Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82629
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาชัญญา รัตนอุบล | - |
dc.contributor.advisor | วีรฉัตร์ สุปัญโญ | - |
dc.contributor.author | ปรวรรณ ดวงรัตน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-08-04T06:35:32Z | - |
dc.date.available | 2023-08-04T06:35:32Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82629 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งวางอยู่บนกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่สังเคราะห์มาจากวาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นมาในอดีต เพื่อตอบคำถามงานวิจัยที่ว่า 1) วาทกรรมใหม่ที่ควรจะสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุจะมีคุณลักษณะเป็นอย่างไรและจะสามารถนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมืองได้อย่างไร 2) รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุไทยในสังคมเมือง ควรมีลักษณะเป็นอย่างไร 3) ผลของการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุไทยในสังคมเมืองจะเป็นอย่างไรและมีเงื่อนไขใดบ้างในการใช้ และ 4) ผลที่ได้จากการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุไทยในสังคมเมืองจะสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางของการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในสังคมเมืองต่อไปได้หรือไม่อย่างไร วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ 1) เพื่อวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยออกเป็น 3 ระยะตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ ระยะที่ 1 ใช้วิธีการศึกษาศึกษาเอกสารและสื่อสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่อยู่ในช่วงปี พ.ศ.2544-2555 โดยใช้หลักการวิเคราะห์วาทกรรมตามแนวทางของฟูโกต์และแฟร์คลาฟ และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ เพื่อใช้เป็นแนวคิดสำหรับการดำเนินงานวิจัยในระยะที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมาการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง โดยใช้พื้นฐานของแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุนำมาพัฒนาร่วมกับองค์ประกอบของรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย โดยศึกษาเฉพาะเจาะจงผู้สูงอายุในสังคมเมือง ด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในสังคมใน 6 ภูมิภาคของไทย จำนวนตัวอย่าง 112 คน นอกจากนี้ยังได้สัมภาษณ์ผู้ที่ทำงานด้านส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมทีเป็นกลุ่มตัวอย่างด้วยเช่นกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การร่างรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง และนำเสนอต่อคณะผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตรวจความเหมาะสมและความเป็นได้ที่จะนำไปใช้ สำหรับในระยะที่ 3 เป็นการศึกษาข้อเสนอแนวทางการนำรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมืองดังกล่าวไปใช้ โดยใช้การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้ต่อไป ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า คุณลักษณะของวาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในอดีตแบ่งได้เป็น 2 ช่วงเวลา คือ การเรียนรู้เป็นไปตามธรรมดาโลก จะมุ่งเน้นอำนาจของสถาบันศาสนาที่ระบุให้ผู้สูงอายุเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ในช่วงเวลาที่ 2 เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า การเรียนรู้ให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นช่วงเวลาที่ผู้สูงอายุต้องเรียนรู้การปรับตัวเพื่อตั้งรับกับความเปลี่ยนของสังคมที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยทั้ง 2 ช่วงเวลาแสดงให้เห็นถึงความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่แตกต่างกันออกไป ข้อค้นพบดังกล่าวได้นำมาพัฒนาเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง นำเสนอประเด็นการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 6 ประเด็น คือ 1) ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ 2) แหล่งเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 3) วิธีการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 4) เป้าหมายของการเรียนรู้ 5) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ และ 6) เนื้อหาที่จำเป็นต้องรู้ จากตัวบทที่พบในแต่ละประเด็น ผู้วิจัยได้นำมาพัฒนาร่วมกับองค์ประกอบของรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ซึ่งจากการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ พบว่า ประกอบด้วย หลักการของการส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้อำนวยความสะดวกทางการเรียนรู้ พื้นที่การเรียนรู้ ปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้ ทรัพยากรส่งเสริมการเรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ และวิธีการส่งเสริมการเรียนรู้ จากการวิจัยพบว่าสามารถนำคุณลักษณะของวาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุไปใช้ในการกำหนดหลักการของการส่งเสริมการเรียนรู้ได้ เช่น การเลือกใช้ตัวบทที่ส่งผลให้เกิดความท้าทายในการเรียนรู้ “การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ สร้างความท้าทายให้ผู้สูงอายุที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับชีวิต” ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมเมืองของไทยแสดงให้เห็นทั้งในด้านที่สังคมกำหนด ในเวลาเดียวกันภายใต้กรอบที่กำหนดผู้สูงอายุก็ยังสามารถคัดเลือก ต่อรอง รวมถึงประกอบสร้างความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง | - |
dc.description.abstractalternative | The research titled "Discourse analysis on the elderly's learning to develop an informal learning enhancement model for the elderly in urban society" was a qualitative study conducted based on a conceptual framework on elderly learning, synthesized from past discourses on elderly learning. The research aimed to answer the following questions: 1) What should be the characteristics of new discourses to enhance elderly learning and how can they contribute to the development of an informal learning enhancement model for the elderly in urban society?, 2) What should be the characteristics of an informal learning enhancement model in accordance with the attitudes of Thai elderly in urban society?, 3) What are the results and conditions of using the informal learning enhancement model in accordance with the attitudes of Thai elderly in urban society? 4) Can the results from using the informal learning enhancement model for Thai elderly in urban society be used as guidelines for promoting learning in accordance with attitudes in urban society in the future? If so, how? The research objectives were outlined as follows: 1) To analyze the discourse related to the learning of the elderly, 2) To develop an informal learning enhancement model in accordance with the attitudes of the elderly in urban society, 3) To present guidelines on using the informal learning enhancement model for the elderly in urban society. This research was divided into three stages according to the research objectives. Stage 1 involved document and print media review from the years 20012012, employing the principles of discourse analysis according to Foucault and Fairclough, and synthesizing information to form a concept of elderly learningThis concept was used as a guide for carrying out research in stage 2. Stage 2 focused on developing an informal learning enhancement model in accordance with the attitudes of the elderly in urban societyIt used the concept of elderly learning along with elements of an informal learning enhancement model. This stage specifically examined elderly people in urban society, using interviews with a sample group of 112 elderly individuals living in six regions of ThailandIn addition, interviews were conducted with people working in the field of promoting learning for the elderly in societyThis provided indepth information about elderly learning, which was used to draft an informal learning enhancement model for the elderly in urban society and to present it to a group of qualified individuals to check its appropriateness and feasibility. Stage 3 involved exploring suggestions for using the aforementioned informal learning enhancement model. This was done through group discussions with five qualified individuals to derive practical future guidelines. The research results indicate that the characteristics of discourses related to elderly learning in the past can be divided into two periods. The first period, called 'normal world learning', emphasized the power of religious institutions specifying the elderly as experts in various learning mattersThe second period, known as 'keeping up with social changes learning', is a time when the elderly need to learn to adapt to ongoing societal changes. Both periods show differing beliefs about elderly learningThese findings were developed into a concept about elderly learning in urban society, presenting six key points of elderly learning: 1) beliefs about learning, 2) sources of elderly learning, 3) methods of elderly learning, 4) goals of learning, 5) factors affecting learning, and 6) necessary knowledge. From the contexts found in each point, the researcher developed these alongside components of an informal learning enhancement modelThrough document studies and elderly interviews, it was found that the model consists of principles of learning promotion, facilitators of learning, learning spaces, learning interactions, resources for learning promotion, learning promotion activities, and methods of learning promotionIt was found that the characteristics of discourses related to elderly learning can be used to define the principles of learning promotion, such as choosing contexts that create challenges in learning "Learning new things creates challenges for the elderly who want to make changes in their lives". The beliefs about elderly learning in Thai urban society show both the societal norms and the ability of the elderly to select, negotiate, and construct their own beliefs about learning within these frameworks. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.522 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | การวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง | - |
dc.title.alternative | Discourse analysis on the elderly's learning to develop an informal learning enhancement model for elderly in urban society | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | การศึกษานอกระบบโรงเรียน | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2022.522 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5884216227.pdf | 6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.