Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82841
Title: การเติบโต การผลิตลิพิดและเครื่องหมายโมเลกุลสำหรับการจำแนกสาหร่ายขนาดเล็ก Botryococcus sp.
Other Titles: Growth, lipid production and molecular markers for microalgae botryococcus sp. Classification
Authors: วิชาดา เย็นทั่ว
Advisors: ไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิ
ณรงค์ศักดิ์ พ่วงลาภ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการเติบโตของสาหร่าย Botryococcus sp. จำนวนทั้งสิ้น 9 แหล่งตัวอย่าง ได้แก่ (CU-MPL-BT) จากสถานที่ต่างๆ ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม (CU-MPL-BT1, CU-MPL-BT2), จังหวัดนครปฐม (CU-MPL-BT3, CU-MPL-BT4), ลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพ (CU-MPL-BT5), จังหวัดสกลนคร (CU-MPL-BT6), อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำหมาน จังหวัดเลย (CU-MPL-BT7), จังหวัดสุราษฎร์ธานี(CU-MPL-BT8) และ จังหวัดเชียงใหม่ (CU-MPL-BT9)  ซึ่งเก็บรักษาสายพันธุ์ไว้ที่ห้องปฏิบัติการแพลงก์ตอน ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการทดลองเลี้ยงสาหร่าย Botryococcus sp. ทั้ง 9 แหล่งตัวอย่าง ในขวดปริมาตร 2 ลิตร โดยใช้อาหารสูตร BG11 (Blue-Green Medium) ที่ระดับความเค็ม 0  psu เป็นเวลาทั้งสิ้น 78 วัน ที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส ความเข้มแสง 54 µmol m-2s-1 ช่วงมืด : สว่าง 12 : 12 ชั่วโมง และให้อากาศตลอดเวลา วัดการเติบโตด้วยวิธีการวัดค่า OD (Optical density) 680 นาโนเมตร พบว่าแหล่งตัวอย่าง CU-MPL-BT5 มีค่าการเติบโตสูงสุดที่ 0.418±0.002 นาโนเมตร และค่าสัมประสิทธิ์การเติบโตจำเพาะสูงที่สุดอยู่ในช่วงวันที่ 0-20 ของการเลี้ยง เป็นช่วง Logarithmic Phase ของการทดลอง ซึ่งเซลล์มีลักษณะรูปร่างกลมรีหรือคล้ายหยดน้ำ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 ไมครอน มีการสะสมไฮโดรคาร์บอนภายในเซลล์ เซลล์มีลักษณะสีเขียว เส้นผ่านศูนย์กลางเซลล์ในแต่ละสายพันธุ์ไม่มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) และมีการสะสมไขมันภายในเซลล์มากขึ้นเรื่อยๆ จนเห็นได้ชัดในช่วง Logarithmic Phase จากการตรวจสอบด้วยการย้อมสี nile red ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนต์ พบว่าแหล่งตัวอย่าง CU-MPL-BT6 มีปริมาณการสะสมไขมันสูงสุดในช่วง Logarithmic Phase ของการทดลอง เท่ากับ 28.05±4.76 % ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) กับสาหร่าย Botryococcus sp. แหล่ง CU-MPL-BT1, CU-MPL-BT2 , CU-MPL-BT3,  CU-MPL-BT8 และ CU-MPL-BT9 เมื่อทำการสกัดไขมันด้วยสารละลายเฮกเซนพบแหล่ง CU-MPL-BT5 ให้ปริมาณไขมันสูงที่สุดเท่ากับ 62.26±8.05 เปอร์เซนต์ ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) กับสาหร่าย Botryococcus sp. แหล่ง CU-MPL-BT1, CU-MPL-BT2, CU-MPL-BT3, CU-MPL-BT4, CU-MPL-BT6, CU-MPL-BT7, CU-MPL-BT8 และCU-MPL-BT9 วิเคราะห์ความแตกต่างทางพันธุกรรมของสาหร่ายทั้ง 9 แหล่งตัวอย่าง โดยการวิเคราะห์รูปแบบของยีน 18s rRNA ด้วยเทคนิคดีจีจีอี (DGGE) พบว่าแถบดีเอ็นเอทั้ง 9 แถบจากสาหร่าย ที่ศึกษานั้นมีลำดับนิวคลีโอไทด์เหมือนกับสายพันธุ์สาหร่าย Botryococcus braunii พบแถบดีเอ็นเอ 1 แถบ ในแต่ละแหล่งตัวอย่างทำการโคลนหาลำดับนิวคลีโอไทด์โดยมีค่า Identity มากกว่า 90 % ทั้ง 7 แหล่งตัวอย่าง และอีก 2 แถบดีเอ็นเอที่ศึกษามีลำดับนิวคลีโอไทด์ใกล้เคียงกับสาหร่ายสายพันธุ์อื่น คือ Chlamydopodium starri และ Paraphysomonas vestita โดยมีค่า Identity มากกว่า 90 %
Other Abstract: In this project, we studied on the growth of algae Botryococcus sp. labelled “CU-MPL-BT”. We collected nine categories of sample from seven different locations: (1) “CU-MPL-BT1” and “CU-MPL-BT2” from Maha Sarakham; (2) “CU-MPL-BT3” and “CU-MPL-BT4” from Nakhon Pathom; (3) “CU-MPL-BT5” from Lat Krabang, Bangkok; (4) “CU-MPL-BT6” from Sakon Nakhon; (5) “CU-MPL-BT7” from Huai Nam Man reservoir, Loei; (6) “CU-MPL-BT8” from Surat Thani; and (7) “CU-MPL-BT9” from Chiang Mai. Then these sample were preserved at The Plankton Laboratory, Department of Marine Science, Faculty of Science, Chulalongkorn University. In culturing process, each of the Botryococcus sample was kept in a 2 L durand with aerobic condition for 78 days by using BG11 (Blue-Green Medium) nutritional formula, with the following additional conditions: 0 psu of salinity; 27oC of temperature; 54 µmol m-2s-1 of light intensity; the ratio 12 : 12 hrs between dark and light conditions. We determined the growth rate by measuring the OD (Optical density) at 680 nm. This study found that CU-MPL-BT5 had the highest growth rate at 0.418±0.002 nm, and had the highest Specific Growth Rate (K) during the culture period of 0-20 Logarithmic Phase of experiments. The Botryococcus cells were “water-drop-like” oval in shape, green in colour, 10 µm in diameter, and had the ability to deposit the hydrocarbon. The diameter of each species has no difference. Furthermore, the level of lipid deposition within the Botryococcus cells was distinct during Logarithmic Phase, and could be fluorescently indicated under the microscope by using Nile Red dying. Moreover, the sample CU-MPL-BT6 had the highest lipid deposition rate during Logarithmic Phase, 28.05 ± 4.76 %, which was significantly different (p < 0.05) from those of CU-MPL-BT1, CU-MPL-BT2, CU-MPL-BT3, CU-MPL-BT8, and CU-MPL-BT9. Additionally, after we extracted the lipid by using hexane solution, we found that CU-MPL-BT5 gave the highest amount of lipid which was 62.26 ± 8.05 %, and this was significantly different (p < 0.05) from CU-MPL-BT1, CU-MPL-BT2, CU-MPL-BT3, CU-MPL-BT4, CU-MPL-BT6, CU-MPL-BT7, CU-MPL-BT8, and CU-MPL-BT9. Moreover, the analysis of 18s rRNA by DGGE technique for determining the difference within nine Botryococcus species found that there were more than 90% of similarity of nucleotide patterns compared to those of Botryococcus braunii, Chlamydopodium starrii, and Paraphysomonas vestita.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82841
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5572110023.pdf4.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.