Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83228
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุ่นเรือน เล็กน้อย-
dc.contributor.authorกณภัทร รุ่งเรืองวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2023-08-04T07:48:43Z-
dc.date.available2023-08-04T07:48:43Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83228-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรในการลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูง และเพื่อจัดทำแนวทางในการลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูง โดยกรณีศึกษาน้ำพางโมเดล จังหวัดน่าน เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการที่มีการขับเคลื่อนการลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการลดการเผาเศษซากวัสดุทางการเกษตร และลด PM 2.5 และช่วยให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทำกินของตนได้ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการน้ำพางโมเดล และเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลโครงการน้ำพางโมเดลรวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 คน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ด้วยวิธีสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล ผลการวิจัยได้ถูกวิเคราะห์และสรุปออกมาเป็น 5 กระบวนการ ประกอบด้วย 1)กระบวนการสร้างความเข้าใจร่วมกัน โดยการจัดตั้งเวทีเพื่อพูดคุยให้ตระหนักถึงปัญหาและคิดหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน จากนั้นจึงเกิดเป็น 2)กระบวนการรวมกลุ่มน้ำพางโมเดล เพื่อความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนชุมชนและการรักษาผืนป่า เช่น การเข้าร่วมโครงการและการตั้งวิสาหกิจชุมชน 3)กระบวนการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร โดยการจัดอบรมเพื่อพัฒนาและต่อยอดความรู้ด้านการเกษตร 4)กระบวนการร่วมกันสร้างระบบนิเวศป่าคือ การรักษาผืนป่าผ่านกิจกรรมปลูกป่า บวชป่า ทำแนวกันไฟ เป็นต้น และ 5)การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ทั้งในด้านเงินทุน ความรู้ รวมถึงกล้าพันธุ์ไม้ เพื่อให้โครงการน้ำพางโมเดลดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการศึกษาแนวทางการลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูงผู้วิจัยได้วิเคราะห์และสรุปแนวทาง ประกอบด้วย 1) การระดมความคิดของเกษตรกรที่เกี่ยวข้อง 2) การสร้างความเชื่อมั่น 3) การประกอบอาชีพเสริม 4) การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก 5) การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน 6) การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต โดยความยั่งยืนของโครงการสะท้อนผ่านความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างอย่างยืนเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิในที่ดินทำกินควบคู่กับการรักษาผืนป่าให้คงอยู่สืบไป-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research was to study the important processes that affect the farmer decision to reduce the highland maize cultivation and to study the guidelines for reducing the highland maize cultivation. The case study is Nam Pang model project in Nan, a province at North of Thailand. Successfully, the project supported the reduction of the highland maize cultivation: decreasing the stubble burning with PM 2.5 and causing people to use lands legally and rights to utilize land. The key informants are staffs and farmers 13 person. The methodology was done by semi-structured interview and individual interview. The research results were analyzed in 5 processes: 1) Mutual understanding by forum for solving and finding the solution together., 2) Nam Pang model integration for efficient operation such as community enterprise establishment., 3) Passing on knowledge by seminar to expand more agricultural knowledge., 4) Restoration is the activities that preserve the forest such as the ordination of a tree, firebreak etc. and 5) Cooperation with external agencies in terms of funding, knowledge and seedling etc. for the efficiency of this project. The guidelines for reducing the highland maize cultivation were analyzed in 6 items 1) Brainstorming., 2) Confident creation., 3) Multiple jobs promoting., 4) To obtain a supporting from outside organizations., 5) Community enterprise establishment and 6) Tourism development. The sustainability of the project is reflected through the consistency of the sustainable development goals.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.696-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleกระบวนการลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูงกรณีศึกษาน้ำพางโมเดล จังหวัดน่าน-
dc.title.alternativeThe process of reducing the highland maize monoculture: a case study of Nam Pang model project-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพัฒนามนุษย์และสังคม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.696-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380005520.pdf4.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.