Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83526
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | นุชนาฏ หวนนากลาง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข | - |
dc.date.accessioned | 2023-09-21T03:33:43Z | - |
dc.date.available | 2023-09-21T03:33:43Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83526 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยวสูงวัยในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวส่งเสริมสุขภาพของนักท่องเที่ยวสูงวัย การศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาที่เป็นนักท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 64.1) จำนวน 2 ใน 3 มีอายุระหว่าง 50-60 ปี มีเพียง 1 ใน 3 ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป นักท่องเที่ยวมากกว่าร้อยละ 50 มีสถานภาพสมรสคู่อยู่ด้วยกัน และส่วนใหญ่มีการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป (ร้อยละ 63.2) และมากกว่า 1 ใน 3 มีรายได้มากกว่า 50,000 บาท (ร้อยละ 35.4) นักท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพสูงวัยที่มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพเป็นหลักสามลำดับแรก ได้แก่ การไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม พักผ่อนสุดสัปดาห์/ระยะยาวยังรีสอร์ทที่มีน้ำพุร้อน และไปพักยังสถานบริการสุขภาพเพื่อนวดแผนไทย/นวดเพื่อสุขภาพ (ร้อยละ 22.0, 16.5 และ 15.0) การตามลำดับและมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพเป็นรองสามลำดับแรก ได้แก่ ไปเที่ยวท่องและแวะไปปฏิบัติธรรมและนั่งสมาธิ ไปท่องเที่ยวและแวะไปนวดแผนไทย/นวดเพื่อสุขภาพ ไปท่องเที่ยวและแวดใช้บริการน้ำพุร้อนเป็นส่วนหนึ่งในการท่องเที่ยว (ร้อยละ 28.4, 26.4 และ 24.9) การไปรับบริการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ มีร้อยละ 35.9 ส่วนใหญ่เดินทางไปท่องเที่ยวกับครอบครัว (ร้อยละ 54.2) และเดินทางโดยรถส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 54.2) สำหรับสถานที่พักแรมที่นักท่องเที่ยวเชิงสุภาพสูงวัยนิยมไปพักแรมมากที่สุดคือรีสอร์ท (ร้อยละ 45.4) จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเพื่อศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพพบว่าแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบได้แก่ ด้านความต้องการทางสุขภาพ โปรแกรมและการให้บริการ และการเรียนรู้ทางด้านจิตใจ | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- การท่องเที่ยว | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- ไทย -- กรุงเทพฯ | en_US |
dc.subject | การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ | en_US |
dc.subject | Older people -- Travel | en_US |
dc.subject | Older people -- Thailand -- Bangkok | en_US |
dc.subject | Medical tourism | en_US |
dc.title | การศึกษาความต้องการและพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงวัยในเขตกรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.title.alternative | Need assessment and behavior of wellness tourism among senior citizen in Bangkok | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
Appears in Collections: | Pub Health - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nuchanad_Ho_Res_2563.pdf | 28.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.