Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82653
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิชัย เสวกงาม-
dc.contributor.authorชนาภรณ์ ปรีคง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T06:35:40Z-
dc.date.available2023-08-04T06:35:40Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82653-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนก่อนและหลังการใช้กระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบข้ามทฤษฎี และ 2) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในภาพรวมและจำแนกรายองค์ประกอบ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 คน ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค แบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค แบบบันทึกการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบข้ามทฤษฎี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบข้ามทฤษฎีมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบข้ามทฤษฎีมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคในลักษณะที่ดีขึ้น ทั้งในภาพรวมและเมื่อจำแนกรายองค์ประกอบ-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to: 1) compare students’ ability to deal with adversity before and after using an instructional process based on the transtheoretical model, and 2) study students’ adversity ability to deal with adversity after using this transtheoretical model. The participants in this study consisted of 40 fourth year Matthayomsuksa students at an extra-large secondary school under the jurisdiction of the Secondary Education Service Area Office, Bangkok 1. The instruments used in this study included an test measuring students’ ability to overcome adversity, observation forms on students’ ability to overcome adversity, learning logs, and lesson plans using an instructional process based on the transtheoretical model. Data were analyzed using mean, standard deviation, t-test, repeated measure ANOVA, and content analysis. The findings showed that: 1) students’ had higher scores at overcoming adversity after being taught using the instructional process compared to before the teaching at the .05 level of significance. 2) students’ ability to overcome adversity was improved, both holistically and when categorized by components, after using the instructional process based on the transtheoretical model.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.998-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบข้ามทฤษฎีที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย-
dc.title.alternativeEffects of using an instructional process based on the transtheoretical model on adversity quotient ability of upper secondary school students-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอน-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.998-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6183823627.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.