Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83974
Title: ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
Other Titles: The effect of health literacy enhancement program on fluid retention prevention behavior in persons with heart failure
Authors: ปริญญา ยอดอาษา
Advisors: ปชาณัฏฐ์ นันไทยทวีกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว เพศชายและหญิง อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องเพศ อายุ ระดับการศึกษา แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำเกิน และแบบสอบถามประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจล้มเหลวและภาวะน้ำเกิน ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .95 และ .80 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้   1. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่ได้รับโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this pre-post quasi-experimental research was to study the effect of health literacy development program on fluid retention prevention behavior in persons with heart failure. The participants were persons with heart failure, both males and females, aged 18 years and over. They were assigned by purposive sampling technique and equally divided into control and experimental groups (30 for each group) with matched pair technique by age, sex, education level. The control group received conventional nursing care, while the experimental group participated in the health literacy development program and conventional nursing care.  The research instruments included the questionnaire of behavior to prevent fluid retention and assessing health literacy regarding heart failure and fluid retention examined by five experts. The instruments had been accepted the content validity indexes of .95 and .80 including the reliability coefficient of .91 and .93, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test. The results revealed as follows: 1. The mean score of fluid retention prevention behavior with heart failure in the experimental group after participating the health literacy development program was significantly higher than that before participating in the program (p-value < .05).  2. The mean score of fluid retention prevention behavior with heart failure in the experimental group after participating the health literacy development program was significantly higher than that of the control group (p-value < .05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83974
Type: Thesis
Appears in Collections:FACULTY OF NURSING - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370033736.pdf7.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.