Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82089
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorโสภา ช้อยชด-
dc.contributor.authorจินตนา สรายุทธพิทักษ์-
dc.contributor.authorกมลวรรณ ตังธนกานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-05-24T08:21:20Z-
dc.date.available2023-05-24T08:21:20Z-
dc.date.issued2565-05-
dc.identifier.citationวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 14,2 (พ.ค. - ส.ค. 2565) หน้า 281 - 298en_US
dc.identifier.issn2697 5793-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82089-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ระยะที่ 1 ศึกษาเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 วิเคราะห์และสรุปข้อมูล ระยะที่ 3 พัฒนาโปรแกรมฯและระยะที่ 4 ตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรมฯ โดยการเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน เพื่อประเมินความเหมาะสมของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น จากนั้นนำโปรแกรมที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะซึมเศร้าระดับน้อยถึงปานกลาง จำนวน 15 คน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมในการจัดกิจกรรม ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียน ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านตนเอง ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านเพื่อน/คนรัก และปัจจัยด้านสังคม นอกจากนี้ แนวคิดการบำบัดด้วยการแก้ไขปัญหาร่วมกับแนวคิดการบำบัดด้วยการออกกำลังกายมีความเหมาะสมที่จะนำมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาโปรแกรม 2) องค์ประกอบของโปรแกรมประกอบด้วย ชื่อกิจกรรม วัตถุประสงค์ แนวความคิด ขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรม สื่อการเรียนรู้ และการประเมินผล 3) กิจกรรมโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย8 กิจกรรม ได้แก่ (1)ใครคือตัวฉัน (2)ต้นเหตุที่แท้จริง (3)ทางหนี ทีไล่ (4)หนทางการแก้ปัญหา (5)ฉันเลือกเธอ (6)ลงมือด้วยตนเอง (7)ทุกปัญหามีทางออกเสมอ และ(8)ผลลัพธ์จากการลงมือทำ ระยะเวลาในการจัดโปรแกรมใช้เวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 2 วันๆ ละ 90 นาที และ 4) โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเหมาะสมเท่ากับ 4.36สรุปได้ว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพและอาจนำไปสู่การลดภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นen_US
dc.description.abstractalternativeThe aim of this study was to develop an effective intervention program to reduce depression levels among Thai lower secondary school students with a mild to moderate depression. The development of the intervention was divided into 4 phases, i.e.; phase 1) literature review, phase 2) content analysis, phase 3) content development, and phase 4) evaluation of the suitability of the intervention by 7 experts. Thereafter, the intervention was pilot tested on 15 participants who had mild to moderate depression levels. The literature review revealed that there were 4 groups of depression factors, consisting of personal factors, family factors, friendship and romantic intimacy factors and social factors, which were used in the design of the intervention. Furthermore, the simultaneous implementation of problem-solving therapy (PST) and exercise therapy (ET) was found to be suitable to reduce depression. The designed activities of the intervention were listed and divided into several elements including the activity name, objective, concept, learning activity, instruction media and assessment. The activities were spread over the course of each week starting with: 1) “Who am I?” 2) “What is the true cause?” 3) “Finding a solution” 4) “Problem-solving methods” 5) “I choose you” 6) “Solving the problem by myself” 7) “There is a solution for every problem” and 8) “Evaluating the result of the solution”. The duration of the intervention was set for 8 weeks with 2 sessions per week of 90 minutes. According to the pilot test, the intervention was rated as “most suitable” with a score of 4.36. This indicated that the intervention might be effective in reducing depression levels among lower secondary school students.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติen_US
dc.relation.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/article/view/250323-
dc.rightsวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติen_US
dc.subjectความซึมเศร้าในวัยรุ่นen_US
dc.subjectการแก้ปัญหาในวัยรุ่นen_US
dc.subjectจิตวิทยาวัยรุ่นen_US
dc.subjectการรักษาด้วยการออกกำลังกายen_US
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะซึมเศร้า สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นen_US
dc.title.alternativeDevelopment of a behaviour intervention program to reduce depression levels for lower secondary school studentsen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:Thai Journal Article

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
html_submission_85061.htmlบทความวารสารฉบับเต็ม (Fulltext)2.79 kBHTMLView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.