Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81999
Title: การแยกและศึกษาสมบัติของเชื้อเอนโดไฟท์ที่เจริญอยู่ในมันสำปะหลัง และการประยุกต์ใช้ : รายงานการวิจัย
Other Titles: Isolation and characterization of endophytes in cassava their applications
Authors: วันชัย อัศวลาภสกุล
กนกพร ไตรวิทยากร
ศุภจิต สระเพชร
ณัฐพล อภิรติกุล
วัฒนชัย จำปาทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: มันสำปะหลัง
เอนโดไฟต์
Cassava
Endophytes
Issue Date: 2560
Publisher: คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการนี้เป็นโครงการปีที่ 2 ของการศึกษาหาเอนโดไฟท์ที่เจริญอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของมันสำปะหลังที่ เจริญอยู่ร่วมกับมันสำปะหลังจำนวน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ 1) พันธุ์ห้วยบง 60 2) พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และ 3) พันธุ์พิรุณ 1 สามารถแยกเอนโดไฟท์ได้ 67, 60, และ 42 ไอโซเลทตามลำดับ จากนั้นนำประชากรเอนโดไฟท์ที่ แยกได้มาทดสอบสมบัติทางชีวภาพที่มีประโยชน์ในการดำรงชีวิตต่อพืช ได้แก่ ความสามารถในการสร้างกรด อินโดลอะซีติก ความสามารถในการเพิ่มการละลายฟอสเฟต และการสร้างสารไซเดอโรฟอร์ รวมถึงการศึกษา ลำดับนิวคลีโอไทด์ 16S rDNA พบว่า เอนโดไฟท์มีสมบัติในการสร้างกรดอินโดลอะซีติก สมบัติในการละลาย ฟอสเฟตในดิน และสมบัติในการสร้างสารไซเดอร์โรฟอร์ ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับไอโซเลท เอนโดไฟท์ที่แยกได้ จำนวน 2 ไอโซเลท ได้แก่ PR1s-1 และ HB60r-9 ได,ถูกนำมาศึกษาในการแยกอนุพันธ์กรดอินโดลอะซีติก ผลการทดลองพบว่า อนุพันธ์ของกรดอินโดลอะซีติก ถูกแยกอยู่ในส่วนของตัวทำละลายเอทิลอะซิเทตและเฮกเซน ที่สกัดจากอาหารเลี้ยงเชื้อเอนโดไฟท์ PR1s-1 และ HB60r-9 ตามลำดับ ซึ่งสารดังกล่าวจะถูกนำมาทำให้ บริสุทธิ์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบและโครงสร้างของสารต่อไป นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาแบคทีเรียที่มีสมบัติ ในการสร้างเอนไซม์เซลลูเลสที่ช่วยในการย่อยสลายซากพืชจากดินที่ปลูกมันสำปะหลัง 3 สายพันธุ์ใน ระยะเวลา 3, 6, 9 และ 12 เดือน ผลการศึกษาพบว่า สามารถคัดแยกแบคทีเรียที่มีสมบัติในการสร้างเอนไซม! เซลลูเลส จำนวน 86 ไอโซเลท และเมื่อศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์ 16S rDNA จำนวน 68 ไอโซเลท พบว่าไอโซ เลทส่วนใหญ่ (67 ไอโซเลท จาก 68 ไอโซเลท) อยู่ในสกุล Bacillus ซึ่งไอโซเลทที่แยกได้จะถูกนำมาศึกษา สมบัติของเอนไซม์เซลลูเลสที่จำเพาะและประยุกต์ใช้ต่อไป
Other Abstract: This is the second-year project to study the endophyte co-existing in different parts of 3 strains of cassava plant. Sixty-seven, sixty and forty-two endophytes were respectively isolated from Cassava strain HB60 (Huay Bong 60), KU50 (Kasetsart 50) and PR1 (Pirun-1). To find the bioactive substance, those isolated endophytes were examined the ability of producing indoles acetic acid, enhancing phosphate solubility and siderophore, thereafter, the species were determined by 16S rDNA sequencing. The study showed the ability to produce bioactive reagent is vary from isolate to isolate. As a preliminary study, the 2 isolated endophytes, which are PR1s-1 and HB60r-9, were selected to examined the capability to produce indole acetic acid’s derivative. It showed that substances contained in ethyl-acetate and hexane fractions, respectively. The component and chemical structure of the constitutents in those two fractions will be determined in the further work. This work also studied the cellulase-producing bacteria from 3 strains of cassava within 3, 6, 9 and 12 month of cultivation period. The results showed eighty-six isolates of cellulase producing bacteria were isolated from the soil. Based on nucleotide within 16s rDNA, most of them (67 of 68 isolates) were described as a genus of Bacillus. Regarding this result, the enzyme in which these bacteria produced will be characterized and be applied in the future.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81999
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanchai_As_Res_2560.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)43.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.