Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82168
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์-
dc.contributor.authorสุชาภา อัศวเลิศพลากร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-06-02T03:05:55Z-
dc.date.available2023-06-02T03:05:55Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82168-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565en_US
dc.description.abstractเอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการกำกับดูแลธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารในประเทศไทย และศึกษาแนวทางกำกับดูแลธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารในประเทศสหรัฐอเมริกา (รัฐแคลิฟอร์เนีย) และประเทศสิงคโปร์ เพื่อนำมาตรการที่ศึกษาได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อเป็นแนวทางดำเนินการในการกำกับดูแลธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารที่บ้านในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายกำกับดูแล เป็นการเฉพาะ มีแต่กฎหมายสำหรับธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารที่เป็นการทั่วไป หากจะประกอบธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารที่บ้านต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ เนื่องจากไม่มีกฎหมายเป็นการเฉพาะที่รวบรวมอยู่ในฉบับเดียว และพบว่ากฎหมายที่กำกับดูแลนั้นยังไม่ครอบคลุมและสอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารที่บ้าน ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการขออนุญาต ประกอบธุรกิจ และปัญหาด้านสุขลักษณะอนามัยซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค จากการศึกษาการกำกับดูแลธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสิงคโปร์ ผู้เขียนได้แนวทางการปฏิบัติที่สามารถนำมาปรับใช้กับประเทศไทยได้ ทั้งด้านของการกำหนดกฎหมาย ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะสำหรับธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหาร การใช้เทคโนโลยีเข้ามาจัดการในการขออนุญาตและลงทะเบียนประกอบ ธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหาร และการกำกับดูแลสุขลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ สุขลักษณะของสถานที่ประกอบและจำหน่ายอาหาร สุขลักษณะของอาหาร การประกอบอาหารและการจำหน่ายอาหาร สุขลักษณะของภาชนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่สอดคล้องและเหมาะสมกับธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหาร ทำให้ การกำกับดูแลของรัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการส่งเสริมให้ผู้ที่ต้องการประกอบธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารที่บ้านมีสุขลักษณะอนามัยที่ดีในการประกอบอาหาร ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับบริโภคอาหารที่ ถูกสุขลักษณะอนามัยและลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากการบริโภคอาหารen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.176-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectธุรกิจ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectบริการอาหาร -- สุขาภิบาล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.titleการกำกับดูแลธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารที่บ้านในประเทศไทยen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subject.keywordธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารที่บ้านen_US
dc.subject.keywordโควิด 19en_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2022.176-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480250734.pdf749.92 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.