Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83719
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอำพล บุดดาสาร-
dc.contributor.authorวัชระ งามจิตรเจริญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2023-11-14T06:45:10Z-
dc.date.available2023-11-14T06:45:10Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83719-
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการประยุกต์หลักมงคลชีวิต 38 ประการ เพื่อการดำเนินชีวิตในสังคมไทย” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักมงคลชีวิต 38 ประการ ในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อวิเคราะห์การประยุกต์หลักมงคลชีวิต 38 ประการ ในการดำเนินชีวิตของชาวพุทธในสังคมไทย และ 3) เพื่อสร้างรูปแบบการประยุกต์หลักมงคลชีวิต 38 ประการเพื่อการดำเนินชีวิตในสังคมไทยตามหลักพระพุทธศาสนา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยมีการเก็บข้อมูลจากเอกสารและจากภาคสนามคือการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างของชาวพุทธไทย จำนวน 10 คน และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 5 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า หลักมงคลชีวิต 38 ประการ ที่ปรากฏในมงคลสูตรมีเฉพาะข้อธรรมที่อธิบายไว้อย่ารวบรัด สั้นกระชับ ไม่มีรายละเอียดของวิธีการหรือหลักการในการนำมาปฏิบัติ ตามคำอธิบายในอรรถกถาของมงคลสูตรและคัมภีร์มังคลัตถทีปนี มงคลหลายข้อมีความหมายใกล้เคียงกันและหลายข้อที่นักวิชาการตีความแตกต่างกัน และในการนำหลักมงคลชีวิตไปปฏิบัติชาวพุทธในสังคมไทยใช้วิธีการประยุกต์หลักมงคลชีวิต 38 ประการในชีวิตประจำวันอย่างหลากหลาย บางข้อก็ไม่ตรงกับคำอธิบายในคัมภีร์ บางข้อเข้าใจคลาดเคลื่อน บางข้อเข้าใจว่าไม่สามารถปฏิบัติได้เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับโลกุตระ ส่วนหลักเกณฑ์ในการประยุกต์ใช้หลักมงคลชีวิต 38 ประการ ของชาวพุทธในสังคมไทยมีหลายอย่าง เช่น การเลือกปฏิบัติตามความ สามารถของตน การปรับหลักมงคลชีวิตให้ง่ายลงเพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ รูปแบบการประยุกต์หลักมงคลชีวิต 38 ประการเพื่อการดำเนินชีวิตในสังคมไทยประกอบไปด้วยหลักการพื้นฐาน จุดมุ่งหมาย หลักเกณฑ์ในการประยุกต์ และวิธีการประยุกต์หลักมงคลชีวิต 38 ประการ ตามรูปแบบนี้ ชาวพุทธควรปฏิบัติหลักมงคลชีวิตโดยไม่ต้องเรียงลำดับข้อ แต่ให้เลือกปฏิบัติตามความเหมาะสมและปฏิบัติในลักษณะเป็นองค์รวมครอบคลุมมงคลชีวิตทุกระดับ โดยให้มีทั้งจุดมุ่งหมายหลักคือนิพพานและจุดมุ่งหมายรองที่ต้องการในชาตินี้ รวมทั้งผู้ปฏิบัติสามารถใช้หลักเกณฑ์ที่หลายหลายในการเลือกหลักมงคลชีวิตแต่ละข้อมาปฏิบัติ ซึ่งวิธีการปฏิบัติหลักมงคลชีวิตคนทั่วไปก็สามารถทำได้ทุกข้อรวมทั้งหลักมงคลชีวิตระดับสูงen_US
dc.description.abstractalternativeThis research work entitled ‘A Model of Application of the 38 Mangala for Living in Thai Society’ aims to : 1) study the 38 blessings in Buddhism, 2) analyze the application of the 38 blessings of life in Thai Buddhist society and 3) to form and application model of 38 blessing of life for Thai society based on Buddhism. It was a qualitative research by collecting data from documents and field work, including interviews with a sample of ten Thai Buddhists and in-depth interviews with five Buddhist scholars. The findings were that the 38 blessings appeared in Mangalasutta are only briefly described and explained without details of any method or principle in practical aspect presented. According to the commentary of the said discourse and Mangalatthadipani scripture, many blessings have similar explanations or meanings and different interpretations of scholars had been found obviously. To apply to 38 blessings of life to Thai Buddhist society, it found various ways to apply each theme in practical life but some of them did not match the description in the scriptures, some incorrect, even some themes were believed to be impracticable because they concern the supramundane states. There are many criteria for applying the 38 blessings of life in the Thai Buddhist society, such as following it as much as one can and making the principle easier for the practice in everyday life. The model of applicating the 38 blessings of life for Thai society consists of basic principles, objectives, criteria and methods of 38 blessings of life application. According to this model, Buddhists should follow the 38 blessings of life not in ascending order, but by choosing the appropriate themes and conducting in a holistic manner, covering various themes of the blessings of life in all levels, by focusing on its main objective or Nibbana and secondary objectives in this life. In addition, the practitioners can use a variety of criteria to select some themes of blessings of life to conduct for themselves. Ordinary people can also follow all of these 38 blessings of life, including the higher level of blessings.en_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนจากโครงการวิจัยพุทธศาสน์ศึกษา ของศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2561en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectมงคลสูตรen_US
dc.subjectพุทธศาสนากับสังคมen_US
dc.titleรูปแบบการประยุกต์หลักมงคลชีวิต 38 ประการ เพื่อการดำเนินชีวิตในสังคมไทย : รายงานวิจัยen_US
dc.title.alternativeA model of application of the 38 Mangala for living in Thai societyen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:CUBS - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amphon_Bu_Res_2561.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)99.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.