Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81701
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโสมฉาย บุญญานันต์-
dc.contributor.authorสุภาพรรณ วงศ์ศักดิ์ศิริกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-02-03T04:34:39Z-
dc.date.available2023-02-03T04:34:39Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81701-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี และ 3) ศึกษาการสร้างสรรค์ศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก งานวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 ระยะศึกษารูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กรณีศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) จำนวน 3 แห่ง โดยใช้วิธีเลือกเฉพาะเจาะจง ได้แก่ กรณีศึกษา: ครูผู้สอนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีของการจัดกิจกรรมศิลปะทั้งวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ จำนวน 3 ท่าน และกรณีศึกษา: ผู้เรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีของการจัดกิจกรรมศิลปะ จำนวน 3 คน แบบพหุเทศะกรณี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เรียนที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี 3) แบบสังเกตการจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ระยะที่ 2 ระยะพัฒนากิจกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในในการวิจัยคือ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 ท่าน โดยใช้วิธีเลือกเฉพาะเจาะจงได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนศิลปศึกษา และด้านการสอนระดับประถมศึกษา ในระยะที่ 3 ขั้นทดสอบประสทิธิภาพของกิจกรรม นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 20 คน เป็นอาสาสมัครเข้าร่วมและยินดีให้ข้อมูลในการทดลองกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2) แบบสังเกตพฤติกรรมผู้ร่วมกิจกรรม 3) แบบประเมินการสร้างสรรค์ศิลปะ และ 4) แบบบันทึกการสะท้อนการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติ t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี มีองค์ประกอบ 4 ด้านได้แก่ แนวคิดและหลักการจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก การจัดการเรียนรู้กิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก เนื้อหาสาระสำคัญของกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก และการประเมินการสร้างสรรค์ตามแนวคิดการจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก นำมาซึ่ง 2) แผนการจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกเพื่อส่งเสริมการส้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี 4 กิจกรรม ได้แก่ (1) พิพิธภัณฑ์ของฉัน (2) อยู่ไหนกันนะเจ้าสัตว์ประหลาด (3) สีสันรอบตัว (4) เมืองมหัศจรรย์ในอนาคต ที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะ ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 2) ทักษะทางศิลปะ 3) การแสดงออกลักษณะ รูปแบบเนื้อหา 4) การเลือกและนำมาประยุกต์ใช้ 5) ความสมบูรณ์ของผลงาน จากผลการทดลองสรุปได้ว่า 3) ระดับการสร้างสรรรค์ศิลปะของผู้เข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับดีมาก ( =3.50) สูงกว่าเกณฑ์ค่ากลาง อย่างมีนัยยสำคัญที่ทางสถิติที่ระดับ .05-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to 1) Study the model of choice-based art activities to promote creative art for children aged 9-12 years old. 2) develop the model of choice-based art activities to promote creative art for children aged 9-12 years old. and 3) Study of creative art in P.4 students by Choice Based Art Activities. This research separates to 3 phases. First, study the model phase. The sample group was specific selected, 3  Best practice experts Including a case study: 3 teachers with best practices in organizing art activities, both fine and applied arts, and a case study: 3 students with best practices in organizing art activities. by multi-site multi-case study The research instrument were 1) Best practice teacher Interview forms the guideline. 1) Best practice students Interview forms. Statistical data analysis by qualitative data analysis. Second, develop phase. The sample groups were specific selected, 5 experts in 2 fields includes teaching art education and teaching at the elementary level. Data were analyzed by data analysis. Third, Studying the effects of the model were selected by voluntary sampling, 20 students in P.4 Satit Chulalongkorn University school. The research instruments were 1) Participant interview form, 2) Participant behavior observation form, 3) Creative art assessment form and 4) Learning reflection form. Statistical data analysis by using mean, standard deviation, t-test and qualitative data. The research findings were as follows: 1) Choice-based art activities to promote creative art for children aged 9-12 years old that consisted of 4 components: concepts and principles of choice-based art art activities, art activity learning management choice-based, contents of choice-based art activities, and creative evaluation based on the concept of choice-based art activities 2) Choice-based art activities lesson plans that consists of  4 activities: (1) My Little Museum (2) Finding my imaginary creatures (3) Creative color wheels (4) Futuristic City to promotes creative art consists of 5 aspects 1) Creativity 2) Artistic Skills 3) Characteristic Expression 4) Selection and application 5) Completeness of the work. It was found that 3) The level of Creative art of the participants was very good ( =3.50), above the mean score at a significant level .05-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.934-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleการพัฒนากิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี-
dc.title.alternativeDevelopment of choice-based art activities to promote creative art for children aged 9-12 year old-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineศิลปศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.934-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280155827.pdf4.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.