Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83476
Title: ทัศนคติของเกษตรกรชาวสวนทุเรียนที่มีต่อการรวมกลุ่มทางการเกษตรในจังหวัดจันทบุรี
Other Titles: Attitude of Durian farmers toward farmer organization in Chantaburi
Authors: สุประวีณ์ หมื่นนาค
Advisors: สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เกษตรกร -- การรวมกลุ่ม
เกษตรกร -- การรวมกลุ่ม -- ไทย -- จันทบุรี
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของเกษตรกรชาวสวนทุเรียนที่มีต่อการ รวมกลุ่มทางการเกษตรในจังหวัดจันทบุรี โดยสมมติฐานของการศึกษาในครั้งนี้ คือ จำนวนผลผลิต ของเกษตรชาวสวนทุเรียนมีอิทธิพลทางตรงต่อการตระหนักถึงประโยชน์ของการรวมกลุ่มทาง การเกษตร โดยที่การตระหนักถึงประโยชน์ของการรวมกลุ่มมีอิทธิพลทางตรงต่อความสนใจในเข้า ร่วมกลุ่มทางการเกษตร ใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างในการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบ สมมติฐาน ใช้แบบสอบถามในการรวมรวมข้อมูลเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดจันทบุรี เป็น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 220 คน จากผลการศึกษาและผลลัพธ์จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า อิทธิพลของจำนวน ผลผลิตของเกษตรกรที่มีต่อการตระหนักถึงประโยชน์ต่อการรวมกลุ่มไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และยัง พบว่าการตระหนักถึงประโยชน์ของการรวมกลุ่มมีอิทธิพลทางตรงต่อความสนใจในเข้าร่วมกลุ่มทาง การเกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตระหนักถึงประโยชน์ในด้านการ ยกระดับการเข้าถึงตลาดของเกษตรกร และการเพิ่มอำนาจการต่อรองทางการค้าของเกษตรกร
Other Abstract: The purpose of this study is to examine the attitude of durian farmers toward the participation in the farmer organization to be formed in Chantaburi. The study hypothesizes that the size of the farmers' annual output affects the farmers' awareness of cooperative benefits which in turn influences the farmers' interest to participate in the organization. The hypothesis lends itself to the Structural Equation Modelling (SEM). The study collects data through a questionnaire survey of a sample of 220 durian growers in Chantaburi. The analysis results show that the relationship between the farmers' output and the awareness of cooperative benefits is not significant. Additionally, the results indicate that the interest to participate in the farmers' organization is significantly influenced by the farmers' awareness of cooperative benefits especially the benefit in enhancing farmers' access to markets and in empowering farmers' bargaining power in trade.
Description: สารนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83476
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.219
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2022.219
Type: Independent Study
Appears in Collections:Grad - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480078420_Supawee_Muen_2565.pdfสารนิพนธ์ (ให้บริการเฉพาะบทคัดย่อ)3.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.