Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโสรีช์ โพธิแก้ว-
dc.contributor.authorชาดา ยุวบูรณ์, 2519--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2006-05-27T05:08:07Z-
dc.date.available2006-05-27T05:08:07Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740314872-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractศึกษาผลของกลุ่มจิตสัมพันธ์ต่อความครุ่นคิดเกี่ยวกับตนเอง ของวัยรุ่นตอนปลาย โดยมีสมมติว่า (1) หลังการทดลอง วัยรุ่นตอนปลายที่เข้ากลุ่มจิตสัมพันธ์ จะมีคะแนนความครุ่นคิดเกี่ยวกับตนเองต่ำกว่า ก่อนเข้ากลุ่มจิตสัมพันธ์ (2) หลังการทดลอง วัยรุ่นตอนปลายที่เข้ากลุ่มจิตสัมพันธ์ จะมีคะแนนความครุ่นคิดเกี่ยวกับตนเองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม การวิจัยนี้ใช้แบบการวิจัยที่มีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสถาบันราชภัฎนครราชสีมา ที่มีอายุระหว่าง 18-22 ปี จำนวน 26 คนที่มีคะแนนการสำนึกตนบวก 1.5 SD ขึ้นไปจากค่าเฉลี่ยของนักศึกษาที่ได้ทำมาตรวัดการสำนึกตน (X = 58.86) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 13 คนสมัครใจเข้าร่วมกลุ่มทดลองซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 มี 6 คนและกลุ่มที่ 2 มี 7 คน และสมาชิกที่เหลือ 13 คนสมัครใจเข้ากลุ่มควบคุมซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 มี 6 คน และกลุ่มที่ 2 มี 7 คน กลุ่มทดลองได้เข้ากลุ่มจิตสัมพันธ์ 3 วัน 2 คืนติดต่อกัน โดยกำหนดเวลาเป็น 6 ช่วงๆ ละ 3 ชั่วโมง รวม 18 ชั่วโมง ผู้วิจัยเป็นผู้นำกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่มาตรวัดการสำนึกตน ที่พัฒนามาจากมาตรวัดการสำนึกตนของ เฟนิกสไตน์ ไชเออร์ และบัสส์ (1975) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยคะแนนการสำนึกตนด้วยวิธีการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลอง วัยรุ่นตอนปลายที่เข้ากลุ่มจิตสัมพันธ์ มีความครุ่นคิดเกี่ยวกับตนเองต่ำกว่าก่อนเข้ากลุ่มจิตสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลอง วัยรุ่นตอนปลายที่เข้ากลุ่มจิตสัมพันธ์ มีความครุ่นคิดเกี่ยวกับตนเองต่ำกว่าวัยรุ่นตอนปลาย ที่ไม่ได้เข้ากลุ่มจิตสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeTo study the effect of encounter group on high self-consciousness of late adolescents. The hypotheses were that (1) the posttest score on self-consciousness scale of the experimental group would be lower than its pretest score. (2) the posttest score on self-consciousness scale of the experimental group would be lower than the posttest score of the control group. The research design was the pretest-posttest control group design. The sample was 26 students from Nakornratchasrima College aged between 18-22 years who scored above 1.5 SD from the mean (58.86) on self-consciousness scale. They were randomly assigned to the experimental group and control group. The experimental groups were divided into 2 small groups with 6 and 7 members. For the control group, the members were also divided into 2 small groups with 6 and 7 members. The experimental group participated in the encounter group facilitated by the researcher for 3 days with 6 sessions and each session for 3 hours that made 18 hours in total. The instrument used in this study was the self-consciousness scale developed from the self-consciousness scale by Fenigstein, Schcier and Buss (1975). The t-test was utilized for data analysis. The obtained results were that 1. The posttest scores on self-consciousness scale of the experimental group were lower than its pretest scores at .05 levle of significance. 2. The posttest scores on self-consciousness scale of the experimental group were lower than the posttest scores of the control group at .05 level of significance.en
dc.format.extent1591181 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกลุ่มจิตสัมพันธ์en
dc.subjectวัยรุ่นen
dc.subjectความครุ่นคิดเกี่ยวกับตนเองen
dc.titleผลของกลุ่มจิตสัมพันธ์ต่อความครุ่นคิดเกี่ยวกับตนเองของวัยรุ่นตอนปลายen
dc.title.alternativeThe effect of encounter group on high self-consciousness of late adolescentsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการปรึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPsoree@chula.ac.th-
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chada.pdf920.13 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.