Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81838
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทวฤทธิ์ สะระชนะ-
dc.contributor.authorชญานิน ตั้งสุวรรณศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-02-03T05:14:08Z-
dc.date.available2023-02-03T05:14:08Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81838-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractออทิซึมสเปกตรัมเป็นความผิดปกติที่เกี่ยวกับการพัฒนาของระบบประสาทและสมองที่มีความชุก 1 ใน 68 คนของเด็กในสหรัฐอเมริกา โดยจะมีระดับความรุนแรงและอาการแสดงทางคลินิกแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ออทิซึมสเปกตรัมจัดเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่เป็นที่เชื่อกันว่าสาเหตุของการเกิดโรคนั้นอาศัยปัจจัยร่วมหลายปัจจัย ได้แก่ ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม การวินิจฉัยออทิซึมสเปกตรัมในปัจจุบัน ใช้วิธีอิงจากการสังเกตพฤติกรรมผู้ป่วย วินิจฉัยโรคและความรุนแรงตามลักษณะอาการทางคลินิกเท่านั้น ยังไม่มีสารบ่งชี้ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่สามารถใช้ในการวินิจฉัย หรือติดตามความรุนแรงของโรคอย่างจำเพาะ โดยผลการศึกษาก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคออทิซึมสเปกตรัมมีความผิดปกติในระดับอณูชีวโมเลกุลมากมายทั้งในสมองและเลือด ซึ่งมีหลายประการที่สอดคล้องกับพยาธิสภาพระดับชีวโมเลกุลที่เกิดขึ้นในสมอง อย่างไรก็ตาม ยังไม่มียีนหรือโปรตีนชนิดใดที่สามารถใช้ในการอธิบายโรคออทิซึมสเปกตรัมได้ทั้งหมดในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าอาจมีกลไกอื่น ๆ ที่สามารถทำให้เกิดพยาธิสภาพได้ ยิ่งไปกว่านั้น แม้โรคออทิซึมสเปกตรัมจะเป็นโรคที่มีอัตราการถ่ายทอดทางพันธุกรรมสูง แต่มีฝาแฝดร่วมไข่จำนวนไม่น้อยที่คนหนึ่งเป็นโรคแต่อีกคนไม่เป็น หรือมีระดับความรุนแรงของโรคไม่เท่ากัน เนื่องจากฝาแฝดร่วมไข่มีลำดับเบสของดีเอ็นเอที่เหมือนกันทุกประการเมื่อแรกเกิด แสดงให้เห็นว่า กลไกเหนือพันธุกรรมหรือเอพิเจเนติกส์อาจเป็นสาเหตุหรือมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคออทิซึมสเปกตรัม รีโทรทรานสโพซอนไลน์วัน (retrotransposon LINE-1) เป็นส่วนของจีโนมที่สามารถเคลื่อนที่ได้ และมีอยู่ถึงประมาณร้อยละ 20 และในจีโนมมนุษย์ อย่างไรก็ตามบทบาทของ LINE-1 ในผู้ที่เป็นออทิซึมสเปกตรัมยังคงไม่ทราบแน่ชัด แต่มีรายงานว่าพบการควบคุมที่ผิดปกติของ LINE-1 ในสมองของหนูที่ขาด MECP2 และมีพฤติกรรมคล้ายออทิซึมสเปกตรัม ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงทำการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของ LINE-1 เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงระดับเมธิเลชันของ LINE-1 ในเซลล์ของผู้ที่เป็นออทิซึมสเปกตรัม และผลต่อการแสดงออกของยีน รวมไปถึงบทบาทหน้าที่ทางชีวภาพของยีนนั้น ๆ โดยทำการศึกษาในเซลล์ไลน์เม็ดเลือดขาว (lymphoblastoid cell lines; LCLs) ของผู้ที่เป็นออทิซึมสเปกตรัมและคนปกติ นอกจากนี้ยังได้ทำการวิเคราะห์ทางชีวสารสนเทศศาสตร์ร่วมด้วย โดยได้ทำการวิเคราะห์ร่วมระหว่างรายชื่อยีนที่มี LINE-1 แทรกตัวอยู่และมีการแสดงออกที่ผิดปกติในผู้ที่เป็นโรคออทิซึมสเปกตรัม และได้คัดเลือกรายชื่อยีนมาทำการศึกษาบาทหน้าที่ทางชีวภาพ และความสัมพันธ์ของเครือข่ายการควบคุมยีนของยีนเหล่านั้นด้วยโปรแกรม Ingenuity Pathway Analysis (IPA)  ซึ่งพบว่ายีนเหล่านั้นอาจจะมีความสัมพันธ์กับโรคทางระบบประสาทและสมอง ในส่วนของการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของ LINE-1 ในดีเอ็นเอซึ่งสกัดมาจาก LCLs ของผู้ที่เป็นโรคออทิซึมสเปกตรัมและคนปกติ และดำเนินการโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ Combined Bisulfite Restriction Analysis (COBRA) ซึ่งพบว่าใน LCLs ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นออทิซึมสเปกตรัมมีระดับเมธิเลชันของ LINE-1 ที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเทียบกับคนปกติ และเมื่อทำการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของ LINE-1 ในแต่ละกลุ่มของ LCLs ที่เป็นออทิซึมสเปกตรัม ซึ่งถูกจัดแบ่งกลุ่มตามหลักเกณฑ์ของ ADI-R เนื่องจากออทิซึมสเปกตรัมเป็นโรคที่มีลักษณะอาการและความรุนแรงที่หลากหลายมาก คณะผู้วิจัยพบว่าแต่ละกลุ่มมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของระดับเมธิเลชันของ LINE-1 ที่จำเพาะ และในบางกลุ่มไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับเมธิเลชันของ LINE-1 นอกจากนี้ยังพบว่าการเมธิเลชันของ LINE-1 มีความสัมพันธ์กับการแสดงออกของ LINE-1, C1orf27 และ ARMC8 โดยการวิเคราะห์ด้วย quantitative RT-PCR การศึกษาของเราแสดงให้เห็นว่าในผู้ที่เป็นออทิซึมสเปกตรัมบางกลุ่ม มีกลไกการควบคุมการเมธิเลชันของ LINE-1 ที่ผิดปกติ และอาจไปรบกวนการแสดงออกของ LINE-1 และเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนที่มี LINE-1 แทรกตัวอยู่ ซึ่งอาจมีความสัมพันธ์กับสาเหตุของการเกิดโรคและความผิดปกติในออทิซึมสเปกตรัม ดังนั้นการศึกษานี้จึงทำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมธิเลชันของ LINE-1 ต่อกลไกการเกิดโรคหรือต่อความเสี่ยงในการเกิดออทิซึมสเปกตรัมได้ดีมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาบทบาทความสำคัญของ LINE-1 ในผู้ที่เป็นออทิซึมสเปกตรัมเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต-
dc.description.abstractalternativeAutism spectrum disorder (ASD) is a group of neurodevelopmental disorders with the prevalence of 1 in 68 children in United States. The exact cause of ASD remains unclear. Long Interspersed Element-1 (LINE-1) is a transposable element which makes up approximately 20% of the human genome. The function of LINE-1 is still unclear but the dysregulation of LINE-1 has been reported in the brain of MECP2-mutant mice which exhibit ASD-like behaviors. However, the role of LINE-1 in individuals with ASD remains unknown. In this study, we therefore aimed to investigate the regulation of LINE-1 in ASD by DNA methylation and gene expression profiling analyses. To determine whether ASD-related genes contain LINE-1 insertions, we conducted a meta-analysis of gene expression profiles previously published in transcriptomic studies in ASD. Pathway analysis of genes that are differentially expressed and predicted to contain LINE-1 insertions were conducted using Ingenuity Pathway Analysis (IPA). To determine whether DNA methylation on LINE-1 may regulate the expression of LINE-1 and the LINE-1-containing genes, DNA methylation analysis of lymphoblastoid cell lines from ASD and unaffected individuals was performed, and the LINE-1 methylation levels were correlated with the expression of LINE-1. Moreover, the expression of two differentially expressed genes (i.e. C1orf27 and ARMC8) predicted to contain LINE-1 insertions, were also validated by qRT-PCR analysis. Meta-analysis of ASD transcriptome profiles from independent studies revealed 501 genes that are differentially expressed and potentially contain LINE-1 insertions. IPA analysis showed that these genes are involved in ASD-related mechanisms and networks, including sex hormone receptor signaling and axon guidance signaling. Moreover, we found that LINE-1 methylation was dysregulated in ASD, and further subgrouping of ASD individuals based on the Autism Diagnostic Interview-Revised scores revealed specific methylation patterns that were altered in each subgroup. Furthermore, LINE-1 methylation levels were correlated with the expression of LINE-1, C1orf27, and ARMC8. Our study demonstrates that at least in some ASD individuals LINE-1 methylation is dysregulated, which potentially causes disruptions in LINE-1 expression and may alter the expression of LINE-1-containing genes associated with ASD etiology or susceptibility. The role of LINE-1 in ASD deserves further investigation.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.823-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.subject.classificationBiochemistry-
dc.subject.classificationBiochemistry-
dc.subject.classificationNeuroscience-
dc.subject.classificationNeuroscience-
dc.subject.classificationNeuroscience-
dc.titleการศึกษาเครือข่ายควบคุมยีนโดยภาวะเหนือพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมด้วยการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของรีโทรทรานสโพซอนไลน์วัน-
dc.title.alternativeInvestigation of epigenetic gene regulatory networks associated with autism spectrum disorder (ASD) by global retrotransposon line1 methylation analysis-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.823-
Appears in Collections:All - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5776654037.pdf5.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.