Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82247
Title: ผลของการฝึกสปีดแลดเดอร์ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวและสมรรถนะการทำกิจกรรมในผู้สูงอายุ
Other Titles: Effects of speed ladder training on agility and functional performance in older adults
Authors: ธีรศักดิ์ จันทร์ประโคน
Advisors: นภัสกร ชื่นศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการฝึกสปีดแลดเดอร์ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวและสมรรถนะการทำกิจกรรมในผู้สูงอายุ วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรง อายุ 60-70 ปี จำนวน 36 คน อายุเฉลี่ย 63.94±2.90 ปี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฝึกสปีดแลดเดอร์จำนวน 18 คน (ชาย 1 คน) และกลุ่มควบคุมจำนวน 18 คน (ชาย 1 คน) โดยทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามช่วงอายุ เพศ และความสามารถในก้าวเท้าเป็นสี่เหลี่ยม (Four square step test) กลุ่มฝึกสปีดแลดเดอร์ (Speed ladder group) ทำการฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุม (Control group) ให้ดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ ก่อนและหลังการฝึก 8 สัปดาห์ ทำการทดสอบตัวแปร ทางสรีรวิทยาทั่วไป ความคล่องแคล่วว่องไว เวลาปฏิกิริยา ความเร็วในการเดิน การทรงตัว สมรรถภาพทางกายและสมรรถนะในการทำกิจกรรม ใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรต่าง ๆ ระหว่างกลุ่มที่ฝึกสปีดแลดเดอร์ และกลุ่มควบคุม เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการฝึกของแต่ละกลุ่ม ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ [Two-way ANOVA repeated measurement (2x2)] และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีทดสอบของแอลเอสดี (LSD) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย: หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มฝึกสปีดแลดเดอร์มีความความคล่องแคล่วว่องไว เวลาปฏิกิริยา ความสามารถทางแอโรบิก ความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อรยางค์บนและล่าง ความเร็วในการเดิน การทรงตัวขณะอยู่นิ่งขณะยืนสองขาและยืนขาเดียว การทรงตัวขณะเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และมีอัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวขณะพัก เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และมีความความคล่องแคล่วว่องไว เวลาปฏิกิริยา ความเร็วในการเดิน การทรงตัวขณะอยู่นิ่งขณะยืนสองขาและยืนขาเดียว การทรงตัวขณะเคลื่อนไหว ความสามารถทางแอโรบิก ความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อรยางค์บนและล่างมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 นอกจากนี้การฝึกสปีดแลดเดอร์มีคะแนนความสนุกสนานของการออกกำลังกายอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด สรุปผลการวิจัย: การฝึกสปีดแลดเดอร์สามารถนำมาใช้ในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุได้ มีความปลอดภัย และช่วยพัฒนาความคล่องแคล่วว่องไว เวลาปฏิกิริยา การทรงตัว สมรรถภาพทางกายและสมรรถนะในการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี รวมทั้งมีความสนุกสนานในการฝึกเป็นอย่างมาก ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกอยากออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องต่อไปอีกด้วย
Other Abstract: Purpose: To investigate effects of speed ladder training on agility and functional performance in older adults Methods: Thirty six healthy older adults, aged between 63.94±2.90 years, were participated in this study. They were matched by sex, age and four-square step test and were divided into the speed ladder training group (n=18; male=1), which performed speed ladder training 3 sessions/week for 8 weeks, or the control group (n=18; male=1), which received no intervention. General characteristic, agility, reaction time, gait speed, static and dynamic balance, physical fitness and functional performance were measured before and after 8 weeks of the study. The 2x2 (Group x Times) ANOVA repeated measurement followed by Fisher's least significant difference (LSD) multiple comparison was used to determine the significance difference in all variables before and after training. The statistical significance level was set at <.05 Results: After 8 weeks, the speed ladder training group demonstrated significant improvement in agility, reaction time, aerobic capacity, upper and lower muscle strength and endurance, gait speed, static and dynamic balance. Moreover, fat percentage, resting heart rate and systolic blood pressure of the speed ladder training group were significantly lower than the control group. They also had significantly higher agility, reaction time, aerobic capacity, upper and lower muscle strength and endurance, gait speed, static and dynamic balance than the control group. Physical activity enjoyment scale is at the highest level of pleasure while training with the speed ladder. Conclusion: Speed ladder training is feasible for older adults and could be an effective intervention for improving agility, reaction time, balance, physical fitness and functional performance. The speed ladder program also had high level of enjoyment which could promote exercise adherence in older adults.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82247
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.835
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.835
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270012239.pdf10.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.