeThe government has a policy to promote the production of biodiesel from natural products in order to reduce the import of petroleum. Which has an unstable price rise and a huge amount of foreign currency loss currently; there are 12 biodiesel plants in the country, excluding small factories, with biodiesel production capacity of approximately 132 million tons / year. The major problems in biodiesel production are the occurrence of glycerin which is a large number of byproduct. Although glycerin will have benefits for various industries such as medical industry, etc., but the amount produced is greater than the market needs In 2016, Thailand was able to deliver glycerin in the amount of 11.88 million tons / year, but it is expected that more biodiesel production will be promoted in the near future. Therefore, the problem is how to changed glycerin into other forms that has high value product. One approach is to change glycerin to be propanediol. At present, the price of pure glycerin is about 28,000 Baht / ton, but the propanediol price is as high as 69,000 baht / ton which is more than twice of the glycerin price. Thus, it is interesting to produce propanediol from glycerin, but changing glycerin into propanediol requires a suitable catalyst and has a relatively inexpensive price and low by-products. At present, the catalyst still gives high by-products. Therefore, it is necessary to develop catalysts that have yield higher. And the catalyst will be suitable for actual use in the industry. In the present work, a new catalyst Pt / WOx / boehmite is synthesized by wet impregnation method; glycerin is transformed into propanediol through the hydrolysis reaction. It is found that the catalyst does not undergo a high-temperature reduction process before do experiment giving higher conversion and selectivity of 1,3- propanediol more than catalysts that have been reduced before catalyst was used.en_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2561, สัญญาเลขที่ GB-A_61_031_21_05en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกลีเซอรีนen_US
dc.subjectโพรเพนen_US
dc.subjectGlycerinen_US
dc.subjectPropaneen_US
dc.titleการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสมสำหรับการเปลี่ยนไบโอกลีเซอรีนเป็น 1,3-โพรเพนไดอัลen_US
dc.title.alternativeThe development of suitable catalysts for the production of 1,3-propanediol from bio-glycerinen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eng_Piyasan Prasert_2019.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)1.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.