Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81401
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสนธิศาสตร์ เจตน์วราพงศ์-
dc.contributor.authorกรกนก มะณี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-12-15T03:34:49Z-
dc.date.available2022-12-15T03:34:49Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81401-
dc.descriptionเอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563en_US
dc.description.abstractเอกัตศึกษาฉบับนี้จัดทําขึ้นเพื่อมุ่งศึกษาเกี่ยวกับ ปัญหาค่าอากร ภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีของที่เก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนสูญหายโดยธรรมชาติยังไม่มีความชัดเจนของกฎหมายในกรณีถ้าของที่เก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนสูญหายโดยธรรมชาตินั้นจะต้องเสียภาษีหรือไม่ โดยหลักการของคลังสินค้าทัณฑ์บนถ้าผู้นําเข้าได้นําเข้าของจากนอกราชอาณาจักรและได้นําเข้าเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร ผู้นําเข้าจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้า แต่หากมีการนําเข้าบริโภคในประเทศ ผู้นําเข้าจะต้องเสียภาษีนําเข้า หากพิจารณาของที่เก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนสูญหายโดยธรรมชาติ ผู้นําเข้าจะต้องเสียภาษีในกรณีของดังกล่าวสูญหายโดยที่มิได้มีการนําออกนอกราชอาณาจักรหรือไม่นั้นเห็นว่า เมื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติศุลกากรพบว่าตามมาตรา 125 วางหลักว่า ของที่สูญหายนั้น ถ้ามีเหตุอันสมควรจะได้รับยกเว้นอากร ซึ่งไม่มีความชัดเจนของกฎหมายว่าเหตุใดถือว่ามีเหตุอันสมควรและการสูญหายโดยธรรมชาติถือว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่ ทั้งเมื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติสรรพสามิต พ.ศ.2560 ไม่มีการบัญญัติในเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว มีเพียงตัวอย่างหนังสือยอมรับอัตราการสูญหาย(การระเหย) ที่ออกโดยอธิบดีให้เฉพาะรายที่ได้มีคําขอว่าหากมีการสูญหายจากการผลิตตามอัตราที่ยอมรับได้จะได้รับยกเว้นภาษีมิได้ผูกพันต่อผู้เสียภาษีรายอื่นว่าจะได้รับยกเว้นภาษีตามหนังสือฉบับดังกล่าวหรือไม่ และเมื่อพิจารณาภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร คําพิพากษาฎีกาที่ 7839-7840/2560 วางหลักว่า การสูญหายคือการขาย ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ ผู้นําเข้าจึงต้องรับผิดในการเสียภาษี และเสียเงินเพิ่มเป็นจำนวนมาก ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่าจะกฎหมายดังกล่าวมีความไม่ชัดเจนต่อผู้ประกอบการส่งผลต่อการลงทุนในประเทศ จึงเห็นสมควรมีการแก้ไขกฎหมายให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศทั่วโลกได้โดยเฉพาะในเรื่องการส่งเสริมการส่งออกen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.189-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษีสรรพสามิต -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectการยกเว้นภาษีอากรen_US
dc.titleปัญหาค่าอากร ภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีของที่เก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนสูญหายโดยธรรมชาติen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายการเงินและภาษีอากรen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subject.keywordคลังสินค้าทัณฑ์บนen_US
dc.subject.keywordการคำนวณภาษีen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.189-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280004534.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.