Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81942
Title: การเพิ่มความสามารถในความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันที่มีต่อความผูกพันและความเสี่ยงจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของประชาชน : รายงานวิจัย
Other Titles: The development of Thai people's competence in digital intelligence and literacy on their engagement and risk from social media
Authors: พนม คลี่ฉายา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: การรู้สารสนเทศ
การรู้เท่าทันสื่อ
การรู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน็ต
สื่อสังคมออนไลน์
Issue Date: 2564
Publisher: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความผูกพันและความเสี่ยงจากเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์ของประชาชน วัดระดับความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทัน สร้างเว็บไซต์การเรียนรู้ และสร้างข้อเสนอแนะเพิ่มความสามารถการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ ดาเนินโครงการด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) เริ่มจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ร่วมกับการวิจัยเชิงสารวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชน 4 กลุ่มวัย ได้แก่ อายุ 15-22 ปี อายุ 23-39 ปี อายุ 40-59 ปี และอายุ 60 ปีขึ้นไป จานวนรวม 2,580 คน จากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ นาผลการวิจัยเข้าสู่การประชุมรับฟังความเห็นผู้เชี่ยวชาญ และพัฒนาต้นแบบเว็บไซต์การเรียนรู้ลดความเสี่ยงจากการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิจัยที่กล่าวมาข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า ในภาพรวมประชาชนใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก ไลน์ ยูทูบ ในชีวิตประจาวัน วันละ 3-8 ชั่วโมง ใช้งานเพื่อความบันเทิง ติดต่อพูดคุย อ่านข่าว การทางานหรือเรียน มักจะแสดงความรู้สึกต่อเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการกดไลค์ เลิฟ มากกว่าจะแสดงความเห็น มีโอกาสพบเจอความเสี่ยงที่นาไปสู่อันตราย 15 เรื่อง เรียงลาดับดังนี้คือ ความรุนแรง โฆษณาเกินจริง ข้อมูลสุขภาพที่ไม่จริง ข่าวปลอม เนื้อหาลามก หวยออนไลน์ การพนันออนไลน์ ถูกหลอกซื้อสินค้า ถูกหลอกจากการชักชวนหารายได้ ภัยจากระบบคอมพิวเตอร์ แชร์ออนไลน์ ถูกหลอกจากคนแปลกหน้า ข้อมูลส่วนตัวถูกขโมย หุ้นออนไลน์ และการระรานกลั่นแกล้ง ทั้งนี้แต่ละกลุ่มวัยพบเจอความเสี่ยงที่คล้ายกัน และแตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งาน ความสนใจในแต่ละช่วงวัย กล่าวคือ กลุ่มวัยรุ่นวัยเรียน อายุ 15-22 ปี พบเจอความเสี่ยงจากความรุนแรง โฆษณาเกินจริง ข้อมูลสุขภาพที่ไม่จริง ข่าวปลอม เนื้อหาลามก การพนันออนไลน์ การถูกหลอกจากการชักชวนทางาน กลุ่มวัยหนุ่มสาว อายุ 23-39 ปี พบเจอความเสี่ยงจากโฆษณาเกินจริง ความรุนแรง ข้อมูล สุขภาพที่ไม่จริง ข่าวปลอม เนื้อหาลามก การพนันออนไลน์ การถูกหลอกจากการซื้อสินค้า กลุ่มวัยผู้ใหญ่ อายุ 40-59 ปี พบเจอความเสี่ยงจากโฆษณาเกินจริง ข้อมูลสุขภาพที่ไม่จริง ความรุนแรง ข่าวปลอม เนื้อหาลามก หวยออนไลน์ การพนันออนไลน์ และกลุ่มผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป พบเจอความเสี่ยงจากข้อมูลสุขภาพที่ไม่จริง ข่าวปลอม ความรุนแรง หวยออนไลน์ โฆษณาเกินจริง เนื้อหาลามก แชร์ออนไลน์ สาหรับความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับที่สามารถใช้สื่อได้ ประเมินสื่อเป็น มีการป้องกันลดความเสี่ยงได้ และสามารถใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ได้ แต่ทักษะความสามรถในการสื่อสารอย่างเหมาะสม และการอ่าน ตีความหมาย เข้าใจเนื้อหา ยังอยู่ในระดับปานกลาง ผลการพัฒนาต้นแบบเว็บไซต์การเรียนรู้คือ เว็บไซต์ “คิด คุย ค้น” (www.คิดคุยค้น.net) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 3 กระบวนการ ได้แก่ 1) การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อบทเรียนการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ (Online Interactive Learning Object) เน้นความรู้ ทักษะและความสามารถในการลดความเสี่ยง 2) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการเผยแพร่เนื้อหาเสริมสร้างความรู้ และการกระทู้สนทนา 3) กระบวนการลงมือปฏิบัติผ่านเครื่องมือสนับสนุนการตรวจสอบข้อมูล ข่าว ที่สงสัยว่าถูกต้อง เป็นจริง น่าเชื่อถือหรือไม่ เว็บไซต์ต้นแบบเปิดให้ใช้งานจริง 4 เดือน พบว่า สมาชิกเว็บไซต์ที่มีช่วงอายุ 13-22 ปีเข้าเรียนบทเรียนมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 23-35 ปี โดยสนใจเรียนบทเรียนเรื่อง “การติดต่อสื่อสารทางสังคม” (Social Communication) มากที่สุด รองลงมาคือเรื่อง “ความเข้าใจตัวบนของสื่อสังคมออนไลน์” (Media Text Understanding) เท่ากับเรื่อง “ความเสี่ยงจากการถูกหลอกลวง” เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบพื้นฐานความรู้ความสามารถก่อนเรียน และ ความรู้ความสามารถหลังเรียนบทเรียนครบ สรุปได้ว่า ความรู้ความสามารถหลังเรียนบทเรียนครบ อยู่ในระดับมากกว่าพื้นฐานความรู้ความสามารถก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์พบว่า เข้าชมเนื้อหาบทความเสริมความรู้รวม 378 ครั้ง เข้าชมกระทู้สนทนารวม 68 ครั้ง ผลการสังเคราะห์ข้อค้นพบ นามาพัฒนาเป็นกระบวนการสร้างความสามารถในความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทัน ประกอบด้วย การเสริมสร้างความรู้ทักษะความสามารถส่วนบุคคล การรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการจัดให้มีเครื่องมือที่สนับสนุนพฤติกรรมรู้เท่าทัน และเสนอยุทธศาสตร์เพิ่มความสามารถรู้เท่าทันสื่อของประชาชน ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์เสริมสร้างความรู้ ทักษะ ความสามารถส่วนบุคคล ด้วยการสอนเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ 2) ยุทธศาสตร์สร้างชุมชนรู้เท่าทันสื่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันเตือนป้องกัน และ 3) ยุทธศาสตร์พัฒนาเทคโนโลยีสนับสนุนพฤติกรรมรู้เท่าทันสื่อ สร้างเครื่องมือตรวจสอบข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้อง
Other Abstract: This research aims to reveal the engagement and the risk of people’s social media content, measure their competence in digital intelligence, create an educational website, and offer tips for enhancing their competence and literacy in social media content. This project uses the mixed method of research. It begins with the in-depth interview, followed by the survey research of four sample groups, namely those who are 15-22, 23-39, 40-59, and 60 and older, in the total of 2, 580 people. The sample size is from all regions in the country, and the research results have been presented to the panel of experts and used for the development of an educational website that promotes the reduction of risks from social media uses. The research has found that, overall, Thai people use social media, namely Facebook, Line, and YouTube around 3-8 hours a day for entertainment, contacting others, updating news, working, and studying. They also react to the content in the forms of hitting ‘like’ and ‘love’ rather than submitting comments. The results also reveal that there are 15 risky situations that could lead to threats as follows, respectively: violence, overexaggerating advertisement, false health-related information, fake news, obscene content, online lottery, online gambling, product scams, job schemes, cyber threats, online rotating savings, catfishing, identity theft, online stocks, and cyberbullying. Overall, the participants encounter both in similar and different ways depending on the nature of their social media use and interests. Those aged between 15-22 encounter violence, overexaggerating advertisement, false health-related information, fake news, obscene content, online gambling, and job schemes. Those aged between 23-39 encounter overexaggerating advertisement, violence, false health-related information, fake news, online gambling, and product scams. Those aged between 40-59 encounter overexaggerating advertisement, false health-related information, violence, fake news, obscene content, online lottery, and online gambling. Lastly, those aged 60 and older encounter false health-related information, fake news, violence, online lottery, overexaggerating advertisement, obscene content, and online rotating savings. Regarding digital literacy, the participants display overall decent competence. They are able to evaluate the content and prevent risky situations, as well as draw benefits from social media content. However, their ability to properly use communicate, read and evaluate content, and understand content is still at an acceptable level. The results from the educational website development “Kid Kui Kon” (www.คิดคุยค้น.net) are drawn from three learning processes: 1) self-learning through online interactive learning objects, 2) learning from content additionally shared in the comments forum, and 3) learning through the use of fact-checking tools that evaluate the validity and the reliability of the content. The prototype version of the website was launched for four months, the results show that users aged between 13-22 take online courses the most. The second most engaging group is those aged between 23-35 who are interested in taking “Social Communication” classes the most, followed by “Media Text Understanding” classes and “Risks from Deception” classes, both equally. When evaluating the results from the pre-test and the post-test exercises, the results found that the post-test scores are higher than the pre-test scores at the significance level of .05. Moreover, the statistics form the website show that the contents from the additional informative articles were accessed 378 times, and the comments forum was accessed 68 times. After result synthesis and analysis, the findings are utilized in the process of increasing digital literacy and competence which include individual skill-building, group knowledge-sharing, and behavioral competence development tools. Also, strategies to promote people’s media literacy are proposed as follows: 1) Individual knowledge and skill-building strategies through raising awareness on media literacy, 2) Community sharing, warning, and prevention strategies to promote media literacy, and 3) strategies to develop technology for promoting media-literate behavior and fact-checking tools.
Description: แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ และความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทัน -- แนวคิดความฉลาดทางดิจิทัล -- แนวคิดสื่อสังคมออนไลน์และความเสี่ยงและผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ -- แนวคิดความผูกพันบนสื่อสังคมออนไลน์ -- แนวคิดชุมชนออนไลน์ -- การทบทวนวรรณกรรมต่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81942
Type: Technical Report
Appears in Collections:Comm - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2564_Thai People Risk_Research.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)478.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.