Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/821
Title: ความคุ้มกันของผู้นำรัฐกับอาชญากรรมระหว่างประเทศ : ศึกษากรณีคดีพลเอกออกุสโต ปิโนเช่
Other Titles: Sovereign immunity and international crimes : a study of the General Augusto Pinochet case
Authors: ศรันยา สีมา, 2520-
Advisors: สุผานิต เกิดสมเกียรติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: ปิโนเชต์, ออกุสโต, ค.ศ. 1915-
กฎหมายระหว่างประเทศ
อาชญากรรมข้ามชาติ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อาชญากรรมระหว่างประเทศนั้น เป็นการกระทำความผิดอาญาอย่างร้ายแรง และส่งผลกระทบต่อสังคมระหว่างประเทศโดยรวม กฎหมายระหว่างประเทศจึงได้กำหนดให้รัฐต่างๆ ในสังคมระหว่างประเทศมีพันธกรณี ทั้งตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ และตามข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยรัฐสามารถใช้ดุลอาณาของรัฐตามหลักสากล ในการดำเนินคดีและลงโทษผู้กระทำอาชญากรรมนั้นได้ แม้รัฐนั้นจะไม่มีจุดเกาะเกี่ยวใดกับการกระทำอาชญากรรมนั้นเลย และยังสามารถดำเนินการส่งตัวผู้กระทำอาชญากรรมนั้น ข้ามแดนไปยังรัฐอื่นที่ประสงค์ จะดำเนินคดีกับผู้กระทำอาชญากรรมนั้นได้ ไม่ว่าผู้กระทำอาชญากรรมนั้นจะเป็นผู้นำรัฐก็ตาม ตามหลัก Aut Dedere Aut Judicare แต่เนื่องจากผู้นำรัฐนั้นได้รับการยอมรับว่า เป็นบุคคลที่มีลักษณะพิเศษและได้รับความคุ้มกัน จากการใช้ดุลอาณาของรัฐอื่น ในฐานะที่เป็นอธิปัตย์ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศ หลักความคุ้มกันของผู้นำรัฐนี้ จึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้ไม่สามารถนำตัวผู้นำรัฐมาดำเนินคดีและลงโทษ ในการกระทำอาชญากรรมระหว่างประเทศได้ นอกเหนือจากปัญหาที่เกิดจากการขาดหรือความไม่เพียงพอ ของบทบัญญัติของกฎหมายภายใน ปัญหาการแทรกแซงทางการเมือง และปัญหาที่เกิดจากประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมภายในรัฐ เนื่องจากไม่มีความชัดเจนเพียงพอ ดังเช่นในกรณีการดำเนินคดีกับพลเอกออกุสโต ปิโนเช่ อดีตผู้นำของประเทศชิลีโดยศาลภายในของรัฐต่างๆ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าหลักความคุ้มกันของผู้นำรัฐ เกี่ยวกับอาชญากรรมระหว่างประเทศนั้น จะมีความชัดเจนมากขึ้นในปัจจุบัน โดยผลของธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น ความชัดเจนนี้คงมีแต่เพียงเฉพาะกรณีของอาชญากรรมรุกราย อาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และอาชญากรรมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เท่านั้น ไม่รวมถึงกรณีอาชญากรรมข้ามชาติด้วย หลักความคุ้มกันของผู้นำรัฐจึงยังคงเป็นปัญหา สำหรับการดำเนินดคีกับผู้นำรัฐอยู่ต่อไป ซึ่งในการศึกษาวิจัยนี้จะได้เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคในการนำตัวผู้นำรัฐมาดำเนินคดีและลงโทษ ดังที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อให้สามารถนำตัวผู้นำรัฐ ที่กระทำอาชญากรรมระหว่างประเทศ มาดำเนินคดีและลงโทษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้การปราบปรามอาชญากรรมระหว่างประเทศ เป็นไปอย่างมีประสิทธิผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
Other Abstract: International crimes are severe criminal offences and effected to the international community as a whole. International law therefore determines States, in the international community to be obliged to the international customary laws and international agreements. States can exercise their universal jurisdiction over the international crimes regardless their links with such crimes. Moreover, States can extradite the offenders, even Head of States, to another State intending to prosecute them, these are under the principle of Aut Dedere Aut Judicare. According to the international law, the Head of States have the special status : the sovereign immunity, which is the important obstacle to prosecute and punish the Head of States who commits the international crimes. Other obstacles are the absence or inadequate of municipal legislation, the politic interference, and the unefficiency of the domestic administration of justice. These obstacles are clearly shown in the prosecution of General Augusto Pinochet, the former President of Chile, in domestic courts. Now the effect of the Rome Statute of International Criminal Court 1998, the sovereign immunity is more clearly stipulated, such statute is only limited to War Crimes, Crimes against humanity, Genocide and Aggression, not to the transnational crimes. Thus, the sovereign immunity is still the problem for prosecuting the Head of states. This research is therefore given to provide the readers with suggestion for solutions to the aforementioned problems for the purpose of the effciency of prosecution and punishment to the Head of States committing the international crimes these make the elimination of such crimes more effectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/821
ISBN: 9741724209
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarunya.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.