Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83117
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี | - |
dc.contributor.advisor | สรวิศ เผ่าทองศุข | - |
dc.contributor.author | มงคล มิรัตนไพร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-08-04T07:36:46Z | - |
dc.date.available | 2023-08-04T07:36:46Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83117 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาผลของโอโซนต่อการกำจัดแบคทีเรียกลุ่มวิบริโอในบ่อดินเลี้ยงกุ้งจำลอง โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 ช่วง การทดลองช่วงที่ 1 เป็นการศึกษาลักษณะสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และปริมาณเชื้อก่อโรคกลุ่มวิบริโอในดิน พบว่าดินจากระบบบ่อเลี้ยงกุ้งกลางแจ้งมีค่าพีเอชเป็นกลาง อินทรียวัตถุและอินทรีย์คาร์บอนรวมอยู่ในระดับสูง และมีปริมาณเชื้อก่อโรคกลุ่มวิบริโอในดินเท่ากับ 1.0±0.0x103 ซีเอฟยู/ก. การทดลองช่วงที่ 2 เป็นการหาความเข้มข้นโอโซนตกค้างในน้ำสูงสุด (จุดอิ่มตัว) ในน้ำความเค็ม 5 พีพีที พบว่ามีค่าเฉลี่ย 1.43±0.03 มก./ล. โดยแปรผันอยู่ในช่วง 1.36 – 1.50 มก./ล. และการศึกษาผลของความเข้มข้นโอโซนตกค้างในน้ำ 4 ระดับ ได้แก่ 0.3, 0.6, 1.0 และ 1.5 มก./ล. และระยะเวลาการสัมผัส 5, 10, 30 และ 60 นาที ต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณเชื้อก่อโรคกลุ่มวิบริโอในดิน พบว่าความเข้มข้นโอโซนตกค้างในน้ำ 1.0 มก./ล. ที่ระยะเวลาสัมผัส 30 นาที สามารถกำจัดวิบริโอในดินได้ร้อยละ 98.6 และการทดลองช่วงที่ 3 เป็นการประยุกต์ใช้โอโซนในการควบคุมปริมาณเชื้อก่อโรคกลุ่มวิบริโอในระบบเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในบ่อดินจำลองสภาวะเหมือนจริงเป็นเวลา 45 วัน พบว่าการใช้โอโซนยังสามารถควบคุมปริมาณวิบริโอในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปริมาณวิบริโอในดินในชุดควบคุมมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมีค่าสูงสุด 9.48±1.73x105 ซีเอฟยู/ก. ในขณะที่ชุดทดลองที่มีการปรับสภาพดินด้วยโอโซนมีปริมาณวิบริโอในดินอยู่ในช่วง 6.5±2.12x103 – 1.25±0.29 x105 ซีเอฟยู/ก. ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณวิบริโอในน้ำ ทั้งนี้การเจริญเติบของกุ้งขาวแวนนาไม พบว่าทุกชุดการทดลองมีอัตราการเจริญเติบโตของกุ้งใกล้เคียงกัน เท่ากับ 0.12±0.03 และ 0.13±0.02 ก./วัน อัตราการรอดตายร้อยละ 89.75±11.33 และ 89.60±5.43 และอัตราการแลกเนื้อเท่ากับ 1.96±0.25 และ 1.96±0.20 ตามลำดับ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพารามิเตอร์ทางคุณภาพน้ำอื่นๆ มีค่าไม่แตกต่างกันโดยอยู่ในช่วงที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของกุ้งขาว | - |
dc.description.abstractalternative | This research studied the effect of ozone on Vibrio pathogen removal in a simulated earthen shrimp pond. The experiment was divided into three phases. The first experiment was to study the physical and chemical properties, as well as Vibrio pathogen in the soil. Results found that the soil had a neutral pH and high organic matter and organic carbon. The Vibrio pathogen concentration was 1.0±0.0x103 CFU/g. The second experiment was to determine the maximum ozone concentration (saturated point) in saline water at a salinity level of 5 ppt. Results found that the ozone saturation point was 1.43±0.03 mg/L, with a range of 1.36 – 1.50 mg/L. Additionally, the study examined the effects of residual ozone concentration (ROC) at 4 levels of 0.3, 0.6, 1.0, and 1.5 mg/L and exposure time of 5, 10, 30, and 60 minutes on the change in Vibrio pathogens. Results found that a ROC of 1.0 mg/L was able to eliminate 98.6% of Vibrio pathogens after 30 minutes of contact time. The third experiment was to apply ozone to control Vibrio pathogens in a simulated earthen pond for white shrimp culture over a period of 45 days. The application of ozone proved effective in controlling Vibrio pathogens. In the control set, Vibrio pathogens in the soil continued to increase, reaching the highest level of 9.48±1.73x105 CFU/g. Contrarily, in the experiment set with ozone soil treatment, Vibrio pathogens in the soil ranged from 6.5±2.12x103 to 1.25±0.29x105 CFU/g. This corresponded to the Vibrio pathogen in the water. Results of shrimp growth found that the average daily gain (ADG) in both groups were comparable at 0.12±0.03 and 0.13±0.02 g/day, with survival rates of 89.75±11.33 and 89.60±5.43%, and feed conversion ratio (FCR) of 1.96±0.25 and 1.96±0.20, respectively. Furthermore, the water quality parameters were found to be comparable and within the appropriate conditions for shrimp growth. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.880 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | ผลของโอโซนต่อการกำจัดแบคทีเรียกลุ่มวิบริโอในบ่อดินเลี้ยงกุ้งจำลอง | - |
dc.title.alternative | Effect of ozone on vibrio removal in simulated earthen shrimp pond. | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2022.880 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6370447921.pdf | 6.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.