Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82635
Title: การพัฒนากระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน
Other Titles: Development of life coaching process to enhance adversity quotient and emotional quotient for working adults
Authors: ณัฐธิกา ศรีมกุฎพันธุ์
Advisors: วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา
สุธีรา นิมิตรนิวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์เชิงยืนยันองค์ประกอบของความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของ Paul G. Stoltz และความสามารถทางอารมณ์ของ Daniel Goleman 2) เพื่อพัฒนากระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน 3) เพื่อจัดทำแนวทางสำหรับการนำกระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยไปใช้  โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้ใหญ่วัยทำงาน จำนวน 300 คน 2) ผู้ใหญ่วัยทำงานที่เข้าร่วมกระบวนการชี้แนะชีวิตฯ จำนวน 30 คน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิและตัวแทนจากผู้ใหญ่วัยทำงานที่เข้าร่วมโปรแกรมจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์ของผู้ใหญ่วัยทำงาน แบบสังเกตพฤติดรรมผู้รับการชี้แนะระหว่างการเข้าร่วมกระบวนการ แบบบันทึกรายละเอียดกระบวนการชี้แนะชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการวิเคราะห์เอกสารใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์เชิงยืนยันองค์ประกอบของความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของ Paul G. Stoltz และความสามารถทางอารมณ์ของ Daniel Goleman พบว่าการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์ของผู้ใหญ่วัยทำงาน หลังจากปรับค่าความคลาดเคลื่อนระหว่างสองตัวแปรโดยใช้ค่าสถิติดัชนีการปรับโมเดลรวม จำนวน 17 คู่ ผลวิเคราะห์แบบจำลองของความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี 2) กระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน มีทั้งหมด 3 ระยะ ประกอบด้วย (1) ระยะการเตรียมการก่อนการชี้แนะชีวิต (2) การชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ระบุความต้องการหรือปัญหาที่ต้องการแก้ไข ขั้นตอนที่ 2 สอบถามข้อมูลที่เป็นจริงในปัจจุบัน และค้นหาขอบเขตของสิ่งที่เกิดขึ้น ขั้นตอนที่ 3 ร่วมกันเลือกวิธีการที่จะทำให้บรรลุความต้องการ ขั้นตอนที่ 4 ร่วมกันออกแบบวิธีดำเนินการและวิธีการติดตามผล และ ขั้นตอนที่ 5 ร่วมกันติดตามผลและประเมินผลที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้รับการชี้แนะได้ประเมินตนเอง (3) ระยะที่ 3 หลังการชี้แนะ ประเมินผลการทดลองใช้กระบวนการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับคะแนนความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์หลังการเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมทุกคน และ 3) แนวทางการนำกระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงานไปใช้มีประเด็นสำคัญ 3 ด้านได้แก่ (1) การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการ (2) การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการใช้กระบวนการ (3) การส่งเสริมการติดตามและประเมินผลกระบวนการ
Other Abstract: This study aimed to 1) provides confirmatory factor analysis model of Paul G. Stoltz’s adversity quotient and Daniel Goleman’s emotional quotient; 2) develop a life coaching process to enhance adversity quotient and emotional quotient for working adults; and 3) establish guidelines for implementing this life coaching process. The research involved three types of samples: 1) 300 working adults; 2) 30 working adults participating in the life coaching process; and 3) 15 qualified individuals and representatives from the working adults participating in the program. The research tools included assessments of the adversity quotient and emotional quotient for working adults, observation forms of the participants' behavior during the process, and records of the life coaching process. The data was analyzed using descriptive statistics, multiple regression analysis, content analysis, and deductive conclusions. The study found that 1) the confirmatory analysis of Paul G. Stoltz’s the adversity quotient and Daniel Goleman’s emotional quotient of working adults, after adjusting for errors between the two variables using 17 pairs of a goodness of fit index, was in good alignment with empirical data; 2) the life coaching process for working adults to enhance adversity quotient and emotional quotient consists of three stages: preparation for coaching, the life coaching process itself - which comprises five steps, and post-coaching assessment. The five steps in the life coaching process are: (1) identifying the needs or problems to be solved, (2) exploring the present reality and the scope of the situation, (3) selecting methods to achieve the desired outcome together, (4) designing a plan of action and a follow-up method together, and (5) tracking and evaluating the outcome together. It was found that the sample group had higher scores in abilities to confront and overcome obstacles, and emotional intelligence after participating in the program. 3) the guideline for implementing the life coaching process for working adults has three key points: enhancing understanding of the process, promoting and supporting the implementation of the process, and encouraging monitoring and evaluation of the process.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82635
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.520
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.520
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5884458827.pdf3.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.