Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81396
Title: | ปัญหาเรื่องผลกระทบทางภาษีอากร กรณีสิ้นสุดสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ การส่งเสริมการลงทุนมาตรา 36 (1) |
Authors: | จุฑารัตน์ รัตนตันติกุล |
Advisors: | สนธิศาสตร์ เจตน์วราพงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Subjects: | การประเมินภาษี การยกเว้นอากรการนำเข้า |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ตามมาตรา 36 (1) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ผู้ได้รับการส่งเสริมมีสิทธิ์ได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านส่งออกตามที่คณะกรรมการกําหนดโดยเฉพาะการยกเว้นอากรขาเข้าสําหรับวัตถุดิบและวัสดุจําเป็นที่ต้องนําเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อใช้ ผลิต ผสม หรือประกอบผลิตภัณฑ์ เฉพาะที่ใช้ในการส่งออก โดยมิให้นํากฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรมาใช้บังคับ ซึ่งผู้ได้รับการส่งเสริมต้องนําปริมาณวัตถุดิบหรือวัสดุจําเป็น ที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าที่ได้มีการผลิตและส่งออกไปต่างประเทศแล้วมาดําเนินการตัดบัญชีวัตถุดิบ ซึ่งหากตัดบัญชีไม่หมด ผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องชําระอากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมทั้งเบี้ยปรับเงินเพิ่ม และอาจต้องเสียภาษีสรรพสามิตตามปริมาณวัตถุดิบคงเหลือนั้นๆ หากวัตถุดิบนั้นเป็นสินค้าที่ได้รับยกเว้นการเสียภาษีสรรพสามิต นอกจากนี้เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับสิทธิและประโยชน์วัตถุดิบ วัตถุดิบใดที่นําเข้ามาโดยได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าต้องทําการตัดบัญชีให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาการได้รับสิทธิและประโยชน์ หากมียอดวัตถุดิบคงเหลือผู้ได้รับการส่งเสริมต้องชําระอากรขาเข้าวัตถุดิบตามสภาพ ณ วันนําเข้า อย่างไรก็ดี ทางปฏิบัติพบว่า มีกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมพบว่ายังมีวัตถุดิบนําเข้าที่เหลืออยู่ซึ่งยังมิได้มีการส่งออกและยังไม่ได้ชําระอากรขาเข้าภายหลังที่ระยะเวลาการนําเข้าผ่านไปกว่า 10 ปีแล้ว จึงมีประเด็นปัญหาเรื่องอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินในการออกแบบแจ้งเพื่อประเมินภาษีศุลกากร ประเมินภาษีสรรพสามิต ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายแต่ละฉบับ นอกจากนี้ยังมีประเด็นผลกระทบด้านภาษีต่างๆที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ อากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมไปถึงเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ของภาษีดังกล่าว ซึ่งจากการศึกษาพบว่ากิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า กรณีสิ้นสุดสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนมาตรา 36 (1) นั้น ยังมีความไม่ชัดเจนในเรื่องการประเมินภาษีของเจ้าพนักงานและอายุความในการประเมินภาษีรวมถึงการจัดเก็บอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดี จึงได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เสียภาษีและผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษีต่อไป |
Description: | เอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายการเงินและภาษีอากร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81396 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.192 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2020.192 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6280019034.pdf | 2.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.