Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82256
Title: การพัฒนาเข็มขัดชี้นำทางการมองเห็น และการได้ยินสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน
Other Titles: Developments of visual and auditory cue belts for people with Parkinson’s disease
Authors: ศุภรดา วงศ์วัฒนนาถ
Advisors: สุรสา โค้งประเสริฐ
รุ่งโรจน์ พิทยศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบ และพัฒนาเข็มขัดชี้นำทางการมองเห็น และการได้ยินสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน และเพื่อศึกษาผลของเข็มขัดชี้นำทางการมองเห็น และการได้ยินต่อการเดินติด และตัวแปรการเดินในผู้ป่วยพาร์กินสัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ทั้งเพศชาย และเพศหญิง จำนวนทั้งสิ้น 11 คน อายุ 40–85 ปี มีระดับ Modified Hoehn and Yahr Scale อยู่ที่ 2 ถึง 3 ทำการจับฉลากเพื่อให้กลุ่มตัวอย่างทดลองใช้เครื่องมือ โดยแบ่งเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้ ไม่มีตัวชี้นำ (No cue) ตัวชี้นำทางการมองเห็น (Visual cue) ตัวชี้นำทางการได้ยิน (Auditory cue) และตัวชี้นำผสม (Mix cues) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างต้องทำครบทั้ง 4 รูปแบบ จากนั้นกลุ่มตัวอย่างดำเนินการทดสอบโดยใช้เครื่องมือเข็มขัดชี้นำทางการมองเห็น และการได้ยิน (Visual and auditory cue belts) ทำการเก็บข้อมูลการเดินติด (Freezing of gait, FOG) และตัวแปรการเดิน (Gait parameters) ได้แก่ ร้อยละของเวลาในการเกิดการเดินติด (Percent time spent freezing) ความยาวก้าว (Step length) แบ่งเป็น ความยาวก้าวแรก (First step length) และความยาวก้าวที่สอง (Second step length) ความกว้างก้าว (Step width) ความเร็วในการเดิน (Speed) และความถี่ในการเดิน (Cadence) ขณะใช้ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิดวัดซ้ำ (Repeated measure ANOVA) จาก Mauchly's test of Sphericity ต่อด้วยแปลผล Tests of Within-Subject effects เมื่อพบความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบรายคู่ (Pairwise comparison) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบไม่มีตัวชี้นำ (No cue) มีร้อยละของเวลาในการเกิดการเดินติด (Percent time spent freezing) ที่มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบตัวชี้นำทางการมองเห็น (Visual cue), ตัวชี้นำทางการได้ยิน (Auditory cue) และตัวชี้นำผสม (Mix cues) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในส่วนของตัวแปรการเดิน (Gait parameters) พบว่า มีการเพิ่มขึ้นของความยาวก้าว (Step length), ความเร็วในการเดิน (Speed) และการลดลงของความถี่ในการเดิน (Cadence) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างรูปแบบตัวชี้นำทางการมองเห็น (Visual cue), ตัวชี้นำทางการได้ยิน (Auditory cue) และตัวชี้นำผสม (Mix cues) กับรูปแบบไม่มีตัวชี้นำ (No cue) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการวิจัย การใช้เข็มขัดชี้นำทางการมองเห็น และการได้ยินในรูปแบบต่างๆ สามารถลดการเกิดการเดินติด และเพิ่มประสิทธิภาพของตัวแปรการเดินในผู้ป่วยพาร์กินสันได้
Other Abstract: The purposes of this study were to study the developments of visual and auditory cue belts and effect on the percent time spent freezing and gait parameters for people with Parkinson’s disease. Eleven patients with Parkinson's disease (age 40–85 years old) are both male and female who had  Modified Hoehn and Yahr Scale 2 to 3. The samples were drawn for testing divided into 4 conditions; No cue, visual cue, auditory cue and mixed cues which the samples must complete all 4 conditions. Samples were tested using visual and auditory cue belts to collect freezing of gait (FOG) and gait parameters, i.e. percent time spent freezing, first step length, second step length, step width, speed and cadence. Data was analyzed using mean and standard deviation, repeated measure ANOVA was applied to examine variation within subject from Mauchly's test of Sphericity followed by interpreting the Tests of Within-Subject effects. Comparison between conditions by pairwise comparison. The level of statistical significance was 0.05. The results showed that no cue significantly increased percent time spent freezing compared to visual cue, auditory cue and Mix cues (p<0.05). Gait parameters significantly increased first step length, second step length, speed and reduced cadence when compared between visual cue, auditory cue, and mixed cues to no cue (p<0.05). The present findings demonstrated that visual and auditory cue belts has reduce percent time spent freezing and improve gait parameters among people with Parkinson’s disease.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82256
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.768
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.768
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370021039.pdf13.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.