Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82630
Title: การพัฒนาหลักสูตรอบรมครูพลศึกษาระดับประถมศึกษาโดยใช้แนวคิดแอนดราโกจีเพื่อสร้างเสริมการสอนทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน
Other Titles: Development of a training curriculum for physical education primary school teachers using Andragogy approach for enhancing teaching fundamental movement skills
Authors: ศุภกร โกมาสถิตย์
Advisors: สุธนะ ติงศภัทิย์
รัชนี ขวัญบุญจัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการฝึกอบรมการสอนทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานของครูประถมศึกษา2)เพื่อพัฒนาหลักสูตรอบรมครูพลศึกษาระดับประถมศึกษาโดยใช้แนวคิดแอนดราโกจีเพื่อสร้างเสริมการสอนทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน3)เพื่อประเมินประสิทธิผลหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาความต้องการจำเป็น คือ ครูพลศึกษาในระดับประถมศึกษาที่ไม่มีวุฒิทางพลศึกษา จำนวน 201 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Sampling) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประสิทธิผลหลักสูตรอบรมคือ ครูพลศึกษาระดับประถมศึกษาที่ไม่มีวุฒิทางพลศึกษา จำนวน 30 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง และผ่านเกณฑ์คัดเข้า ทำการเก็บข้อมูลก่อนการทดลองและหลังการทดลอง นำข้อมูลมาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วยสถิติที ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาของการสอนพลศึกษาในระดับประถมศึกษา คือครูผู้สอนในโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นครูที่ไม่คุณวุฒิทางพลศึกษา ส่งผลให้ขาดทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานอันนำไปสู่การสาธิตหรือไม่สามารถอธิบายการปฏิบัติที่ถูกต้องแก่นักเรียนได้ รวมทั้งในด้านสื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอนยังขาดแคลนและไม่เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน และครูไม่ทราบถึงหลักการวัดและประเมินผลทางพลศึกษา โดยพบว่า ด้านการสอนทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน มีความต้องการฝึกอบรมมากที่สุด มีค่าค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 2)หลักสูตรอบรมที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่  (1)หลักการและเหตุผล (2)วัตถุประสงค์ของหลักสูตรอบรม (3)เนื้อหาสาระและระยะเวลา (5 หน่วย, 15 ชั่วโมง) (4) กิจกรรม(5) สื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ (6) การวัดและประเมินผล 3) ประสิทธิผลของหลักสูตรอบรมที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้กลุ่มทดลองมีการสร้างเสริมทักษะการสอน ความรู้ เจตคติ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to: 1) study the problems and needs of fundamental movement skills teaching training of primary school teachers. 2) develop a training curriculum for enhancing teaching fundamental movement skills. And 3) assess the effectiveness of the training curriculum. The participants of this study were 201 primary school physical education teachers selected through Stratified Sampling and 30 teachers who volunteered and met the inclusion criterion. Data were collected 2 times, before and after the experiment, and were analyzed by mean, standard deviation, t-test. The research findings were as follows: 1) the problems of physical education teaching at the primary level That is, most of the teachers in the school are teachers who are not qualified in physical education. This results in a lack of fundamental movement skills leading to demonstrations or inability to explain correct actions to students. Including the lack of teaching media and equipment and inappropriate for basic movement activities. and teachers did not know the principles of measurement and evaluation of physical education. It was found that in teaching fundamental movement skills The most demanding training with a mean value of 4.37 2) The training curriculum consists of 6 elements: (1) principles and background. (2) Objects of the training program (3) Content and duration (5 units, 15 hours) (4) Activities (5) Media and equipment (6) Measurement and evaluation. The development of teaching skills, knowledge, attitude after the experiment was higher than before the experiment with a statistical significance level  of .05
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: สุขศึกษาและพลศึกษา
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82630
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.995
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.995
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5884223627.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.