Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81444
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ดรุณวรรณ สุขสม | - |
dc.contributor.author | Tanaka, Hirofumi | - |
dc.contributor.author | นภา ปริญญานิติกูล | - |
dc.contributor.author | เสาวลักษณ์ ศิริปัญญา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.date.accessioned | 2023-01-31T06:41:23Z | - |
dc.date.available | 2023-01-31T06:41:23Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81444 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกออกกำลังกายด้วยการเดินสมาธิต่อ การทำงานของหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระหว่างรับยาเคมีบำบัดกลุ่มแอนทราไซคลิน กลุ่ม ตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 1 และ 2 อายุระหว่าง 30-70 ปี จำนวน 22 คน ทำการสุ่ม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมที่ใช้ชีวิตตามปกติ จำนวน 11 คน และกลุ่มผู้ป่วย โรคมะเร็งเต้านมที่ออกกำลังกายด้วยการเดินสมาธิ จำนวน 11 คน ทั้งสองกลุ่มจะได้รับการรักษาด้วย ยาเคมีบำบัดกลุ่มแอนทราไซคลินจำนวน 4 รอบ ระยะห่างระหว่างรอบ 3 สัปดาห์ รวม 12 สัปดาห์ กลุ่มเดินสมาธิทำการฝึกเดินด้วยตนเองที่บ้าน ซึ่งประกอบไปด้วยการบีบ-คลายลูกบอลยางในมือทั้ง สองข้างเป็นจังหวะขณะก้าวเดินเพื่อเป็นการฝึกสมาธิ และเดินออกกำลังกายที่ความหนัก 41-70% ของอัตราการเต้นหัวใจสำรอง เวลา 30 นาทีต่อครั้ง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลาทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มจะได้รับการทดสอบทางสรีรวิทยาทั่วไป การทำงานของระบบหัวใจและ ไหลเวียนโลหิต การทำงานของหลอดเลือด สารชีวเคมีในเลือด ระดับความเครียด ความเหนื่อยล้า กิจกรรมทางกาย และคุณภาพชีวิต ในช่วงก่อนรับยาเคมีบำบัดกลุ่มแอนทราไซคลิน หลังรับยาเคมี บำบัดกลุ่มแอนทราไซคลิน 2 สัปดาห์ และหลังรับยาเคมีบำบัดกลุ่มแอนทราไซคลินครบ 12 สัปดาห์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการทดสอบความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้า 2x3 (กลุ่มxเวลา) และเปรียบเทียบความแตกต่างแบบรายคู่ โดยใช้วิธีการทดสอบของแอลเอสดี (LSD) พิจารณาความ แตกต่างที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า การทำงานของเซลล์เยื่อบุผนัง หลอดเลือด ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด กิจกรรมทางกายและคะแนนคุณภาพชีวิตเพิ่ม สูงขึ้นในกลุ่มเดินสมาธิ ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว ระดับความเครียด และสัดส่วนความ แปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจความถี่ต่ำต่อความถี่สูงลดลง เมื่อเทียบกับก่อนเดินสมาธิอย่าง นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่า การฝึกออกกาลังกายด้วยการเดินสมาธิมีประสิทธิภาพในการพัฒนาสมรรถภาพ ของระบบหัวใจและหลอดเลือด การตอบสนองของหลอดเลือด และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง เต้านมระหว่างการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดให้ดีขึ้นได้ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to investigate effects of exercise training with walking meditation on vascular function in breast cancer patients receiving Anthracyclines chemotherapy. Twenty-two breast cancer patients staging 1 and 2, aged 30-70 years, were studied. The participants were randomly assigned into either the walking meditation training group (WM; n=11) or the sedentary control group (CON; n=11). All participants in each group received 4 cycles of Anthracyclines chemotherapy (AC) every 3 weeks for 12 weeks. The WM group was subjected to home-base walking exercises that comprised of rhythmically squeezing rubber ball in both hands and was instructed to practice mindfulness while walking. The participants performed exercises at 41-60% of heart rate reserve, 30 min/time, 3 times/week for 12 weeks. Cardiovascular fitness, vascular function, blood chemistry, psychological stress, fatigue, physical activity, and quality of life were measured. The 2x3 (groups x times) ANOVA with repeated measure followed by Fisher's Least Significant Difference (LSD) multiple comparisons was used to determine the significant difference in all variables before receiving first AC, 2 weeks after receiving first AC (before the intervention) and 12 weeks after receiving AC and walking training (after the intervention). The results showed that endothelial function, peak aerobic capacity, physical activity and quality of life increased significantly (p<0.05) in WM when compared with pre-training. Systolic blood pressure, psychological stress level and LF/HF of heart rate variability were significantly decreased (p<0.05) in WM when compared with pre-training. In conclusion, walking meditation exercise training employed in the present study was effective in improving cardiovascular fitness, vascular reactivity and quality of life in breast cancer patients undergoing Anthracyclines chemotherapy. | en_US |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2559 | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การออกกำลังกาย | en_US |
dc.subject | มะเร็ง -- การรักษาด้วยการออกกำลังกาย | en_US |
dc.subject | เต้านม -- มะเร็ง | en_US |
dc.title | บทบาทของการฝึกออกกำลังกายที่มีต่อการลดการสูญเสียหน้าที่การทำงานของหลอดเลือดที่เป็นผลมาจากการรักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม : โครงการวิจัย | en_US |
dc.title.alternative | Role of exercise training on mitigating the treatment-induced vascular dysfunction in patients with breast cancer | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
Appears in Collections: | Spt - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Duroonwan suk_Res_2560.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 175.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.