Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83060
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุญชัย แสงเพชรงาม-
dc.contributor.authorไม้ไท เกษสุวรรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T07:35:44Z-
dc.date.available2023-08-04T07:35:44Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83060-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractในการก่อสร้างถนนแอสฟัลต์อิมัลชันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดได้แก่ ชนิดประจุไฟฟ้าเป็นบวก (Cationic Asphalt Emulsion) และ ชนิดประจุไฟฟ้าเป็นลบ (Anionic Asphalt Emulsion) โดยประจุไฟฟ้าของแอสฟัลต์อิมัลชันสามารถส่งผลต่อการยึดเกาะระหว่างมวลรวมชนิดต่างๆ เนื่องด้วยมวลรวมแต่ละชนิดก็มีประจุไฟฟ้าที่แตกต่างกันไป ในการออกแบบถนนนั้นความชื้นก็เป็นส่วนสำคัญที่ต้องคำนึงเนื่องจากความชื้นจะทำให้ถนนมีความแข็งแรงที่ลดลง ซึ่งเป็นผลกระทบหลักที่จะก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น เนื่องจากความชื้นจะทำลายการยึดเกาะระหว่างผิวของวัสดุมวลรวมกับแอสพัลต์ ทำให้เกิดการหลุดลอกของวัสดุมวลรวมจากผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต และเพื่อหลีกเลี่ยงการหลุดลอกของผิวถนนซึ่งอาจก่อให้เกิดผิวทางชำรุดก่อนเวลาอันควร งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นที่จะศึกษาและประเมินคุณสมบัติด้านความต้านทานการหลุดลอก และ คุณสมบัติด้านความต้านทานความเสียหายเนื่องจากความชื้น โดยใช้การทดสอบ Rolling Bottle Test และ Indirect Tensile strength test ซึ่งจะนำแอสฟัลต์อิมัลชันทั้งชนิดประจุบวกและประจุลบ รวมไปถึงการใช้น้ำยางธรรมชาติเป็นส่วนผสม และใช้มวลรวมทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ หินปูนชลบุรี หินปูนสระบุรี และ หินบะซอลต์บุรีรัมย์ โดยในการทดสอบพบว่า แอสฟัลต์อิมัลชันต่างชนิดกันมีผลต่อความต้านทานการหลุดลอกของมวลรวมแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และการเติมน้ำยางธรรมชาติที่ 10% นั้นสามารถเพิ่มค่าความต้านทานการหลุดลอกของหินปูนทั้ง 2 ชนิดได้แต่จะมีค่าลดลงในการเติม 20% และสำหรับในหินบะซอลต์นั้นมีค่าลดลงทั้ง 10% และ 20% ของการเติมน้ำยางพารา และ จากผลการทดสอบ ITS พบว่าสำหรับหินทั้งสามชนิด เมื่อนำไปใช้งานกับแอสฟัลต์อิมัลชันชนิดแอนไอออนิกมีค่าความต้านทานความเสียหายเนื่องจากความชื้นสูงกว่าแอสฟัลต์อิมัลชันชนิดแคทไอออนิก และสำหรับการเติมน้ำยางพาราที่ 10% ทำให้ค่าความต้านทานความเสียหายเนื่องจากความชื้นลดลงเมื่อเทียบกับการที่ไม่เติม-
dc.description.abstractalternativeAsphalt emulsion can be divided into 2 types positively charged (Cationic Asphalt Emulsion) and negatively charged (Anionic Asphalt Emulsion). The electric charge of asphalt emulsion can affect the adhesion between different aggregates. Because each type of aggregate has a different electric charge. In road design moisture is an important factor to consider because Moisture can destroy the adhesion between the aggregate surface and the asphalt. Therefore, this research aims to study and evaluate the properties of stripping resistance and moisture damage resistance properties. Using the Rolling Bottle Test and the Indirect Tensile strength test by using Cationic and Anionic asphalt emulsions and using natural rubber latex (NRL) mixed with three types of aggregates were used. Chonburi limestone, Saraburi limestone, and Buriram basalt. The result was found that Different types of asphalt emulsion had significantly different effects on the stripping resistance of each type of aggregate. The addition of NRL at 10% increased the stripping resistance of both types of limestone but decreased by 20% but in basalt it decreased by 10%. and 20% of the addition of NRL. The ITS test results found that for the three types of rocks mixed with anionic it has higher resistance to moisture damage than cationic type. For the addition of 10% of NRL the resistance to moisture damage is decreased.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.819-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการประเมินความเหมาะสมทางวิศวกรรมของการนำแอนไอโอนิคแอสฟัลต์อิมัลชันและน้ำยางพาราเป็นส่วนผสมในแอสฟัลต์คอนกรีตแบบผสมเย็น-
dc.title.alternativeAn engineering evaluation of using anionic asphalt emulsion and natural rubber in cold-mixed asphalt concrete-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.819-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270222921.pdf8.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.