Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82330
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์-
dc.contributor.authorกิตติพงษ์ อินทรัศมี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T05:50:36Z-
dc.date.available2023-08-04T05:50:36Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82330-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์การแสดงละครเพลงพื้นบ้าน(ภาคกลาง) จากกระบวนการสร้างชุดแบบฝึกทักษะการด้นสำหรับนักแสดงละครเพลงพื้นบ้าน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยมุ่งเน้นศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ภาพถ่าย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การสังเกตการณ์ การฝึกปฏิบัติ การสนทนากลุ่มย่อย นำมาวิเคราะห์เพื่อศึกษาแนวทางการฝึกทักษะนักแสดง และดำเนินการทดลองใช้แบบฝึกหัดพัฒนาทักษะการด้น ตลอดจนดำเนินการพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข ทดลองสร้างสรรค์การแสดงรูปแบบละครเพลงพื้นบ้านจำนวน 5 ชุด ผลจากการวิจัยพบว่า นวัตกรรมการแสดงละครเพลงพื้นบ้าน แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนการให้ความรู้ หลักการ และแนวคิดการด้นในศิลปะการละครและเพลงพื้นบ้าน 2) ขั้นตอนการพัฒนาทักษะและทดลองแบบฝึกหัดการด้น แบ่งเป็นชุดแบบฝึกหัดการด้นในศิลปะการละคร จำนวน 5 ชุด คือ บทบาทสมมติ สถานการณ์คับขัน จำลองปะทะ นิทานอารมณ์ ส่องกระจกแล้วย้อนดูเรา  และการด้นในเพลงพื้นบ้าน จำนวน 5 ชุด คือ ชื่อกับคำสัมผัส นิทานคล้องจอง สัญญะอวัยวะ สถานการณ์กลอนสด โครงเรื่องกับกลอนปฏิภาณ 3) ขั้นตอนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และ4) ทดลองสร้างสรรค์การแสดงรูปแบบละครเพลงพื้นบ้านโดยใช้ทักษะการด้นร้องเพลงพื้นบ้านดำเนินเรื่องราว ผลการวิจัยยังพบว่า ผู้เข้าร่วมกระบวนการฝึกทักษะการด้นเพลงพื้นบ้าน จำนวน 30 คน มี 2 คน สามารถร้องด้นได้อย่างแคล่วคล่อง และมีไหวพริบปฎิภาณ ปัจจัยหลักที่นักแสดงส่วนใหญ่ไม่สามารถร้องด้นได้อย่างแคล่วคล่อง คือทักษะการฟัง คลังคำ และความแม่นยำของฉันทลักษณ์-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this thesis is to create a folk musical performance (central region) from the process of constructing exercise for improvisation skills for folk musical performers.The methodology is qualitative research, which the researcher focuses on academic papers, interviews, photographs, electronic media, observation, small group discussion so as to analyse the methods for training actors'skills.Then the experiment to develop improvisation skills, enhance, correct, is conducted five folk musical performance.The results that the innovation of folk musical performances was divided into 4 stages: 1)giving knowledge, principles and concepts of improvisation in drama and folk songs. 2)developing skill and experimenting improvisation exercises by dividing into 2 fields namely dramatic arts and folk songs. The improvisation exercises with regard to dramatic arts are divided into 5 sets: role play, critical situation, simulation, emotional story, self reflection. And those for folk songs are: name and rhyme word, rhyming tale, organ sign, improvised situation, plot and witly poem. 3)exchanging experiences. and 4)experimenting with creating folk musical performances. The study also finds that 2 of 30 participants are able to improvise their singing more adroitly and wittily. The main factors resulting on an awkward and ungain improvised singing of there participants are: listenning skill word assets and accuracy of versification.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.590-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.subject.classificationArts, entertainment and recreation-
dc.subject.classificationFine arts-
dc.titleนวัตกรรมการแสดงละครเพลงพื้นบ้าน-
dc.title.alternativeThe innovative performance of folk song drama-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineนาฏยศิลป์ไทย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.590-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6281002735.pdf9.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.