Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82166
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณัชพล จิตติรัตน์ | - |
dc.contributor.author | สรชนก ยินดีฉัตร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-06-01T09:08:06Z | - |
dc.date.available | 2023-06-01T09:08:06Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82166 | - |
dc.description | เอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 | en_US |
dc.description.abstract | การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุภาครัฐได้มีการกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจัดทำหนังสือค้ำประกัน โดยผู้ประกวดราคาหรือผู้ชนะการประมูลจะต้องนำหนังสือค้ำประกันมายื่นต่อหน่วยงานรัฐตามข้อสัญญาเพื่อนำมาเป็นหลักประกันผลงาน โดยหนังสือค้ำประกันจะต้องออกโดยธนาคารและให้ธนาคารเป็นผู้ค้ำประกันผลงาน ซึ่งสามารถยื่นได้ทั้งหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์และหนังสือค้ำประกันในรูปแบบกระดาษ ภาครัฐโดยกรมบัญชีกลางจึงได้มีการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาใช้ในการดำเนินงานของระบบจัดซื้อจัดจ้างพัสดุภาครัฐ โดยจัดให้มีการทำหลักประกันทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบบล็อกเชน เพื่อให้การทำธุรกรรมสามารถทำได้สะดวกรวดเร็ว ลดการจัดเก็บเอกสาร สร้างความน่าเชื่อถือให้กับหนังสือค้ำประกัน มีความโปร่งใส และมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น อย่างไรก็ดีการออกหนังสือค้ำประกันในรูปแบบกระดาษมีขั้นตอนการดำเนินงานที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน อีกทั้งมีความเสี่ยงในการทุจริตทั้งปลอมแปลงเอกสารและลายมือชื่อ รวมถึงมีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้ง่ายกว่าหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผ่านมาธนาคารได้มีการนำข้ออ้างต่างๆ ในการปฏิเสธที่จะชำระหนี้ในฐานนะผู้ค้ำประกันให้กับเจ้าหนี้ โดยมีการนำข้ออ้างว่าหนังสือค้ำประกันเป็นเอกสารปลอม หรือเจ้าหนี้ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาค้ำประกัน การที่ลูกหนี้มีการปลอมแปลงเอกสารหนังสือค้ำประกัน หรือกรณีที่เจ้าหนี้คืนหนังสือค้ำประกันโดยความเข้าใจผิดในขณะที่หนี้ประธานยังไม่สิ้นสุด ซึ่งธนาคารมักใช้เหตุผลว่าธนาคารได้รับหนังสือค้ำประกันคืนมาอย่างสุจริตและเมื่อธนาคารได้รับหนังสือค้ำประกันธนาคารสามารถยกเลิกภาระผูกพันได้ตามธรรมเนียมปฏิบัติของธนาคาร ทั้งนี้เมื่อเกิดข้อพิพาทและได้มีการนำสืบพบว่าส่วนใหญ่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของธนาคารเอง ธนาคารยังคงมีภาระผูกพันในฐานะผู้ค้ำประกันและยังคงต้องชำระหนี้แทนลูกหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน ดังนั้นหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถเข้ามาช่วยลดภาระในการอ้างสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้แทนลูกหนี้ รวมถึงยังสามารถลดปัญหาข้อพิพาทและการพิสูจน์เอกสารได้เนื่องจากการออกหนังสือค้ำประกันผ่านระบบบล็อกเชน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบและอนุมัติธุรกรรมนั้นก่อนข้อมูลจึงจะถูกบันทึกลงบนระบบบล็อกเชน ทำให้โอกาสในการทุจริตหรือปลอมแปลงเอกสารทำได้ยากและยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของทุกฝ่าย | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.174 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ค้ำประกัน | en_US |
dc.subject | การชำระหนี้ | en_US |
dc.title | หนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์กับภาระในการอ้างสิทธิของธนาคารพาณิชย์ | en_US |
dc.type | Independent Study | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | กฎหมายเศรษฐกิจ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject.keyword | หนังสือค้ำประกัน | en_US |
dc.subject.keyword | ผู้ค้ำประกัน | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.IS.2022.174 | - |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6480248534.pdf | 6.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.