Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82179
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาร์ม ตั้งนิรันดร | - |
dc.contributor.author | ชิวเย่ว เหว่ย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-06-23T08:34:32Z | - |
dc.date.available | 2023-06-23T08:34:32Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82179 | - |
dc.description | เอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 | en_US |
dc.description.abstract | เอกัตศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์และการศึกษาหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริต(Duty of loyalty)ของกรรมการภายใต้กฎหมายบริษัทแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อทำความเข้าใจกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการจีนและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาทางกฎหมายต่อผู้ถือหุ้นและนักลงทุน และเพื่อให้ทราบถึง ความรับผิดของกรรมการ หน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการในทางกฎหมาย ผลบังคับใช้ทางกฎหมาย และหน้าที่ในการรับผิดชดเชย หวังว่าเอกัตศึกษานี้จะสามารถให้คำแนะนำและแนวทางในการบริหารกรรมการและบริษัท และหวังว่าจะมีความสำคัญในการอ้างอิงสำหรับนักลงทุนหรือผู้ประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะนักลงทุนหรือผู้ประกอบธุรกิจของไทย เมื่อกฎหมายข้อกำหนดต่างๆที่ใช้ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจของบริษัทนั้นได้ค่อยๆ พัฒนามาจนมีความสมบูรณ์มากขึ้น อำนาจในการควบคุมบริษัทโดยรวมและอำนาจในการบริหารกิจการนั้นได้แบ่งแยกออกจากกัน ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องธรรมาภิบาลของบริษัทไปแล้ว ในที่นี้หมายถึงอำนาจของผู้ที่ออกเงินทุนให้กับบริษัทและที่ประชุมผู้ถือหุ้นนั้นแยกส่วนออกจากที่ประชุมคณะกรรมการอันเป็นผู้บริหารบริษัทและชั้นผู้จัดการด้วย ดังนั้น เรื่องหน้าที่ของกรรมการและอำนาจบริหารจึงเป็นหัวข้อที่ควรค่าแก่การวิเคราะห์และขบคิดอย่างลึกซึ้ง เพื่อการควบคุมหน้าที่ของกรรมการเพื่อให้บริษัทได้ประโยชน์สูงสุด กฎหมายบริษัทจีนได้อ้างอิง“หลักการผลประโยชน์ทับซ้อน”จากประเทศอังกฤษเพื่อนำมาปรับใช้กับกฎหมายบริษัทจีน และตั้งหลักการหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการ หลักการนี้มาจากกฎหมายทรัสต์อันเก่าแก่ของประเทศอังกฤษ ซึ่งหมายความว่าผู้รับมอบหมายนั้นไม่อาจจะแสวงหาประโยชน์จากผู้มอบหมาย ให้กระทำการใด เขาจะกระทำการได้แค่เพื่อผลประโยชน์ของผู้รับประโยชน์และตัวแทนของผู้รับประโยชน์เท่านั้น หากว่าผู้รับมอบหมายนั้นละเมิดกฎก็ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าสำหรับกฎหมายบริษัทจีน บทสรุป หน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตเป็นข้อกำหนดของจรรยาบรรณของกรรมการ เมื่อกรรมการมีความขัดแย้งกับผลประโยชน์ของบริษัท ผลประโยชน์ของบริษัทต้องมาก่อนเสมอ งานวิจัยฉบับนี้ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการบริษัทจีน หลังจากการวิเคราะห์และการศึกษากฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการในประเทศจีนแล้ว สรุปได้ว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการในประเทศจีนยังมีข้อบกพร่องอยู่ ข้อบกพร่องอยู่หลักสามารุสรุปได้ดังต่อไปนี้ (1) กฎบางประการขาดผลทางกฎหมายหากมีการฝ่าฝืนกฎหมาย กฎหมายมีโครงสร้างและลำดับชั้นที่เข้มงวด และกฎหมายที่ครอบคลุมควรประกอบด้วยสันนิษฐาน การปฏิบัติ และการลงโทษ สามประการนี้ขาดไม่ได้ หากขาดส่วนใดไป ผลของกฎหมายจะลดลงอย่างมาก จนไม่สามารถบรรลุบทบาทเชิงบรรทัดฐานในอุดมคติได้ หากกฎหมายมีเพียงข้อกำหนดที่ห้ามเท่านั้นและขาดข้อกำหนดในเชิงปฏิบัติจริง กฎหมายนั้นย่อมไม่สมบูรณ์และสามารถถือเป็นผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปได้เท่านั้น (2) กฎหมายบางประการกำหนดไม่ชัดเจน ซึ่งส่งผลให้ศาลสามารถตัดสินคดีด้วยดุลพินิจและไม่มีข้อกฎหมายมารับรอง แต่ละศาลอาจมีการตีความกฎหมายที่แตกต่างกันในคดีเดียวกัน ซึ่งอาจนำไปสู่การพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรมและเกิดความวุ่นวายในสังคมได้ พร้อมกันนี้ควรเรียนรู้จากมาตรการกฎหมายที่มีประสิทธิภาพจากต่างประเทศเพื่อเสริมสร้างการจัดหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการ ออลิเวอร์ เวนเดล โฮล์มส์ (Oliver Wendell Holmes ) ผู้พิพากษาที่มีเชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกาเคยกล่าวไว้ว่า "ชีวิตของกฎหมายไม่ได้อยู่ที่ตรรกะ แต่ปรากฏอยู่ที่ประสบการณ์ต่างหาก" (the life of the law has not been logic, it has been experience) ในกระบวนการแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายบริษัทอย่างต่อเนื่อง กฎหมายบริษัทไม่เพียงแต่อยู่ในระดับทฤษฎีและบทบัญญัติทางกฎหมายเท่านั้น แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ การตีความ พัฒนา และสร้างสรรค์ "กฎหมายบนกระดาษ" ตามสถานการณ์จริงระหว่างการพิจารณาคดี เพื่อให้กลายเป็น”กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน” ดังนั้น ประเทศจีนจึงต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการ เพื่อให้กฎหมายบริษัท มีความสอดคล้องและใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็ยังทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจราบรื่นขึ้น แม้ว่ากฎหมายปัจจุบันที่เกี่ยวกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการยังไม่สมบูรณ์แบบ แต่เชื่อว่ากฎหมายนั้นจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ในอนาคต ผลที่ตามมาก็คือ ผู้พิพากษาจะเกิดความซับซ้อนเมื่อพิจารณาคดี และจำเป็นต้องพิจารณาคดีตามดุลพินิจของตนเอง จึงสมควรที่จะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.142 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การขัดกันแห่งผลประโยชน์ | en_US |
dc.subject | กฎหมายบริษัท | en_US |
dc.title | วิเคราะห์และศึกษาหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริต (Duty of loyalty) ของกรรมการภายใต้กฎหมายบริษัทแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน | en_US |
dc.type | Independent Study | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | กฎหมายเศรษฐกิจ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject.keyword | ผลประโยชน์ทับซ้อน | en_US |
dc.subject.keyword | หน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริต | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.IS.2022.142 | - |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6480203234.pdf | 585.06 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.