Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82695
Title: | นวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา |
Other Titles: | Academic management innovation to enhance entrepreneurial mindset of secondary school students |
Authors: | ปรเมศวร์ ชรอยนุช |
Advisors: | นันทรัตน์ เจริญกุล สุกัญญา แช่มช้อย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการและวิเคราะห์องค์ประกอบกรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา 2) ศึกษาระดับกรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา 3) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา 4) พัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ แบ่งเป็น 4 ระยะ ประชากร คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวม 2,360 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 400 โรงเรียน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่มอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 973 คน ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานหลักสูตร และครู จำนวน 1,031 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย (1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร (2) ด้านการจัดการเรียนการสอนและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และ (3) ด้านการวัดประเมินผล 2) องค์ประกอบกรอบความคิดผู้ประกอบการนักเรียนมัธยมศึกษา มี 8 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย (1) มีความมุ่งมั่นตั้งใจ (2) มีแรงบันดาลใจสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์และความสำเร็จ (3) มีความกล้าเสี่ยง (4) มีภาวะผู้นำตนเอง (5) มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาโอกาส (6) มีความอดทนต่อความไม่ชัดเจน (7) มีความยืดหยุ่นและฟื้นคืนพลัง และ (8) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรม 2) ระดับกรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา พบว่า มีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และมีความกล้าเสี่ยง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3) ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา พบว่า การจัดการเรียนการสอนและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด รองลงมาคือ การวัดประเมินผล และการพัฒนาหลักสูตร 4) แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารวิชาการประกอบด้วย 23 แนวทาง 5) นวัตกรรมการบริหารวิชาการ คือ นวัตกรรมการออกแบบการเรียนรู้สู่การสร้างนักเรียนผู้ประกอบการ ประกอบด้วย 4 นวัตกรรมย่อย คือ (1) ระบบนิเวศเพื่อสร้างนักเรียนผู้ประกอบการ 2) หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะผู้ประกอบการ (3) การจัดการเรียนรู้นักเรียนผู้ประกอบการ (4) การวัดประเมินผลการจัดการเรียนรู้ผู้ประกอบการ |
Other Abstract: | The research objectives were to: 1) study the conceptual frameworks of academic management and analyze the confirmatory factor analysis model of entrepreneurial mindset of secondary school students; 2) study the levels of entrepreneurial mindset of secondary school students; 3) study the priority needs of developing academic management towards enhancing the entrepreneurial mindset of secondary school students; and 4) develop an academic management innovation to enhance the entrepreneurial mindset of secondary school students. A multiphase mixed-methods research design was used. The population consisted of secondary schools under the Office of the Basic Education Commission, totaling 2,360 schools. The sample consisted of 400 secondary schools, selected by stratified random sampling and simple random sampling. The key respondents were 973 grade 12 secondary school students and 1,031 people, including administrators, heads of curriculum development, and teachers. The research instruments were assessment forms, questionnaires, and interviews. The data were analyzed by frequency, percentage, means, standard deviation, PNImodified, confirmatory factor analysis, and content analysis. The research findings showed as follows 1) the academic management framework consists of (1) curriculum development; (2) teaching and learning management; and (3) evaluation, and entrepreneurial mindset consists of eight domains, including (1) being committed and determined; (2) being motivated to achieve desirable goals; (3) being encouraged to take risks; (4) having self-leadership; (5) being enthusiastic and seeking opportunities; (6) being tolerant of uncertainty; (7) being flexible and resilient; and (8) being creative and innovative. 2) the levels of entrepreneurial mindset of secondary school students, it was found that the mean of being committed and determined was highest and the mean of being encouraged to take risks was lowest. 3) the priority needs of developing academic management towards enhancing the entrepreneurial mindset of secondary school students, it was found that the highest priority needs index fell on teaching and learning management, evaluation, and the development of curriculum, respectively. 4) Good practices in academic management include 23 practices. 5) the academic management innovation is an innovation for design learning towards the creation of student entrepreneurs that consists of four components: (1) student entrepreneur development ecosystem; (2) entrepreneur competency-based curriculum (3) student entrepreneur learning management, and (4) entrepreneur learning assessment. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82695 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.668 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2022.668 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6381038327.pdf | 30.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.