Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83546
Title: นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ไหมขัดฟันที่มีสารสกัดจากเปลือกทุเรียนสำหรับป้องกันฟันผุ : รายงานการวิจัย
Other Titles: Product innovationof dental floss impregnated with Durian hulls extract for caries protection
Authors: กนกทิพย์ บุญเกิด
สุนันท์ พงษ์สามารถ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: เส้นใยขัดฟัน
Dental floss
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไหมขัดฟันต้นแบบที่มีสารป้องกันฟันผุจากสารสกัดเปลือกทุเรียน โดยทำการศึกษาความเข้มข้นของสารพอลิแซคคาไรด์ (PG) และสภาวะที่เหมาะสมในกระบวนการเคลือบสาร PG บนเส้นไหม โดยทำการศึกษาความเข้มข้นของสารละลาย PG ตั้งแต่ 4-8% พบว่า เมื่อพิจารณาปริมาณ PG ที่เคลือบอยู่บนเส้นไหม ความเข้มข้นของสารละลาย PG ที่ดีที่สุด คือ 6% ในน้ำกลั่น อย่างไรก็ตามเส้นไหมที่ได้ในขั้นต้นมีลักษณะแข็ง และสาร PG ที่เคลือบบนเส้นไหมจะมีลักษณะเปราะและหลุดจากเส้นไหมได้ง่าย จึงจำเป็นต้องเติมกลีเซอรอลเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น มีอัตราส่วนระหว่างน้ำกลั่นต่อกลีเซอรอลที่ใช้ดังนี้ 90:10 80:20 และ 70:30 การใช้กลีเซอรอลที่สัดส่วนสูงกว่า 30 จะทำให้ PG ไม่สามารถละลายได้ โดยอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด อยู่ที่ 90:10 สำหรับสภาวะที่ใช้ในกระบวนการเคลือบเส้นไหมอย่างต่อเนื่องซึ่งดัดแปลง โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากกระบวนการเคลือบแบบแบทช คือ ใช้เวลา 2 นาทีในขั้นตอนการเคลือบ และ 3 นาทีในขั้นตอนการอบเส้นไหมให้แห้งโดยให้ลมร้อนที่อุณหภูมิ 70℃ ผลการทดสอบการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus mutans ของไหมขัดฟันต้นแบบเทียบกับไหมขัดฟันที่มีจำหน่ายในท้องตลาดที่มีฟลูออไรด์และไหมขัดฟันที่ไม่เคลือบแว็กซ์ พบว่าไหมขัดฟันต้นแบบสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ 99% ในขณะที่ไหมขัดฟันที่มีจำหน่ายในท้องตลาดและไหมขัดฟันที่ไม่เคลือบแว็กซ์ไม่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ (0%) จากการสำรวจความสนใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์จะอยู่ที่ 86.3% โดยกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์แล้วร้อยละ 85 สนใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ที่ใช้หารมีการวางจำหน่าย
Other Abstract: The purposes of this research were to develop the prototype of dental floss incorporating durian hulls extract for caries protection and study its feasibility. After that, the suitable polysaccharide (PG) concentration and proper coating process were studied. Within the range of 4-8% of PG in distilled water, the concentration of 6% PG solution was the best concentration based on the optimum of PG coated on dental floss. However, the first generation of product was rigid and the PG coated on dental floss was also brittle. Thus, glycerol (plasticizer) was needed to enhance the flexibility The ratios of glycerol (plasticizer) to distilled water were varied from 10:90, 20:80, and 30:70. The higher ratio could not be used due to the poor dissolution of PG in the mixture. The best ratio was 10:90. The suitable continuous process adopted from the result of batch process was 2 min for the coating step and 3 min for the drying step at 70℃. The result of the antimicrobial activities testing against Streptococcus mutans showed that antimicrobial activities of dental floss incorporating with PG was 99%, while those of fluoride dental floss and unwaxed nylon dental floss were 0%. Result from the survey of product concept acceptance before development of the prototype show that 86.3% of consumers were interested in this product. After trial, 85% of sampling was interested to purchase this product.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83546
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanoktip_Bo_Res_2554.pdf118.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.