Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82245
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นงนภัส เจริญพานิช | - |
dc.contributor.author | ธนโชติ เพิ่มเติม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.date.accessioned | 2023-08-04T04:28:18Z | - |
dc.date.available | 2023-08-04T04:28:18Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82245 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาผลของการฝึกในรูปแบบแอโรบิกในสภาวะออกซิเจนต่ำความดันบรรยากาศปกติเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ที่มีต่อรูปแบบการขยายทรวงอกในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลกลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬารักบี้ชาย อายุ 18-25 ปี จาก ชมรมรักบี้ฟุตบอลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 10 คน โดยผู้วิจัยเป็นผู้คัดกรองกลุ่มตัวอย่างด้วยตนเองโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purpostive sampling) ในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง และใช้วิธีการการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ค่าสมรรถภาพในการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2 max) และตำแหน่งของผู้เล่นในการแบ่งกลุ่มตัวอย่าง โดยให้แต่ละกลุ่มมีจำนวนผู้เล่นในตำแหน่งการเล่น และค่าเฉลี่ยสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดในแต่ละกลุ่มที่ใกล้เคียงกัน กลุ่มที่ 1 ฝึกที่ระดับออกซิเจนปกติ (20.93%) และ กลุ่มที่ 2 ฝึกที่ระดับออกซิเจนต่ำ (14.5% - 15%) ที่ความดันบรรยากาศปกติทั้ง 2 กลุ่ม ฝึกโดยการวิ่งบนลู่กลในห้องจำลองสภาวะออกซิเจนต่ำ (ATS-5HKP 750 SYSTEM, Australia) ตามโปรแกรมกำหนด ก่อนและหลังการฝึก 6 สัปดาห์ วิเคราะห์รูปแบบการขยายทรวงอกขณะหายใจโดยใช้โปรแกรม Qualisys Track Manager (QTM) จากตำแหน่งมาร์คเกอร์ 30 จุด บนทรวงอก นำคู่ลำดับของตำแหน่งทั้ง 30 จุดมาคำนวณปริมาตรทรวงอกบนพื้นฐานทางเรขาคณิต ได้ปริมาตรทรวงอกขณะหายใจ 4 ส่วนคือ ทรวงอกส่วนบน (UL) ทรวงอกส่วนล่าง (LL) ช่องท้องส่วนบน (UA) และช่องท้องส่วนล่าง (LA) และปริมาตรโดยรวม (TO) โดยแสดงผลเป็นค่า Tidal Volume (TV), Vital Capacity (VC), Inspiratory Capacity (IC), Expiratory Reserve Volume (ERV) และ Total Lung Capacity (TLC) และค่าอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2max) จากนั้นนำค่าที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม โดยใช้ Independent t-test (t) หรือ Mann Whitney U test (U) เปรียบเทียบภายในกลุ่มการฝึกโดยใช้ Pair t-test (t) หรือ Wilcoxon sign rank โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการฝึก ในกลุ่มที่ 1 พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของค่า TV ในส่วนของ LA, และค่า TLC ในส่วนของ UL แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของค่า VO2max ขณะที่ ในกลุ่มที่ 2 พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของ ค่า ERV ในส่วนของ UA และค่า TLC ในส่วนของ LL, UA, LA และ TO UL แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของค่า VO2max และ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของทุกตัวแปรเมื่อเปรียบเทียบก่อนฝึก ขณะที่หลังการฝึกพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของ ค่า TV ในส่วนของ UL, ค่า VC ในส่วนของ UA, ค่า IC ในส่วนของ UA และ ค่า ERV ในส่วนของ TO แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของค่า VO2max สรุปผลการวิจัย การฝึกแบบแอโรบิกเป็นเวลา 6 สัปดาห์ในสภาวะออกซิเจนต่ำ ความดันบรรยากาศปกติ มีผลต่อรูปแบบการขยายทรวงอกโดยมีการเพิ่มปริมาตรปอดส่วนบนของ TV และเพิ่มปริมาตรปอดส่วนล่างของ VC โดยมีการเพิ่มปริมาตรปอดส่วนล่างของ IC และส่งผลให้ปริมาตรของปอดส่วนล่างเพิ่มมากขึ้นแต่ปริมาตรปอดโดยรวมของ ERV น้อยลง อย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ปริมาตรของ TLC พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของปริมาตรของปอดส่วนล่างหลังจากออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นเวลา 6 สัปดาห์ แต่ยังไม่ได้ส่งผลให้เกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการพัฒนาค่า VO2max | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to study the effects of aerobic training in hypoxic normobaric conditions for 6 weeks on chest expansion patterns. The participants were separated into 2 groups (9 each) group 1 was trained in normoxic (20.93%), and group 2 in hypoxic (14.5%-15%), both groups were trained in normobaric conditions. All participants were trained by running on a treadmill in a hypoxic training room (ATS-5HKP 750 SYSTEM, Australia) according to the training program. Each participant was analyzed chest expansion pattern, pre and post-training, by using Qualisys Track Manager from coordination of 30 chest markers and calculated chest volume based on a geometric shape. Four parts of chest volume; Upper Lung (UL), Lower Lung (LL), Upper abdomen (UA) and Lower Abdomen (LA) and Total Part (TO), were shown in Tidal Volume (TV), Vital Capacity (VC), Inspiratory Capacity (IC), Expiratory Reserve Volume (ERV) and Total Lung Capacity (TLC). The Independent t-test or Mann Whitney U test (U) was used to compare between groups and Pair t-test (t) or Wilcoxon sign rank to group comparison by determining the level of significance at p-value ≤ 0.05. The results after group comparison showed a significant difference between group 1(normoxic) of TV at LA, and TLC at UL, but did not show a significant difference in VO2max and group 2 (hypoxic) showed a significant difference in ERV at UA, TLC at LL, UA, LA, and TO, but did not show a significant difference of VO2max. After comparison between groups did not show a significant difference for all variables when compared before training. While after the training, there was a significant difference in TV at UL, VC at UA, IC at UA, and ERV at TO, , but not showed significant difference in VO2max therefore, can conclude that aerobic training in hypoxic normobaric condition for 6 weeks can change chest expansion pattern by there was an increase in the upper lung volume of TV and an increase in the lower lung volume of VC, with an increase in the lower lung volume of the IC and resulted in an increase in the lower lung volume but a decrease in the total lung volume of ERV. significant While TLC volumes showed a significant difference in lower lung volumes after 6 weeks of aerobic exercise, It did not result in a significant difference in the development of values. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.759 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Health Professions | - |
dc.subject.classification | Human health and social work activities | - |
dc.title | ผลการฝึกแบบแอโรบิกในสภาวะออกซิเจนต่ำความดันบรรยากาศปกติที่มีต่อรูปแบบการขยายทรวงอกในนักกีฬารักบี้ฟุตบอล | - |
dc.title.alternative | Effects of aerobic training in normobaric hypoxic conditionon chest expansion pattern in rugby players | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2022.759 | - |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6270008839.pdf | 6.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.