Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83453
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ญวรา ชูประวัติ-
dc.contributor.authorศิริพร ศรีวงษ์ญาติดี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-23T06:31:27Z-
dc.date.available2023-08-23T06:31:27Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83453-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร ตามแนวคิดจรณทักษะ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร ตามแนวคิดจรณทักษะ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบแบบบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร และผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครู โรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร รวมทั้งสิ้นจำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยมและใช้เทคนิคดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) การพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักรตามแนวคิดจรณทักษะ ที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ รองลงมา คือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร และ การวัดและประเมินผล ตามลำดับ ซึ่งองค์ประกอบจรณทักษะที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การคิดขั้นสูง 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร ตามแนวคิดจรณทักษะ โดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น 4 อันดับ มีทั้งหมด 4 แนวทาง ดังนี้ (1) พัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา โดยวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มุ่งเน้นส่งเสริมจรณทักษะ ด้านการคิดขั้นสูง ภาวะผู้นำ และการสื่อสาร (2) พัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำแผนการเรียนรู้ โดยบูรณาการแนวคิดจรณทักษะ ด้านการคิดขั้นสูง ภาวะผู้นำ และ การสื่อสาร ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ (3) ยกระดับการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยการเพิ่มพื้นที่นักประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีจรณทักษะด้านการคิดขั้นสูง ภาวะผู้นำ และการจัดการเวลา และ (4) ปรับปรุงการดำเนินการวัดและประเมินผลของสถานศึกษาให้เป็นไปตามสภาพจริง มุ่งเน้นการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ตามแนวคิดจรณทักษะ ด้านการคิดขั้นสูง ภาวะผู้นำ และการจัดการเวลาen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to 1) investigate the need for the development of academic management of schools under the Thammajak Consortium based on the concept of soft skills and 2) propose approaches for the development of academic management of schools under the Thammajak Consortium based on the concept of soft skills through a descriptive research method. The population was the schools of the Thammajak Consortium, and the research informants were the principals and teachers of the schools, a total of 162 people. The data collection instruments were a questionnaire with rating scale and a form with rating scale for appropriateness and possibility of evaluation form. The quantitative data were analyzed using descriptive statistics to obtain frequency, percentage, mean, standard deviation, mode, and a modified Priority Needs Index (PNI [modified]) to analyze priorities of the needs. The results were as follows: 1) The first priority needed for the development of academic management of the schools was the development of teaching materials andlearning resources. The lower priorities for development were learning process, curriculum, and, measurement and evaluation, respectively. 2) Approaches to develop academic management of the schools presented in order of priority needed. There are 4 approaches: (1) Developing a school curriculum by analyzing the priorities required in setting the objectives of the course, focusing on promoting higher order thinking, leadership and communication. (2) Develop the learning process by encouraging teachers in all departments to integrate higher order thinking, leadership and communication into learning plans. (3) Improve the creation and development of learning resources by expanding the Makerspace to improve students' higher order thinking, leadership and time management. (4) Develop authentic measurement and evaluation of schools focusing on learning outcomes in higher order thinking, leadership and time management.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.355-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการบริหารการศึกษาen_US
dc.subjectโรงเรียน -- ไทย -- ชัยนาท-
dc.subjectSchools -- Thailand -- Chai Nat-
dc.titleแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร ตามแนวคิดจรณะทักษะen_US
dc.title.alternativeApproaches for developing academic management of schools under Thammajak consortium based on the concept of soft skillsen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2021.355-
Appears in Collections:Edu - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mp_6380165127_Siriporn_Sriwongyaddee.pdf154.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.