Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81834
Title: ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยไซนัสอักเสบเรื้อรัง
Other Titles: Selected factors associated with health-related quality of life in patients with chronic Rhinosinusitis
Authors: ภัทราภรณ์ หมานมุ้ย
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพและหาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ รายได้ สถานะการสูบบุหรี่ ภาวะโรคร่วม (โรคหืด โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ภาวะกรดไหลย้อน) อาการทางจมูกและอาการที่เกี่ยวข้องกับประสาทรับกลิ่น คุณภาพการนอนหลับ และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมโรคกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยไซนัสอักเสบเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยไซนัสอักเสบเรื้อรังทั้งเพศชาย และเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 18-65 ปี มีอาการไซนัสอักเสบเรื้อรังมากกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไปที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยนอกหรือคลินิกที่มีแพทย์เฉพาะทางโรคด้านนาสิกวิทยาและภูมิแพ้ โรงพยาบาลตติยภูมิขึ้นไป 3 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 143 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการรักษา 2) แบบสอบถามอาการทางจมูกและอาการที่เกี่ยวข้องกับประสาทรับกลิ่น 3) แบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับ 4) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการควบคุมโรค และ 5) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ แบบสอบถามทุกฉบับได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงด้วยวิธีคำนวนค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.83, 0.73, 0.77 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และสัมประสิทธิ์ Eta ผลการวิจัยพบว่าคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังอยู่ในระดับต่ำทั้ง 8 มิติ ได้แก่ การรับรู้สุขภาพทั่วไป ความเจ็บปวด บทบาทที่ถูกจำกัดเนื่องจากปัญหาด้านอารมณ์ บทบาทที่ถูกจำกัดเนื่องจากสุขภาพทางกาย พลังงาน สุขภาพจิตทั่วไป การทำหน้าที่ทางสังคม และการทำหน้าที่ทางกาย (ร้อยละ 50.3, 35.7, 35.7, 32.2, 28.0, 19.6, 10.5, และ 9.1 ตามลำดับ) คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี อาการทางจมูกและอาการที่เกี่ยวข้องกับประสาทการรับกลิ่น มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันเท่ากับ -.479 และ -.439 ตามลำดับ ในขณะที่การรับรู้ความสามารถในการควบคุมโรค มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันเท่ากับ .306 รายได้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมนเท่ากับ .148 ในขณะที่โรคหืดและสถานะการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์ Eta เท่ากับ .204 และ .123 ตามลำดับ
Other Abstract: This descriptive research was to study health-related quality of life (HRQOL), and relationships between sex, income, smoking status, comorbidity, nasal symptoms, sleep quality, perceived control of disease and health-related quality of life in patients with chronic rhinosinusitis. The participants were 143 patients who followed up the Department of ENT (Rhino-allergy clinics) of 3 tertiary hospitals recruited using a simple random technique. Research instruments consisted of 6 parts including the Demographic Patients’ data and illness, the Sino-Nasal Outcome Test-22, the Pittsburgh Sleep Quality Index, the Perceived Control Rhinitis Questionnaire, and the Short Form Health Survey 36 (SF-36). Content validity was examined by 6 experts. Reliability tested using Cronbach’s alpha coefficient were 0.83, 0.73, 0.77, and 0.91 respectively. Data were analyzed using mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation, Spearman rank correlation coefficient and Eta. The major findings were as follows. The HRQOL in patients with chronic rhinosinusitis was poor in all dimensions. General health, bodily pain, role-functioning emotional, role-functioning physical, vitality, mental health, social functioning, and physical functioning (percentage 50.3, 35.7, 35.7, 32.2, 28.0, 19.6, 10.5, and 9.1 respectively) There was negative relationship between poor sleep quality, nasal and olfactory symptom (Pearson’s product moment correlation was -.479 and -.439 respectively). Meanwhile the positive relationship between perceived control of disease (Pearson’s product moment correlation was -.306.) The positive relationship between income and HRQOL (Spearman rank correlation coefficient was .148) Asthma and smoking status were correlated at the level of .05 (Eta ware .204 and .123 respectively)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81834
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.475
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.475
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270009636.pdf4.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.