Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83433
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีรภัทร กุโลภาส-
dc.contributor.authorสุนิสา ยาไทย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-22T04:28:50Z-
dc.date.available2023-08-22T04:28:50Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83433-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษาหลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษา หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดการให้บริการที่เป็นเลิศ โดยการเก็บข้อมูลจากบุคลากรสายปฏิบัติการในหลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท รวมจำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้ดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI [Modified]) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษา หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดการให้บริการที่เป็นเลิศ พบว่า สภาพปัจจุบันของการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษาหลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยที่สูงที่สุด คือ การมุ่งมั่นพัฒนาผลการปฏิบัติงานและด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การปฏิบัติงานที่บรรลุเป้าหมายและความคาดหวังอย่างต่อเนื่อง และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการกการศึกษา หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดการให้บริการที่เป็นเลิศ เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การแสวงหาคำท้ายท้ายใหม่ ๆ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การมุ่งมั่นพัฒนาผลการปฏิบัติงานและความมุ่งมั่นสร้างความเป็นเลิศในระดับมหาวิทยาลัย 2. แนวทางพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษา หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดการให้บริการที่เป็นเลิศ ประกอบด้วย 2 แนวทางดังนี้ 1) การพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษา หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สามารถปฏิบัติงานที่บรรลุเป้าหมายและความคาดหวังอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษาในระหว่างการปฏิบัติงาน ด้วยวิธีการให้คำปรึกษา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการสอนงาน 2) การพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้สามารถแสวงหาความท้าทายใหม่ ๆ ด้วยการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษานอกเวลาการปฏิบัติและในระหว่างการปฏิบัติงาน ด้วยวิธีการฝึกอบรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการศึกษาดูงานen_US
dc.description.abstractalternativeThis research is aimed at 1) studying the current conditions and desirable characteristics of developing the administrative staff of Chulalongkorn University’s International Programs 2) offering approaches to developing the administrative staff of Chulalongkorn University’s International Programs according to the concept of Service Excellence. The study was conducted by using data collection gained from 35 administrative staffs working in International Programs whose educational backgrounds range from bachelor’s degree to master’s degree. The research tools are questionnaires, appropriateness and possibility assessment, and qualitative data analysis which includes frequency, percentage, mean, standard deviation, priority needs index (PNI [Modified]), and content analysis. The findings of the research are as follows. 1. With regard to the current conditions, desirable characteristics and needs of developing the administrative staff of Chulalongkorn University’s International Programs according to the concept of Service Excellence, the findings of the current conditions of developing the administrative staff of Chulalongkorn University’s International Programs show that, when taking all areas into consideration, commitment to improving work performance displays the highest mean while delivering a performance that meets targets and expectations continuously displays the lowest mean. The findings of the desirable characteristics of developing the administrative staff of Chulalongkorn University’s International Programs according to the concept of Service Excellence show that, when taking all areas into consideration, seeking new challenges displays the highest mean while commitment to improving work performance and increasing operational excellence on a university level displays the lowest mean. 2. The approaches to developing the administrative staff of Chulalongkorn University’s International Programs according to the concept of Service Excellence can be offered in 2 ways as the following 1) developing the administrative staff of Chulalongkorn University’s International Programs during working hours by way of consulting, knowledge sharing and teaching so as to deliver a performance that meets targets and expectations continuously 2) developing the administrative staff outside of working hours and during working hours by way of training, knowledge sharing, and participating in field trips so as to seek new challenges.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.474-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- การพัฒนาบุคลากรen_US
dc.titleแนวทางพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษา หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดการให้บริการที่เป็นเลิศen_US
dc.title.alternativeApproaches to developing administrative staffs of Chulalongkorn University's International Programs According to The Concept of Excellence Serviceen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.474-
Appears in Collections:Edu - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mp_6280154127_Sunisa_Ya.pdf201.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.