Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83987
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริพันธุ์ สาสัตย์-
dc.contributor.authorสุภาวดี แก้วสินธุ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2024-02-05T03:04:59Z-
dc.date.available2024-02-05T03:04:59Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83987-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาอัตราการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการในแผนกฉุกเฉิน และเพื่อศึกษาปัจจัยทำนายภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการในแผนกฉุกเฉิน ได้แก่ ภาวะการรู้คิดบกพร่อง ประวัติโรคหลอดเลือดสมอง ระยะเวลาการเข้ารับบริการในแผนกฉุกเฉิน ความปวด ภาวะเลือดออกในสมอง และภาวะซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่เข้ารับบริการในแผนกฉุกเฉินและอุบัติเหตุโรงพยาบาลของรัฐระดับตติยภูมิ จำนวน 3 แห่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 220 คน โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะสับสนเฉียบพลัน แบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อม แบบประเมินความปวด โดยใช้มาตรวัดแบบตัวเลข และในกรณีผู้สูงอายุที่ไม่สามารถบอกระดับความเจ็บปวดได้ ใช้แบบประเมินความเจ็บปวดสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม ผ่านการตรวจสอบการหาค่าความเที่ยง โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค มีความเที่ยงเท่ากับ .83 และ .79 ตามลำดับ และหาค่าความเที่ยงของแบบประเมินที่ใช้ในการวิจัยโดยวิธีการวัดซ้ำ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .77 และ .97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติไคสแคว์ (Chi-square) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล (Point biserial correlation coefficient) และ สถิติถดถอยโลจิสติกทวิ (binary logistic regression) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการในแผนกฉุกเฉิน มีภาวะสับสนเฉียบพลัน จำนวน 34 คน จากจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 220 คน คิดเป็นร้อยละ 15.45 2. ภาวะการรู้คิดบกพร่อง ประวัติโรคหลอดเลือดสมอง ระยะเวลาการเข้ารับบริการในแผนกฉุกเฉิน ระดับความปวด ภาวะเลือดออกในสมอง และภาวะซึมเศร้า มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการในแผนกฉุกเฉิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (X2= 9.277, 10.020, rpb= .216, X2= 9.000, 9.568, 3.874 ตามลำดับ) 3. ตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการในแผนกฉุกเฉินได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ภาวะการรู้คิดบกพร่อง (AOR=7.25, 95% CI : 1.681-31.276) ประวัติโรคหลอดเลือดสมอง (AOR=4.74, 95% CI : 1.540-14.579) ระยะเวลาการเข้ารับบริการในแผนกฉุกเฉิน (AOR=6.67, 95% CI : 2.300-19.337) ภาวะเลือดออกในสมอง (AOR=14.72, 95% CI : 2.637-82.151) และภาวะซึมเศร้า (AOR=6.96, 95% CI : 1.274-37.998) โดยมีอำนาจการทำนายร้อยละ 37 (Nagelkerke R2 = .370, p < .05)-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this descriptive study research were to study the rate of delirium in older persons at emergency department and examine the relationships between factors related to delirium in older persons at emergency department which were Cognitive impairment, History of stroke, emergency department Length of stay, pain, intracranial hemorrhage and depression. Data were collected from 220 older persons. Who were according to the specified qualifications. Research instruments were demographic questionnaires, 4 A’s Test for Delirium Screening: 4AT, Informant Questionnaire on Cognitive Decline in the Elderly, IQCODE, Numeric rating scale: NRS. And Pain assessment in advanced dementia, PAINAD. Which were tested for reliability. Cronbach’s alpha coefficient were .83, .79 respectively. test-retest procedure reliability were .77, .97 respectively. Data were analyzed by using statistic methods. Including mean, percentage, standard deviation, Chi-square, Point biserial correlation coefficient and binary logistic regression Major findings were as follows. 1. delirium in older persons at emergency department are 34 people from the total sample size of 220 people. Representing 15.45 percent 2. Cognitive impairment, history of stroke, emergency department length of stay, pain, intracranial hemorrhage, and depression were significantly positive correlated with delirium in older persons at emergency department at level of .05 (X2= 9.277, 10.020, rpb= .216, X2= 9.000, 9.568, 3.874 respectively) 3. Cognitive impairment (AOR=7.25, 95% CI : 1.681-31.276), History of stroke (AOR=4.74, 95% CI : 1.540-14.579), emergency department Length of stay (AOR=6.67, 95% CI : 2.300-19.337), intracranial hemorrhage (AOR=14.72, 95% CI : 2.637-82.151), and depression (AOR=6.96, 95% CI : 1.274-37.998)were significantly factors predicting delirium in older persons at emergency department at the level of .05 and accounted for 37 percent (Nagelkerke R2 = .370, p < .05).-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationNursing-
dc.subject.classificationProfessional, scientific and technical activities-
dc.titleปัจจัยทำนายภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการในแผนกฉุกเฉิน-
dc.title.alternativePredictive factors of delirium in older persons at emergency department-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:FACULTY OF NURSING - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6470038036.pdf3.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.