Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82323
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนราพงษ์ จรัสศรี-
dc.contributor.authorวนศักดิ์ ผดุงเศรษฐกิจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T05:50:34Z-
dc.date.available2023-08-04T05:50:34Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82323-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อแสวงหารูปแบบนาฏยศิลป์ที่สร้างสรรค์จากตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่ และเพื่อค้นหาแนวคิดที่ได้หลังจากการปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ มีลักษณะเป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์และเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ สื่อสารสนเทศ ข้อมูลภาคสนาม การสังเกตการณ์ผลงานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ การสัมมนา และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ การปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ และสรุปผล ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์โดยใช้ตำนานนกกิ่งกะหร่าเพื่อสื่อสารความเชื่อความศรัทธาของชาติพันธุ์ไทใหญ่กับพระพุทธศาสนา สามารถจำแนกตามองค์ประกอบการแสดงได้ 8 ประการ 1) บทการแสดงที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยผสมผสานตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่ และเรื่องชาติภพทั้ง 5 ของพระพุทธเจ้าในการกำเนิดเป็นนกกิ่งกะหร่า 2) นักแสดงมีคุณสมบัติในการเคลื่อนไหวร่างกายที่หลากหลายตามทักษะความชำนาญของตนเอง 3) ลีลาที่นำเสนอผ่านการฝึกปฏิบัติวิธีการแสดงแบบเดอะเมธอด (The Method of Acting) 4) เครื่องแต่งกายที่แสดงถึงบุคลิกภาพของนกกิ่งกะหร่าทั้ง 5 ตัว ตามแนวคิดเรื่องศีล 5 ข้อ 5) ดนตรีและเสียงประกอบที่ใช้ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือด้นสดกับสถานการณ์ในการแสดง และการขับเพลงพื้นบ้านภาคเหนือเล่าเรื่องตำนานนกกิ่งกะหร่า 6) อุปกรณ์ประกอบการแสดงที่เน้นการใช้ร่างกายเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบต่าง ๆ ของนักแสดงเพื่อสื่อสารประเด็นสำคัญของเรื่อง 7) พื้นที่การแสดงที่กำหนดความหมายเป็นสถานที่ต่าง ๆ ในการแสดงได้แก่ สถานที่ไร้กาลและเวลา ป่าหิมพานต์ และท้องฟ้า 8) แสงที่ใช้แนวคิดทางทัศนศิลป์ และสัญวิทยาออกแบบเสียงให้ที่สามารถสื่อสารความคิดและสถานการณ์ของตัวละครให้เกิดความชัดเจน นอกจากนี้ ในด้านการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ยังได้ให้ความสำคัญใน 6 ประเด็น 1) แนวคิดจากตำนานนกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่ 2) แนวคิดเกี่ยวกับชาติพันธุ์กับอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ไทใหญ่ 3) แนวคิดที่เกี่ยวกับรากฐานความคิดความเชื่อและศิลปวัฒนธรรม 4) แนวคิดสัญวิทยา 5) แนวคิด การแสดงเดอะเมธอด (The Method of Acting) และ 6) แนวคิดทางทัศนศิลป์-
dc.description.abstractalternativeThe thesis aimed to discover the dancing art patterns which were created from the Thai Yai’s legend of the Kingkara bird, and to discover the concept gained after the operation of creating the dancing art performance. The thesis was a creative and qualitative research. The researching tools were examining documentary information, interviewing experts, information media, field data, observation of the dancing art creation, seminars, and the researcher’s personal experiences. The studied data were analyzed, synthesized, operated in the form of the dancing art performance creation, and summarized respectively.  The result has found that, in creating the dancing art performance by using the legend of the Kingkara’s bird to communicate the Thai Yai ethnic’s belief and faith in Buddhism, the performing elements could be divided into 8 items as follows: 1) Performing script was recreated by integrating the Thai Yai’s legend of the Kingkara bird and the 5 incarnations of Buddhist in being born as the Kingkara bird, 2) The performers possessed various body moving skills according to their own abilities and area of expertise, 3) The performing style was presented through the method of acting training workshop, 4) The costumes displayed the characteristics of the 5 Kingkara birds regarding to the 5 precepts concept, 5) Music and soundtracks were created using the Northern local music improvised with the performing situations, together with the singing of Northern local songs narrating the legend of the Kingkara bird, 6) The performing property was concentrated on using the performers’ body movements in diverse patterns to communicate the key issues of the story, 7) The performing areas identified the meaning of each places in the performance namely the timeless place, the Himmapan forest, and the sky, and 8) The lighting was composed using the concept of visual art and semiology in creating sounds which were able to clearly communicate thoughts and situations of characters. In addition,  in creating the dancing art performance, the significances were placed on 6 aspects; 1) The concept from the Thai Yai’s legend of the Kingkara’s bird, 2) The concept regarding Thai Yai’s ethnicity and identity, 3) The concept of the foundation of thoughts, beliefs, art and culture,4 ) The concept of semiology, 5) The concept of the Method of Acting, and 6) The concept of visual art.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1362-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.subject.classificationBusiness-
dc.subject.classificationArts, entertainment and recreation-
dc.titleการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่-
dc.title.alternativeThe creation of a dance from Keinnara in Tai Yai’s folk tale-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineศิลปกรรมศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.1362-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5986857035.pdf16.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.