Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81813
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สวภา เวชสุรักษ์ | - |
dc.contributor.author | ขวัญฟ้า ภู่แพ่งสุทธิ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-02-03T05:04:36Z | - |
dc.date.available | 2023-02-03T05:04:36Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81813 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 | - |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์เรื่อง ละครรำเรื่อง พระสุริโยทัย มีวัตถุประสงค์เพื่อนำประวัติสมเด็จพระสุริโยทัยมาสร้างสรรค์เป็นละครรำทางละครในเพิ่มขึ้นใหม่อีกเรื่องหนึ่ง ด้วยการวิจัยแบบทดลอง จากการค้นคว้าเอกสารประวัติศาสตร์ สัมภาษณ์ ทดลองสร้างสรรค์ การวิพากษ์ จัดการแสดง และการประเมินสัมฤทธิ์ผล แล้วนำเสนอรายงานผลการวิจัยในแบบการพรรณนาวิเคราะห์ การวิจัยแบบทดลองสร้างสรรค์มีข้อปฏิบัติ 7 ประการดังนี้ 1. ศึกษาและนำเนื้อหาและบุคคลจากประวัติศาสตร์มาสร้างเป็นโครงเรื่อง สี่ฉากสำคัญที่เหมาะแก่การทดลองแสดงเป็นทางละครใน คือ ฉากลงสรงทรงเครื่อง ประคารม เกี้ยวพาราสี และตัดไม้ข่มนาม 2. แต่งบทและบรรจุเพลงให้เหมาะแก่การดำเนินเรื่อง บุคลิกตัวละครและการรำ 3. คัดเลือกผู้แสดงที่มีประสบการณ์ในการแสดงละครใน 4. เลือกสรรประยุกต์และออกแบบท่ารำกับกระบวนรำให้เหมาะแก่บุคลิกของตัวละคร 5. ปรับแปลงเครื่องแต่งกายยืนเครื่องและอุปกรณ์การแสดงบางรายการให้มีความสมจริงเชิงประวัติศาสตร์และความสะดวกในการรำ 6. ฝึกซ้อมและปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในมิติต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ 7. จัดการแสดงและประเมินสัมฤทธิ์ผลจากผู้ร่วมงานทุกฝ่ายรวมทั้งผู้ดูและผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยทดลองสร้างสรรค์ครั้งนี้พบว่าการนำประวัติศาสตร์มาแสดงเป็นละครรำแนวละครในนั้นสามารถทำได้ดี เพราะเนื้อเรื่องและบุคคลที่นำมาทดลองเป็นวิถีชีวิตและวีรกรรมของพระราชวงศ์ที่คล้ายคลึงกันกับสาระของละครใน องค์ประกอบการแสดงตามจารีตละครในนั้นแม้จะมีความประณีตและเคร่งครัดในการปฏิบัติ หากทดลองสร้างสรรค์โดยผู้มีความรู้ความชำนาญในการประยุกต์ใช้อย่างรอบรู้และรอบคอบก็สามารถทำได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ และข้อค้นพบใหม่ของการวิจัยทดลองสร้างสรรค์ฉบับนี้จะเป็นแนวทางให้เกิดการวิจัยและพัฒนาด้านเนื้อหาและรูปแบบละครรำเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพของนาฏกรรมไทยสืบไป | - |
dc.description.abstractalternative | This thesis on Lakon Ram Ruang Phra Suriyothai aims to bring the history of Somdet Phra Suriyothai to create another new repertoire of court dance drama with experimental research from historical documents, interviews, creative experiments, criticisms, performances, and achievement evaluations. Then present the research report in a descriptive analysis form. Creative experimental research has 7 practicums as follows:1. Study and bring content and people from history to create a storyline, There are four important scenes that are suitable for an experimental performance in the fashion of court drama: the bathing scene, the argument, the flirtation, and the intimidation of enemy, 2. Writing the script and selecting the songs to suit the play proper, characters and dance presentation. 3. Casting of performers who have experience in performing Lakon Nai style, 4.Selecting, adapting and designing dance gestures, and movements to suit the personality of the characters in the play, 5. Some of the original costumes, and performance equipment have been transformed for historical realism and dance ease. 6. Practice and correct flaws in various dimensions according to the advice of experts. 7. Organize performances and evaluate performance from all parties including viewers and experts. The result of this experimental creative research found that the performance of a historical subject in the Lakon Nai style can be done well. Because the story and the people used in the experiment are the way of life and heroic deeds of the royal family that are similar to the essence of Lakon Nai. The performance elements of the drama in it, although elaborate and rigorous in practice. If experiments are created by people who are knowledgeable and skilled in applying them wisely and carefully, they can achieve their objectives. And the new findings of this experimental creative research will be a guideline for research and development in the content and form of dance drama for further academic and professional advancement of Thai dramatic arts. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.591 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | - |
dc.title | ละครรำ เรื่อง พระสุริโยทัย | - |
dc.title.alternative | Lakon ram "Pra Suriyotai" | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | นาฏยศิลป์ไทย | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2022.591 | - |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6281005635.pdf | 37.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.