Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82637
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา-
dc.contributor.advisorอาชัญญา รัตนอุบล-
dc.contributor.authorศิริพร ทองแก้ว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T06:35:34Z-
dc.date.available2023-08-04T06:35:34Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82637-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันด้านการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเด็ก ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเด็ก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต และความต้องการด้านการจัดศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก 2) เพื่อพัฒนาข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ 1) เด็กอายุ 8-12 ปี จาก 39 จังหวัดทั่วประเทศซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละภูมิภาค จำนวน 9,604 คน 2) พ่อแม่ผู้ปกครอง และครู 3) ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามสถานการณ์ ปัญหา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของผู้เรียน แบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อทางเลือกนโยบาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีโทรศัพท์ หรือแทบเลตที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เป็นของตนเอง กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างทำขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ การเล่นเกม รองลงมาคือการดูยูทูบ ช่วงเวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต คือช่วงหลังเลิกเรียน ส่วนสถานที่ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ ที่บ้าน 2) ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าปัญหาจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตของกลุ่มตัวอย่างที่มีมากที่สุดคือการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาคือการได้รับคำแนะนำจากครูและการชักชวนของเพื่อน 3) กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการที่จะเรียนรู้วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตจากพ่อแม่ผู้ปกครองมากที่สุด โดยการเรียนรู้จากที่บ้านผ่านการดูคลิปจากยูทูบและการค้นหาข้อมูลด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ 4) ข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก ประกอบด้วย 9 ทางเลือกที่พัฒนาจากข้อมูลที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่างผสมผสานกับแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ แบ่งเป็นทางเลือกการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน 3 ทางเลือก ทางเลือกการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย 5 ทางเลือก และทางเลือกสนับสนุนอีก 1 ทางเลือก-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were: 1) to study the current situations, problems, and their related factors, as well as to identify the needs of children regarding how to stay safe online.2) to develop policy alternatives for non-formal and informal education to promote internet safety for children. The sample consisted of 9,604 children aged 8 to 12 from 39 provinces across the country, representing each region of Thailand. The data were collected using rating scale questionnaires from 2) parents and teachers, and 3) experts. Descriptive statistics and multiple regression were used for data analysis. The results showed that: 1) The majority of the children owned their own telephone or tablet that could connect to the internet. Their most frequent internet activity was playing games at home after school, followed by watching YouTube. 2) The most significant problem and its related factor were online piracy, with advice from teachers and persuasion from friends being the factors associated with the problem. 3) The children expressed a strong desire to learn internet safety from their parents, with the most preferred methods being learning at home through watching clips from YouTube and searching for information on websites. 4) The proposed policy alternatives for non-formal and informal education to promote internet safety for children consist of 9 options developed from the key information obtained from the sample group in this research, combined with the concept of learning theory. These options are divided into 3 non-formal education alternatives, 5 informal education alternatives, and 1 supporting alternative.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.526-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก-
dc.title.alternativeProposal alternative policy for non-formal and informal education to promote internet safety for children-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียน-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.526-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5884471927.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.