Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81412
Title: ปัญหามาตรการบรรเทาภาระภาษีโดยการยกเว้นมูลค่าฐานภาษีสำหรับที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับเกษตรกรรม ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562
Authors: คุณานนต์ อุ่นจิตต์
Advisors: ทัชมัย ฤกษะสุต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: เกษตรกรรม-ภาษี
ภาษีที่ดิน
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากมาตรการบรรเทาภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่กำหนดว่า ให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมที่มีบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของเป็นจำนวนไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นมูลค่าฐานภาษี ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่า เป็นการยกเว้นภาระภาษีที่มากเกินไปและไม่สอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดี ส่งผลให้เกิดปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับเกษตรกรรมอยู่หลายประการ เช่น การนำที่ดินซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เมืองมาใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงภาระภาษี หรือการยกเว้นภาษีไม่ได้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรอย่างแท้จริงเพราะไม่ใช่เจ้าของที่ดิน เป็นต้น ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามที่ได้ศึกษากฎหมายภาษีทรัพย์สินของต่างประเทศโดยนำมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์เพิ่มเติมเพื่อปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสม โดยจำแนกได้ 3 แนวทาง ได้แก่ การกำหนดนิยามการใช้ที่ดินสำหรับเกษตรกรรมให้เหมาะสม กล่าวคือ ควรกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสำหรับการประกอบเกษตรกรรมให้มุ่งเน้นไปที่ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรอย่างแท้จริง การกำหนดมาตรการบรรเทาภาระภาษีสำหรับที่ดินที่ใช้สำหรับเกษตรกรรมให้เหมาะสม กล่าวคือ ผู้วิจัยเห็นว่ามาตรการบรรเทาภาระภาษีดังกล่าวยังคงต้องมีการยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีที่ดินที่ใช้สำหรับเกษตรกรรมอยู่ แต่ควรนำแผนผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองมาประกอบการพิจารณาในการยกเว้นมูลค่าของฐานภาษี ทั้งนี้ เพื่อไม่เป็นการจำกัดเสรีภาพของผู้ที่ประกอบเกษตรกรรมอย่างแท้จริงซึ่งมีที่ดินตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ใจกลางเมืองมากเกินไป จึงควรกำหนดเป็นข้อยกเว้นให้ได้รับการยกเว้นมูลค่าฐานภาษีได้โดยการตั้งคณะกรรมการในแต่ละเขตท้องถิ่นขึ้นมาเพื่อพิจารณาว่าสมควรได้รับการยกเว้นหรือไม่เป็นรายกรณีไป และกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรให้รัดกุมและมีประสิทธิภาพควบคู่กันไป เช่น การกำหนดให้กลับมาประเมินภาษีใหม่และให้ชำระค่าภาษีย้อนหลัง ในกรณีที่ดินที่ใช้สำหรับเกษตรกรรมถูกนำไปใช้ประโยชน์อื่น หรือการกำหนดการถือครองและกฎเกณฑ์ในการควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรให้มีความเหมาะสม หรือการกำหนดให้จัดเก็บภาษีการใช้น้ำสำหรับเกษตรกรรมโดยมุ่งเน้นจัดเก็บจากเกษตรกรรายใหญ่ รวมทั้งการสนับสนุนเกษตรกรให้มีความสามารถในการประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง
Description: เอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายการเงินและภาษีอากร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81412
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.199
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.199
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380139734.pdf793.88 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.