Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8385
Title: | ปัญหาการขนส่งสินค้าระบบตู้คอนเทนเนอร์ด้วยรถไฟ : เส้นทางสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง-ท่าเรือแหลมฉบัง |
Other Titles: | Problems of container transport system by train : Latkrabang inland container depot - Laem Chabang port service route |
Authors: | ธงชัย เจริญสวัสดิ |
Advisors: | กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ วรวุฒิ มาลา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Kamonchanok.s@chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การบริหารงานโลจิสติกส์ สินค้า -- การขนส่ง การขนส่งทางรถไฟ รถไฟ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพปัญหาในการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์จาก ICD ลาดกระบังถึงท่าเรือแหลมฉบังผ่านทางรถไฟ และทำการศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้รับสัมปทานที่ ICD ลาดกระบัง สายเรือผู้รับขนสินค้าระหว่างประเทศและผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพในการขนส่ง สร้างกรอบแนวคิดด้วยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องแบบเจาะลึก นำมาวิเคราะห์เชิงคุณภาพได้ประเด็นปัญหา 3 ประเด็น ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน การบริหารจัดการ และการบริการ จากนั้นทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 ตัวอย่าง แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพในการขนส่งตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ทางรถไฟ ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานที่กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มพบมากที่สุด ได้แก่ ระบบทางเดี่ยว ทำให้เวลาในการขนส่งล่าช้า รองมาคือ รถจักรเก่ามีประสิทธิภาพในการขนส่งน้อยและขีดความสามารถของรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้ารองรับน้ำหนักตู้สินค้าไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ส่งผลให้ผู้ใช้บริการพบปัญหาในการจัดการเรื่องการยกขน ส่วนปัญหาด้านการบริหารจัดการกลุ่มตัวอย่างพบมากที่สุด ได้แก่ ปัญหาการขนย้ายเมื่อเปลี่ยนระบบการขนส่ง(Mode) ไปยังระบบอื่น เช่น เรือหรือรถยนต์ การประสานงานระหว่างหน่วยงานภายในไอซีดีและแหลมฉบังมีความล่าช้า สำหรับปัญหาด้านบริการที่พบมากที่สุด ได้แก่ ขีดความสามารถในการขนส่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ ความตรงต่อเวลา และภาพลักษณ์แบบระบบราชการที่มีเงื่อนไขและขั้นตอนซ้ำซ้อนไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร |
Other Abstract: | The purpose of this research has been to study the problems with a container transport system linking Latkrabang ICD (Inland container depot) and Laem Chabang port by rail.The main methodology was to survey and compare the opinions of ICD service operators, liners and freight forwarders using problem analysis and resolution. Primary data was gathered from in depth interviews with executive managers relating to rail transportation and Secondary data was gathered from textbooks and documents. Data analysing the barriers in infrastructure, administration and services was collected using questionnaires.The results demonstrated that most barriers related to the infrastructure of the single rail track system, old locomotives and the limitation of the standard capacity of wagon payload weight that negatively affected transit time and container handling management. The administration barriers are due to the lack of modal shift into multimodality and organizational coordination problem with Latkrabang ICD and Laem Chabang port. The last barriers to services are that the transportation capacity is insufficient to meet the needs of the customers, accuracy schedule time and the inconvenience resulting from the conditions and duplicate processes required to comply with the government’s culture image. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8385 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1572 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1572 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thongchai.pdf | 1.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.