Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8301
Title: การศึกษาชนิดของยุงที่มีศักยภาพในการเป็นพาหะของเชื้อไวรัส พี อาร์ อาร์ เอสในฟาร์มสุกร จังหวัดนครปฐม : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Study on potential vectors of PRRSV in mosquitoes from a PRRSV-positive swine farm in Nakorn Pathom Province
Authors: รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช
สุดจิตต์ จุ่งพิวัฒน์
Email: roongroje.t@chula.ac.th
Sudchit.C@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Subjects: ยุงพาหะนำโรค
สุกร -- โรคเกิดจากไวรัส
ไวรัสพีอาร์อาร์เอส
ฟาร์มสุกร -- ไทย -- นครปฐม
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การสำรวจชนิดของยุงในฟาร์มสุกรที่มีการระบาดของเชื้อไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส จังหวัดนครปฐม ทำการเก็บตัวอย่างยุงทุกเดือนละ 1 ครั้ง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2547 ถึงเดือนเมษายน 2548 โดยทำการเก็บตัวอ่อนยุงจากแหล่งน้ำภายในระยะรัศมี 1 กิโลเมตรรอบฟาร์ม และดูดเก็บยุงตัวเต็มวัยตัวเมียขณะดูดเลือดบนตัวสุกรโดยใช้ oral aspirators ตั้งแต่เวลา 18.00-22.00 น. พบว่ายุงที่จับได้จำนวน 91,840 ตัว จำแนกได้ 3 สกุล 6 ชนิด คือ Culex tritaeniorhynchus, Cx. Gelidus, Mansonia uniformis, Ma. Annulifera, Anopheles vagus และ An. Peditaeniatus โดยยุงที่พบได้มากที่สุดคือยุง Cx. Tritaeniorhynchus (60-95.75%) และยุงที่พบน้อยที่สุดคือยุง Ma. Annulifera (0.02-0.05%) ผลการตรวจตัวอ่อนจากแหล่งน้ำพบตัวอ่อนของยุง Cx. Tritaeniorhynchus, Cx. Gelidus, An. Vagus และ An. Peditaeniatus การทดสอบศักยภาพในการนำเชื้อไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส ของยุง Cx. Tritaeniorhynchus แบ่งเป็น 2 การทดลองคือ การทดสอบระยะเวลาที่ตรวจพบเชื้อไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส ของยุง และการทดสอบความสามารถในการนำเชื้อไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส ของยุงจากสุกรทดลองฉีดเชื้อไปยังสุกรปลอดเชื้อ จากการทดลองแรกพบว่าสามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส ในยุง Cx. Tritaeniorhynchus ได้นาน 48 ชั่วโมง ด้วยวิธี RT-PCR และเชื้อไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส สามารถมีชีวิตในยุง Cx. Tritaeniorhynchus ได้นาน 2 ชั่วโมง ภายหลังการกัดและดูดเลือดสุกรทดลองฉีดเชื้อ และผลการทดสอบความสามารถในการนำเชื้อไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส โดยนำยุงติดเชื้อมากัดและดูดเลือดสุกรปลอดเชื้อโดยตรง ตรวจไม่พบเชื้อไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส ในสุกรทุกตัว ในขณะที่พบผลบวกต่อเชื้อไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส ในที่สุกรปลอดเชื้อที่ได้รับการฉีดตัวอย่างยุงบดหลังการกัดและดูดเลือดสุกรทดลองฉีดเชื้อ 30 นาที ด้วยวิธี RT-PCR และ ELISA ผลจากการศึกษาในครั้งนี้พบว่ายุง Cx. Tritaeniorhynchus พบได้มากที่สุดในฟาร์มสุกรมีแนวโน้มนำเชื้อไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส แบบทางกลได้ และไม่สามารถแพร่เชื้อไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส โดยการกัดหรือดูดเลือดได้
Other Abstract: A survey on mosquito species was conducted once a month in a PRRS positive farm in Nakorn Pathom province during May 2004 to April 2005. The mosquito larvae were collected in the vicinity of 1 km and the adult females were captured while feeding on the pigs by using oral aspirators between 6 to 10 pm. Of 91,840 mosquitoes, there were 3 genus and 6 species as the following Culex tritaeniorhynchus, Cx. Gelidus, Mansonia uniformis, Ma. Annulifera, Anopheles vagus and An. Peditaeniatus with the predominant of Cx. Tritaeniorhynchus (60-95.75%) and Ma. annulifera was the least (0.02-0.05%). Collected mosquitoes larvae include Cx. Tritaeniorhynchus, Cx. gelidus, An. vagus and An. peditaeniatus. To determine whether Cx. Tritaeniorhynchus could serve as a potential vector for PRRSV transmission, 2 experiments were conducted: the duration of PRRSV within the mosquitoes and the PRRSV transmission from the PRRSV-infected pigs to the naive pigs by infected mosquitoes. PRRSV could be detected in mosquito pooled samples for up to 48 hours post feeding on the PRRSV-infected pig (PFP) using RT-PCR, whereas the PRRSV could be isolated from the mosquito samples for up to 2 hours PFP. The results of PRRSV transmission showed that all naive pigs used in the mosquito contact protocol were negative, whereas, the swine bioassay using pooled mosquitoes 30 minutes PFP was positive for PRRSV detection by both RT-PCR and ELISA. The results of this study demonstrated that Cx. tritaeniorhychus, a predominant mosquito species found in a pig farm which was able to transmit PRRSV mechanically and was unlikely to transmit the PRRSV via biting or sucking blood.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8301
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Roongroje_Th.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.