Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82662
Title: รูปแบบการพัฒนาศักยภาพพฤติกรรมด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงผลิตภัณฑ์แบบวิจัยเป็นฐานบนเครือข่ายเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านนวัตกรรมแพทยศาสตรศึกษา : วิเคราะห์อภิมานและสมการเชิงโครงสร้าง
Other Titles: A potential innovative work behavior development model using product through research base learning on web to enhance innovation competency in medical education: based on meta-analysis and structural equation model
Authors: กชพรรณ วิลาพันธ์
Advisors: เนาวนิตย์ สงคราม
สังวรณ์ งัดกระโทก
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลของตัวแปรคุณลักษณะบุคคลเชิงนวัตกรรม (ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การเสริมพลังอำนาจทางจิตวิทยา และการรับรู้ความสามารถของตนเอง) ที่มีต่อผลพฤติกรรมทำงานนวัตกรรมด้วยการวิเคราะห์อภิมาน 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลสมการเชิงโครงสร้างของคุณลักษณะบุคคลเชิงนวัตกรรมที่ส่งผลถึงพฤติกรรมทำงานนวัตกรรม 3) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพพฤติกรรมด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงผลิตภัณฑ์แบบวิจัยเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านนวัตกรรมแพทยศาสตรศึกษาของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา 4) เพื่อศึกษาการใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพพฤติกรรมด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงผลิตภัณฑ์แบบวิจัยเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านนวัตกรรมแพทยศาสตรศึกษาของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา และ 5) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาศักยภาพพฤติกรรมด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงผลิตภัณฑ์แบบวิจัยเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านนวัตกรรมแพทยศาสตรศึกษาของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ฯนี้ ได้รับข้อมูลเชิงตัวแปรมาจากการวิเคราะห์อภิมานและยืนยันตัวแปรด้วยการวิเคราะห์สมการเชิงโครสร้าง กลุ่มตัวอย่างวิจัยในการทดลอง คือ นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ระดับปริญญาตรี ผลการวิจัยสรุป ดังนี้ 1) การวิเคราะห์อภิมาน พบว่า การเสริมพลังอำนาจทางจิตวิทยา มีอิทธิพลระดับสูง (0.52), ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (0.39) และการรับรู้ความสามารถของตนเอง (0.38) มีขนาดอิทธิพลระดับปานกลาง 2) การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง พบว่า การเสริมพลังอำนาจทางจิตวิทยา ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และรับรู้ความสามารถของตนเองมีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมทำงานนวัตกรรม แต่ในโมเดลสมการเชิงโครงสร้าง พบว่าการรับรู้ความสามารถทำหน้าที่เป็นตัวแปรส่งผ่านเพียงตัวแปรเดียวโดยมีเส้นทางจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงส่งผลถึงพฤติกรรมทำงานนวัตกรรมโดยผ่านการรับรู้ความสามารถของตนเอง 3) รูปแบบการเรียนรู้ฯ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. ชุมชน  2. เทคนิคและกลยุทธ์การสอน  3. ระบบและเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ 4. แหล่งทรัพยากรเรียนรู้ 5. วัดและประเมินผล และมีขั้นตอนการเรียนรู้ 3 ระยะ 8 ขั้นตอน ได้แก่ ระยะที่ 1 เตรียมความพร้อม: 1. ปฐมนิเทศ 2. ให้ความรู้สำคัญ  ระยะที่ 2 การทำงานนวัตกรรม: 3. แสวงหาโอกาส 4. สร้างแนวคิดใหม่ 5. หาการสนับสนุนความคิด 6. ทำให้เกิดขึ้นจริง และระยะที่ 3 เผยแพร่และประเมินผล: 7. เผยแพร่ผลงาน 8. ประเมินผล  4) ผลการเปรียบเทียบคะแนนการทดสอบความสามารถด้านนวัตกรรมแพทยศาสตรศึกษาของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบฯ มีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการประเมินโครงงานนวัตกรรมแพทยศาสตรศึกษาและการประเมินศักยภาพพฤติกรรม อยู่ระดับดีซึ่งอยู่ในระดับสูงสุด ระยะเวลาทดลองใช้ 9 สัปดาห์ และ 5) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการเรียนรู้ฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเหมาะสมในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.85) สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมความสามารถด้านนวัตกรรมแพทยศาสตรศึกษาได้
Other Abstract: This research study focused on analyzing the influence of innovative personality traits on innovative work behavior and developing a learning model to enhance innovative competency in medical education. Objectives of the Research: 1) To analyze the influence of innovative personality traits (transformative leadership, psychological empowerment, and self-efficacy) on innovative work behavior through a meta-analysis. 2) To develop and examine a structural equation model of innovative personality traits that affect innovative work behavior in medical education context. 3) To create a learning model with innovative personality traits and innovative work behavior,and use production through research-based learning on the web to enhance innovative competency in medical education for higher education learners. 4) To study the use of a developed learning model. 5) To present and certify a developed learning model. The research samples were students from the undergraduate program in medical education technology. Findings of the research: 1) A meta-analysis revealed that psychological empowerment (0.52) has a large strength influence, transformative leadership (0.39), and self-efficacy (0.38) have a moderate strength influence 2) Structural equation analysis revealed that psychological empowerment, transformative leadership, and self-efficacy had a positive effect on innovative work behavior. However, only self-efficacy was identified as a mediator variable in the structural equation, indicating a path from transformational leadership to innovative work behavior through self-efficacy. 3) A developed learning model consists of five components: Community, Teaching and Technique Strategies, Systems and Technologies, Learning Resources, Measurement and Evaluation. It involves three phases and eight steps. Preparatory phase: 1. Orientation 2. Provide Important knowledge. Innovation Work phase; 3. Idea Explorations 4. Idea generation; 5. Championing 6. Application. Dissemination and Evaluation Phase; 7. Dissemination 8. Evaluation, and trial period: nine weeks 4) The results of comparing test scores on innovation competency in medical education before and after participating in the developed learning model showed a significant difference at the.05 level. The assessment of medical education innovation projects and the evaluation of behavioral potential also yielded a good level, which is the highest level, and 5) The developed learning model was considered suitable and had high (average mean of 4.85) expert approval.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82662
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.396
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.396
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6184451027.pdf6.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.