Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82647
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ | - |
dc.contributor.advisor | สังวรณ์ งัดกระโทก | - |
dc.contributor.author | พรรณิสรา จั่นแย้ม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-08-04T06:35:38Z | - |
dc.date.available | 2023-08-04T06:35:38Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82647 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและออกแบบการเสริมต่อการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับแบบแผนทักษะการรู้สารสนเทศ 2) พัฒนาระบบการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเสริมต่อการเรียนรู้ด้วยแชทบอทอัจฉริยะเพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้สารสนเทศ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้ระบบการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเสริมต่อการเรียนรู้ด้วยแชทบอทอัจฉริยะเพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับกลุ่มนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต และ 4) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทักษะการรู้สารสนเทศของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิตที่เรียนด้วยระบบฯ ที่พัฒนาขึ้น ตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 396 คน ผู้เชี่ยวชาญ 17 คน และนักศึกษามหาวิทยาลัย จำนวน 50 คน สถิติที่ใช้คือ สถิติบรรยาย, K-mean Decision-tree, The Wilcoxon Signed - Rank Test for Location และ Spearman rank correlation coefficient ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการจัดแบ่งกลุ่มแบบแผนทักษะการรู้สารสนเทศ (n=396) แบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเก่ง กลาง และอ่อนโดยมีค่าความแม่นยำในระดับสูงคือร้อยละ 94.19 จากเงื่อนไขการจำแนกรูปแบบทักษะการู้สารสนเทศ จำนวนทั้งสิ้น 74 เงื่อนไข ระบบออกแบบโดยมีแชทบอทอัจฉริยะและใช้การเสริมต่อการเรียนรู้ (scaffolding) ทั้ง 5 แบบผสมกันและต่างกันไปตามขั้นตอนการเรียน 2. ระบบการเรียนรู้ฯ ที่พัฒนาขึ้นนี้มีทั้งหมด 4 องค์ประกอบ คือ 1) ระบบการเรียนรู้ตามความสามารถของผู้เรียน 2) การเสริมต่อการเรียนรู้ด้วยแชทบอทอัจฉริยะ 3) สถานการณ์ปัญหา และ 4) การประเมินผล และมี 4 ขั้นตอน คือ 1) นำเสนอสถานการณ์ปัญหา 2) ขั้นระบุปัญหา 3) ขั้นค้นหาสารสนเทศ และ 4) ขั้นแก้ปัญหา โดยระบบสามารถจัดผู้เรียนตามระดับความสามารถ 3 ระดับและมีบทเรียนสถานการณ์ปัญหาเป็นฐานทั้งหมด 9 บทเรียน ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีมาก (Mean = 4.61, S.D = 0.20) 3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนทักษะการรู้สารสนเทศของกลุ่มผู้เรียนที่ใช้เวลาเรียนด้วยตนเองในระบบตั้งแต่ 50 นาทีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 4. คะแนนทดสอบทักษะการรู้สารสนเทศหลังเรียนมีความสัมพันธ์กับเวลาที่ใช้บนระบบการเรียนรู้ออนไลน์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .553 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 | - |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research are as follows: 1) To study and design learning scaffolding that aligns with the information literacy skills framework, 2) To develop a problem-based learning system with scaffolding using an intelligent chatbot to enhance information literacy skills, 3) To examine the effects of the online learning system that utilizes problem-based learning and an intelligent chatbot on enhancing information literacy skills among undergraduate students, and 4) To investigate the factors that are related to the information literacy skills of undergraduate students who study with the developed system. The sample were 396 twelfth-grade students, 17 experts, and 50 undergraduate students. Data analysis procedures were descriptive statistics, the K-means decision tree, the Wilcoxon signed-rank test for location, and the Spearman rank correlation coefficient. The results were as follows: 1. The results of the grouping based on information literacy skills (n = 396) yielded three groups: high, medium, and low. The accuracy rate was found to be 94.19% based on the classification criteria for information literacy skills, which consisted of a total of 74 criteria. The learning system is designed to use five blended styles of scaffolding. 2. The developed learning system consists of four components: 1) a learning system 2) scaffolding using an intelligent chatbot 3) problem situations, and 4) assessment. The learning process consisted of 4 steps: 1) present the problem 2) identify the problem 3) explore information 4) solve the problem. The system has the capability to categorize learners into three are a total nine lessons designed around problem-solving scenarios. The evaluation results by the experts are at a very high level (Mean = 4.61, S.D = 0.20). 3. Comparing information literacy skills score of learners who studied independently at least 50 minutes, significantly higher average scores were found post-study at the .05 level of statistical significance. 4. The post-learning information literacy skills test scores showed a significant positive correlation (.553) with the time spent on the online learning system, with a significance level of .05. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.405 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | การพัฒนาระบบการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเสริมต่อการเรียนรู้ด้วยแชทบอทอัจฉริยะเพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้สารสนเทศของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต | - |
dc.title.alternative | Development of problem-based learning system with scaffolding using intelligent chatbot to enhance information literacy skills of undergraduate students | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2022.405 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6084211627.pdf | 14.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.