Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81855
Title: การวิเคราะห์ทางคิเนมาติกส์และคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของการปีนหน้าผาประเภทความเร็วระยะทาง 15 เมตรในนักกีฬาปีนหน้าผาทีมชาติไทย
Other Titles: Kinematic and electromyographic analysis of 15-m speed climbingin Thai national rock climbers
Authors: ทัตพิชา พงษ์ศิริ
Advisors: นงนภัส เจริญพานิช
ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
สุจิตรา บุญหยง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ช่วงต้นของการออกตัว เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของการปีนหน้าผาประเภทความเร็วที่ความสูง 15 เมตร เนื่องจากเป็นช่วงที่นักกีฬาสามารถทำความเร็วในการปีนหน้าผาได้ 75-100% ของความเร็วสูงสุดที่ใช้ในการปีน ส่งผลให้ความเร็วในช่วงต่อไปเพิ่มมากขึ้น การปีนในช่วงต้นนี้พบได้ 2 รูปแบบคือ การปีนหน้าผาแบบคลาสสิก สตาร์ท และแบบโทโมอะ สคิป อย่างไรก็ตาม ยังขาดข้อมูลทางด้านคิเนมาติกส์และการทำงานของกล้ามเนื้อการปีนทั้ง 2 รูปแบบนี้ ดังนั้น งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ และเปรียบเทียบข้อมูลทางคิเนมาติกส์ และคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของการปีนหน้าผาช่วงต้นของการออกตัวประเภทความเร็วระยะทาง 15 เมตร แบบคลาสสิก สตาร์ท  และแบบโทโมอะ สคิป ในนักกีฬาปีนหน้าผาทีมชาติไทย ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นนักกีฬาปีนหน้าผาประเภทความเร็ว ทีมชาติไทยชุดใหญ่ เพศชาย ที่กำลังเก็บตัวเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนบีชเกมส์ 2021 ครั้งที่ 6 ณ เมืองซานย่า ประเทศจีน อายุระหว่าง 18 – 25 ปี จำนวน 7 คน การเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติถูกบันทึกภาพจากมาร์คเกอร์จำนวน 14 ตำแหน่ง และสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ถูกบันทึกจากกล้ามเนื้อของรยางค์บนและล่าง ข้างซ้ายและข้างขวา จำนวน 14 มัด ในผู้เข้าร่วมวิจัยขณะทำการปีนหน้าผาด้วยความเร็วสูงสุด ทั้งหมด 6 ครั้ง โดยใช้การปีนช่วงต้นแบบคลาสสิก สตาร์ท จำนวน 3 ครั้ง และแบบโทโมอะ สคิป จำนวน 3 ครั้ง แต่ละครั้งเว้นระยะห่าง 5 นาที และพักระหว่างรูปแบบของการปีนเป็นเวลา 10 นาที ข้อมูลจากการปีนครั้งที่มีความเร็วสูงสุดของแต่ละรูปแบบจะถูกนำมาเปรียบเทียบระหว่างการปีน 2 รูปแบบ  ความเร็วในการเคลื่อนที่เชิงเส้นและเชิงมุม องศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ ข้อศอก ข้อสะโพก ข้อเข่า และลำตัว การเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางมวล  ค่าการหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุด พื้นที่ใต้กราฟของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อในช่วงขณะที่มีการเคลื่อนไหว เวลาในการเพิ่มความต่างศักย์ถึงค่าสูงสุด และอัตราการเพิ่มความต่างศักย์ของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ถูกเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ ทีรายคู่ (Paired t-test) โดยกำหนดค่านัยสำคัญที่ .05 รวมทั้งนำค่าความต่างศักย์ของกล้ามเนื้อทั้ง 14 มัด ของการปีน 3 ครั้งในแต่ละรูปแบบ วิเคราะห์กล้ามเนื้อหลักในการทำงานของกล้ามเนื้อ (Muscle synergist) โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression) แบบแบคเวิร์ด (Backward) ผลการวิจัยพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ของระยะเวลาของช่วงการเคลื่อนไหวจากตัวจับที่ 3 ไปตัวจับที่ 5 ความเร็วในการปีน ระยะเวลาในการปีน 15 เมตร  ความเร็วเชิงเส้นของข้อไหล่, ข้อศอก, ข้อสะโพก และข้อเข่า มุมการเคลื่อนไหวของข้อไหล่, ข้อศอก, ข้อสะโพก และข้อเข่า ความเร็วเชิงมุมของข้อไหล่, ข้อศอก, ข้อสะโพก และข้อเข่า พื้นที่ใต้กราฟของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อในช่วงขณะที่มีการเคลื่อนไหว และเวลาในการเพิ่มความต่างศักย์ถึงค่าสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการปีนหน้าผาแบบคลาสสิก สตาร์ท และแบบโทโมอะ สคิป ในขณะที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ของค่าการหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุด และอัตราการเพิ่มความต่างศักย์ของคลื่นไฟฟ้า และพบว่ากล้ามเนื้อที่มีอิทธิพลในการปีนหน้าผาแบบโทโมอะ สคิป สูงสุดคือกล้ามเนื้อแกสตรอคนีเมียส ในขณะที่กล้ามเนื้อวาสตัส แลเธอรัลลิส เป็นกล้ามเนื้อที่มีอิทธิพลในการปีนหน้าผาแบบคลาสสิก สตาร์ทช่วงตัวจับที่ 3 ถึงถึงตัวจับที่ 5 สูงที่สุด สรุปผลการวิจัย การปีนหน้าผาแบบโทโมอะ สคิปส่งผลให้นักกีฬาสามารถปีนได้เร็วกว่าแบบคลาสสิก สตาร์ท อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากมีการเคลื่อนที่ของข้อไหล่ กับข้อศอกที่เร็วกว่า มีการเคลื่อนที่ไปทางด้านข้างของลำตัวน้อยกว่า จึงสามารถเคลื่อนที่ขึ้นในแนวดิ่งได้เร็วกว่า โดยผลจากการวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ พบความต่างศักย์สูงสุดของกล้ามเนื้อแกสตรอคนีเมียสร่วมกับกล้ามเนื้อวาสตัส แลเธอรัลลิส ที่มากกว่า และมีพื้นที่ใต้กราฟของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อแลทิสสิมัส ดอไซด์สูงสุดเมื่อเทียบจากกล้ามเนื้อทั้ง 14 มัด และผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่า กล้ามเนื้อแกสตรอคนีเมียส มีอิทธิพลสูงสุดขณะปีนแบบโทโมอะ สคิป ขณะที่กล้ามเนื้อวาสตัส แลเธอรัลลิสข้างซ้ายมีอิทธิพลสูงสุดของการปีนแบบคลาสิก สตาร์ท
Other Abstract: The Starting phase of the 15-meter speed rock climbing is the most importance phase because the climbers can accelerate their speed to 75-100% of maximum speed, that can induce speed of later phase. There are two patterns for passing the starting phase, which are Classic start and Tomoa skip. However, there is a lack of evidence about the kinematics and muscle work of these patterns. Therefore, this study aimed to analyze and compare the kinematic data and electromyographic data during starting phase of 15-meter speed climbing, which are Classic start and Tomoa skip in Thai National rock climbers. Participants were 7 male speed climbing of Thai National rock climbers who are training for participated in 6th Asian Beach Games 2021, Sanya, China, aged 18-25 years old. 3D motion were captured from fourteen retroreflective markers and electromyographic data were measured from 14 muscles of left and right upper and lower extremities. Participants performed totally 6 trials of 15-meter speed rock climbing which were 3 trials of Classic start and 3 trials of Tomoa skip. There were 5-minute break for each trial and 10-minute break for each pattern. Only data from the trial with the highest speed from each climbing pattern were used to compare between climbing patterns. Linear and angular velocity, joint angles of shoulders, elbows, hips, knees, and trunk, movement of center of mass (COM), maximum EMG, integrate EMG, time to peak and rate of EMG development were compared by using paired t-test. Significant difference was set at p-value less than .05. In addition, the maximum EMG of all three trials of each pattern were analyzed by Multiple Linear Regression, Backward technique. The results showed the significant different of time of hand phase, climbing speed, climbing time of 15-m., linear velocity of shoulder joint, elbow joint, hip joint and knee joint, angle of shoulder joint, elbow joint, hip joint and knee joint, angular velocity of shoulder joint, elbow joint, hip joint and knee joint, integrated EMG and time to peak EMG when compared between Classic start and Tomoa skip. On the other hand, there are no significant different of maximum EMG and Rate of EMG development. Additionally, the Multiple Linear Regression of climbing from hold 3rd to 5th showed that the Gastrocnemius muscle is the most influence muscle in Tomoa skip, whereas in Classic start is Vastus lateralis muscle. In conclusions, Tomoa Skip allows the athletes to climb significantly faster than Classic Start.  Due to shoulder and elbow joint move faster than in Classic Start. Moreover, there is less lateral movement of trunk therefore, the climber can move up vertically in faster speed. The EMG results showed that the Gastrocnemius and Vastus lateralis muscles showed maximum value of maximum intensity, and the Latissimus dorsi muscle showed maximum value of iEMG when compared with all 14 muscles. The Multiple Linear Regression showed that the Gastrocnemius muscle is the most influence muscle in Tomoa skip, On the other hand the left Vastus Lateralis muscle is the most influence muscle in Classic start.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81855
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.758
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.758
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6178605439.pdf9.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.