Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83697
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ศักดิ์ชัย สายสิงห์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา | - |
dc.date.accessioned | 2023-10-19T10:22:55Z | - |
dc.date.available | 2023-10-19T10:22:55Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83697 | - |
dc.description.abstract | งานพุทธศิลป์ในดินแดนไทยปรากฏตั้งแต่ยุคแรกเริ่มเมื่อมีการรับวัฒนธรรมทางศาสนา ก่อนที่จะมีหลักฐานการสร้างพระพุทธรูปเองตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 9-10 เป็นต้นมา และมีการยอมรับนับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาทสืบต่อมาทุกยุคสมัย ตั้งแต่สมัยทวารวดี จนถึงปัจจุบัน บทบาทของงานพุทธศิลป์ไทยในอาเซียนนั้นแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 งานพุทธศิลป์ไทยที่รับมาจากประเทศอาเซียน บทบาทของพุทธศาสนาจากประเทศเพื่อบ้านที่มีต่องานศิลปกรรมไทยมากที่สุดได้แก่จากประเทศพม่า ในสมัยพุกาม ที่ถือเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนา แบบเถรวาทที่สำคัญรองลงมาจากศรีลังกา ภายหลังจากศาสนาพุทธหมดไปจากอินเดีย งานพุทธศิลป์ไทยมีการรับแหล่งบันดาลใจมาจากศิลปะพุกกามมากที่สุด คือ ศิลปะล้านนา รองลงมาคือสุโขทัย ส่วนศิลปะจากประเทศอื่น ๆ ปรากฏอยู่น้อยมาก เช่น จากชวาภาคกลาง แทรกเข้ามาในส่วนของพุทธศิลป์แบบมหายานในสมัยศรีวิชัยและทวารวดี และศิลปะเขมรมีบทบาทในเรื่องของรูปแบบศิลปกรรมกับคติความเชื่อที่ปรากฏในงานสถาปัตยกรรม เช่น เจดีย์ทรงปรางค์พัฒนามาจากปราสาทเขมร กับรูปแบบของพระพุทธรูปบางยุคสมัย พุทธศิลป์จากเวียดนามปรากฏหลักฐานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากดินแดนไม่ได้ติดต่อกันและต่างศาสนากัน โดยจะมาปรากฏในสมัยรัตนโกสินทร์ที่มีชาวเวียดนามได้เข้ามาพึงพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย กับส่วนหนึ่งมีงานช่างญวนที่มาสร้างสิมแถบภาคอีสาน ส่วนที่ 2 บทบาทของงานพุทธศิลป์ไทยต่อประเทศอาเซียน งานพุทธศิลป์ไทยมีอยู่มากต่อพุทธศิลป์ลาว ด้วยเหตุที่เป็นประเทศที่รับพุทธศาสนาแบบเถรวาทด้วยกัน มีอาณาเขตติดต่อกันและมีความสัมพันธ์ทางด้านภาษา วัฒนธรรมและการเมือง ทำให้งานพุทธศิลป์ลาวมีความใกล้เคียงกับพุทธศิลป์ไทย โดยรับรูปแบบไปจากไทยตั้งแต่สมัยทวารวดี สุโขทัย ล้านนา อยุธยาและรัตนโกสินทร์ งานพุทธศิลป์ไทยมีบทบาทรองลงมากจากลาว คือ กัมพูชาตั้งแต่หลังพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ที่อาณาจักรกัมพูชาโบราณล่มสลายลง ชาวเขมรได้เปลี่ยนมารับพุทธศาสนาแบบเถรวาทและบางช่วงเวลาได้มาอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของอาณาจักรสยามทำให้มีการรับแบบแผนประเพณี วัฒนธรรมไทยรวมทั้งงานพุทธศิลป์ ในส่วนของพม่าพุทธศิลป์ไทยแทบไม่มีบทบาทต่อพม่าเลยด้วยเหตุที่พม่าเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมทางศาสนาและงานพุทธศิลป์ที่มีความเข้มแข็งเป็นของตัวเองสูง งานพุทธศิลป์ไทยเข้าไปปรากฏอยู่ในสมัยอยุธยาตอนปลายต่อรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยชาวไทยที่ถูกกวาดต้อนไปในสมัยสงครามเสียกรุงครั้งที่ 2 ซึ่งเหลือหลักฐานอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น | en_US |
dc.description.abstractalternative | The Thai Buddhist artistic works can be traced back to the early period of Buddhism spreading into present-day Thailand. By the 4th-6th centuries A.D., Buddha images were made by the local of this land. Moreover, Buddhism has been practiced here since the Dvaravati period. The roles of Thai Buddhist art in SEA can be divided into 2 parts. PartI As the artistic works receiving the influence of other places in SEA The most important artistic influence found in the creation of the Thai Buddhist art works was from Myanmer. In the Pagan period, this land, as important as Lanka, was a center of Theravada Buddhism. The art, which was influenced most by Pagan art, was the Lanna art and the Sukhothai art successively. As for the arts in other places of SEA, they played lesser important roles. For example, the influence of Central Javanese art was discovered a little bit in the Mahayana Buddhist art works of architecture in the aspects of styles and concepts, as well as on the Buddha images of some periods. For the Viet art, due to the long distance between Vietnam and Thailand and the difference of religious sects, its influence was lest and found mainly in Bangkok of the Rattanakosin period and in the northeastern part of Thailand. Part II As the artistic works influencing the other arts in SEA The Thai Buddhist art played the most important role on the Lao Buddhist art, probably because both lands have practiced Theravada Buddhism and their boundaries are connected. Besides, their cultures, languages and politics have been related to each other. The Lao Buddhist art has been influenced by the Thai Buddhist art since the Dvaravati period. However, its influence on the Khmer art was lesser. Since the collapse of the Khmer empire in the 14th century A.D. onwards, the Khmer have practiced Thervada Buddhism and been under the control of Siam some times. This factor has led the Khmer to accept the tradition, culture and Buddhist art from Thailand. As for the art in Myanmar, the influence of the Thai Buddhis art was scarce because Myanmar itself had a well established religious culture and its art has dits own unique characteristics. However, during the late Ayutthaya and the early Rattanakosin periods, the influence of the Thai Buddhist art was found in Myanmer due to the settlement of the herded Siamese. However, there were just a little bit of its traces. | en_US |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนอุดหนุนจากโครงการวิจัยศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2561 | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ศิลปกรรมพุทธศาสนา | en_US |
dc.subject | พุทธศาสนากับศิลปกรรม | en_US |
dc.title | พุทธศิลป์ไทยในบริบทอาเซียน : รายงานวิจัย | en_US |
dc.title.alternative | Thai Buddhist art in the Southeast Asian Context | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
Appears in Collections: | CUBS - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sakchai_Sa_Res_2561.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 399.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.